ซอฟต์แวร์เพื่อความร่วมมือ

ซอฟต์แวร์เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกัน (อังกฤษ: collaborative software) หรือ กรุ๊ปแวร์ (อังกฤษ: groupware) คือซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์ที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย หรือเป็นกระบวนการต่าง ๆ ของกลุ่มปฏิบัติงานประกอบกับการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน [1]

จุดประสงค์ของการออกแบบ ซอฟต์แวร์เพื่อความร่วมมือ คือเปลี่ยนเอกสาร และ โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต (Rich media) ให้ถูกแชร์และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการทำงานเป็นทีม การทำงานร่วมกันเป็นทีมหมายถึงความเคารพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือความหมายอื่นๆ ที่ทำให้เข้าใจในความแตกต่างของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่จำเป็น และใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ที่ทำให้ถูกว่าจ้างตามที่ต้องการ

การร่วมมือต้องอาศัยการทำงานของแต่ละบุคคลเพื่อเป้าหมายเดียวกัน โดยจุดประสงค์หลักของการทำงานเป็นทีมแบบ Collaborative software คือ ช่วยอำนวยความสำดวกในการทำงานในแง่ของระยะทาง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารและแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ Collaborative software ยังสนับสนุนการทำงานการบริหารโปรเจกต์ เช่น การมอบหมายงาน การบริหารเวลาส่งงาน และปฏิทินที่ใช้งานร่วมกัน สิ่งประดิษฐ์เป็นหลักฐานชัดเจนในการแก้ไขปัญหา ที่รวมไปถึงการเตรียมเอกสาร เอกสารสำคัญ กำหนดส่งงาน และการนำส่ง

Collaborative software คือแนวคิดที่สอดคล้องกับ Computer-supported cooperative work (CSCW) โดย Carstensen และ Schmidt (1999) ได้ให้ความเห็นว่า Groupware เป็นส่วนหนึ่งของ CSCW โดย Groupware หมายถึง กิจกรรมที่ทำงานร่วมกันโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์อย่าง อีเมล์ ปฏิทิน ข้อความแชท วิกิ และการบุ๊คมาร์ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกใช้ใน Groupwork และซอฟต์แวร์เหล่านี้ถูกใช้นอกสถานที่ทำงาน เช่น บริการหาคู่ออนไลน์, Social network อย่าง ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก ที่ถูกแนะนำโดยกฎของ Metcalfe ที่กล่าวถึง การที่ผู้คนจำนวนมากใช้บางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณค่า และประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์

การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อความร่วมมือ (Collaborative software) ในสถานที่ทำงานสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกัน (CWE) ซึ่งสนับสนุนทั้งในการทำงานของแต่ละบุคคลและความร่วมมือในการทำงานเป็นกลุ่ม จึงทำให้เกิดเป็นสถานที่ใหม่ของมืออาชีพ ที่การทำงานนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยไม่คำนึงถึงสถานที่อยู่ของแต่ละบุคคล

สุดท้าย Collaborative software เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดๆ ที่ปรากฏขึ้นในองค์กร ทั้งในเรื่องของเวลาการทำงานร่วมกัน ที่อยู่ในรูปแบบทางการ ไม่เป็นทางการ แบบความตั้งใจ และแบบไม่ได้ตั้งใจ ขณะที่ Groupware หรือ Collaborative software เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางเทคโนโลยีของการทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ซึ่งได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ตัวแปร ทำให้เข้าใจพฤติกรรมและความหลากหลายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง กับแนวคิด CSCW


จุดเริ่มต้น แก้

Douglas Engelbart เป็นคนแรกที่มองเห็นการทำงานรวมกันของคอมพิวเตอร์​ ในปี 1951.Doug Engelbart คือบิดาแห่ง Groupware, เขาสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ในปี1962 กับการทำงานแบบเดิมที่เต็มไปด้วยทีมวิจัยของเขา​ โดย กลางปี1951 ถึงปี 1960 ได้สาธิตงานของเขาให้แก่สาธารณชนในปี1968ว่าอะไรคือสิ่งที่ตอนนี้ได้อ้างอิงถึง ”The Mother of All Demos.”​ ในปีเดียวกัน แล็ป Engelbart ถูกขโมย ARPANET ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แรกถูกใช้งานและขยายไปบริการไปยังฐานผู้ใช้ รวมไปถึง Intelligence Amplification Section 4: Douglas Engelbart, หน่วย ARPANET และชุดข้อมูลสำคัญของ Doug Engelbar​

ซอฟต์แวร์เกมออนไลน์ เริ่มในช่วงต้นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในปี 1975 Will Crowther สร้าง Colossal Cave Adventure บน คอมพิวเตอร์ DEC PDP-10 เมื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเติบโต ทำให้จำนวนของผู้ใช้และเกมส์ที่เล่นหลายคนเพิ่มขึ้นด้วย ในปี 1978 Roy Trubshaw นักศึกษามหาวิทยาลัย Essex ประเทศอังกฤษ สร้างเกมส์ MUD (Multi-User Dungeon) และ MUDs อื่นๆอีกมากมายก็ถูกสร้างขึ้น แต่ยังคงสร้างบนตอมพิวเตอร์จนถึงปลายศตวรรษ 1980 เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่มี dial-up โมเด็มในบ้าน เริ่มเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้งานระบบ multi-line Bulletin Board และผู้ให้บริการออนไลน์ ต่อมา MUDs ได้พัฒนาเป็น การแชทออนไลน์, การแชร์วิดีโอ และ การโทรผ่านอินเทอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาในอนาคต ผลการศึกษาของ MITRE แสดงให้เห็นว่าคุณค่าของเสียง และข้อความสนทนา และแบ่งปันภาพถ่ายนั้นเพื่อความเข้าใจร่วมกัน

รัฐบาลอเมริกาเริ่มใช้ Collaborative appตั้งแต่ต้นปี 1990COMPASS หนึ่งในโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในหน่วยงาน the Navy's Common Operational Modeling, Planning and Simulation Strategy

ระบบ compass อนุญาตสูงสุด 6 user ในการ สร้าง session เชื่อมต่อกันแบบ จุดต่อจุด (1:6), โดยsession จะยังอยู่หากมี 1 user active, และจะสร้างใหม่ทั้งหมดเมื่อทั้ง 6 คน log out ออกไป MITRE ปรับปรุงโดยการสร้าง Host Server ขึ้นมาเพื่อให้แต่ละคน log in เข้าไปเรียกว่า CVW(Collaborative Virtual Workstation), ทำให้ session สร้างขึ้นเป็น virtual file cabinet และ virtual rooms และทำให้ session คงไว้เพื่อกลับเข้ามา join อีกทีได้

ปี 1996 Pavel Curtis เป็นผู้สร้าง MUDs ที่ PARC ได้ทำการสร้าง PlaceWare, Server ที่ สร้าง one to many สำหรับหอประชุม, เพื่อใช้ระหว่างเพื่อนที่นั่งประชุมด้วยกัน และสามารถกำหนดจำนวนผู้ประชุมที่จะพูดได้ ในปี 1997 engineers ที่ GTE ใช้ PlaceWare เป็น engine ของ MITRE's CVW แบบ Commercial และเรียกระบบนี้ว่า InfoWorkSpace (IWS). ใน ปี 1998 IWS ถูกใช้เป็นมาตรฐานของ ศูนย์ปฏิบัติการทางอากาศ(the standardized Air Operations Center) IWS ถูกขายต่อไปยัง General Dynamics และ Ezenia ในเวลาต่อมา

กรุ๊ปแวร์ แก้

Collaborative software เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบให้เป็น groupware เมื่อปลายทศวรรษ 1980 โดย Richman and Slovak(1987) ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “อิเล็กทรอนิกส์มีส่วนสำคัญในการทำงานเป็นทีม groupware เปรียบเสมือนศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้จัดการช่างเทคนิคและคนอื่น ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มและช่วยการทำงานในกลุ่ม” ​

ย้อนกลับไปในปี 1978 Peter and Trudy Johnson-Lenz ได้สร้าง groupware และได้ให้นิยามของ groupware ไว้ว่า เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่ม " ​ ต่อมาได้มีการเขียนบทความอธิบาย groupware ว่าเป็น "วัฒนธรรมสื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของสังคมองค์กรบนhyperspace" Groupware เป็นการรวบรวมการพัฒนาระบบและเครื่องมือของมนุษย์ ให้อยู่ในระบบเดียวกัน​

ในช่วงปี 1990 ผลิตภัณฑ์ groupware เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ซึ่งส่งมอบและทำสัญญาครั้งแรกกับ บริษัทใหญ่ ๆ เช่น Boeing และ IBM ซึ่งเริ่มใช้ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์จากโครงการภายในที่สำคัญ Lotus Notes เป็นตัวอย่างที่สำคัญของระบบที่ช่วยสนับสนุนการทำงานร่วมกันในกลุ่มแบบระยะไกล ในขณะที่ระบบอินเทอร์เน็ต เพิ่งถูกเริ่มใช้ได้ไม่นาน ​ "ถ้า groupware ช่วยเพิ่มผลิตผลในระยะยาวได้ นิยามของสำนักงานอาจเปลี่ยนไป. คุณสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่สมาชิกของกลุ่ม อยู่ที่ใดก็ได้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง และประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นหมายความว่าคุณจะทำงานได้ทุกที่" ​

ซอฟต์แวร์การทำงานร่วมกันมีวิวัฒนาการและเข้ามาบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีผลทำให้เกิดการพัฒนาเป็น Web 2.0 ซึ่งนำเอาโฮสต์ที่มีคุณสมบัติของการทำงานร่วมกัน มาบูรณาการใช้ในเครือข่ายขององค์กรเหล่านี้ รวมถึงฟังก์ชันการทำงาน เช่น การใช้เอกสารร่วมกัน (รวมถึงการแก้ไขกลุ่ม) ปฏิทินของกลุ่มและการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที และการประชุมผ่านเว็บอื่น ๆ ในกลุ่ม ​ ​

'กรุ๊ปแวร์ และระดับของความร่วมมือกัน แก้

กรุ๊ปแวร์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทขึ้นอยู่กับระดับของความร่วมมือกัน :

  1. การติดต่อสื่อสาร เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแบบไม่มีโครงสร้าง ตัวอย่างเช่น การพูดคุยกันทางโทรศัพท์ หรือการใช้ระบบส่งข้อความพูดคุยกัน.
  2. การประชุม (หรือ ระดับของความร่วมมือ, ได้ถูกอธิบายในเอกสารทางวิชาการไว้ว่าเป็นระดับของการปรึกษาหารือร่วมกัน) เป็นการทำงานเชิงโต้ตอบกันเพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ด้วยการระดมสมอง หรือการลงความคิดเห็น.
  3. การประสานงาน เป็นการทำงานร่วมกันที่มีความซับซ้อนเพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน เปรียบเสมือนความเข้าใจกันในทีมกีฬา ที่ทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามหน้าที่ของตนในเวลาที่เหมาะสม เหมือนกับการปรับแผนการเล่นตามสถานการณ์ ซึ่งแต่ละคนทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปเพื่อทำให้ทีมชนะ นี้คือการทำงานร่วมกันที่มีความซับซ้อนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน หรือที่เรียกว่าการบริหารจัดการความร่วมมือกัน

'เครื่องมือการติดต่อสื่อสารอิเล็กทรอนิคส์ แก้

เครื่องมือการติดต่อสื่อสารอิเล็กทรอนิคส์ช่วยในการส่งข้อความ, ไฟล์, ข้อมูล, หรือเอกสารระหว่างบุคคล และอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูล. ตัวอย่างเช่น :
• การประชุมที่เกิดขึ้นพร้อมกัน (synchronous conferencing)
• การประชุมที่ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน (asynchronous conferencing)
• อีเมล์
• แฟกซ์
• ข้อความเสียง
• วิกิ (Wikis)
• การเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์
• การควบคุมการแก้ไข (revision control)

'เครื่องมือการประชุมอิเล็กทรอนิคส์ แก้

เครื่องมือการประชุมอิเล็กทรอนิคส์ใช้อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ซึ่งโต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว. ตัวอย่างเช่น :
• การประชุมทางอินเทอร์เน็ต (Internet forums) (รู้จักกันในชื่อที่ว่า กระดานข้อความ หรือกระดานสนทนา) — เป็นแพลตฟอร์มการตัดสินใจแบบเสมือนจริงที่ช่วยอำนวยความสะดวก และจัดการข้อความออนไลน์
• การสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (Online chat) — เป็นแพลตฟอร์มการตัดสินใจแบบเสมือนจริงที่ช่วยอำนวยความสะดวก และสามารถจัดการข้อความได้อย่างทันที • ข้อความโต้ตอบแบบทันที (Instant Messaging)
• การโทรศัพท์ (Telephony) — โทรศัพท์ช่วยให้ผู้ใช้ได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
• การประชุมทางวีดิทัศน์ (Videoconferencing) — คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สัญญาณวิดีโอ และสัญญาณเสียงร่วมกัน
• การประชุมโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data conferencing) — คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีพื้นที่ร่วมกัน ซึ่งผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถเข้าไปแก้ไข หรือปรับเปลี่ยนได้
• การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ร่วมกัน (Application sharing) — ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเอกสาร หรือโปรแกรมที่ทำการแชร์ได้ตามลำดับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ในขณะนั้น
• ระบบการประชุมอิเลคทรอนิคส์ (EMS) — แต่เดิมถูกอธิบายว่าเป็น “ระบบการประชุมอิเลคทรอนิคส์” และระบบนี้ได้ถูกติดตั้งไว้ในห้องประชุม ซึ่งห้องที่มีความพิเศษเหล่านี้จะประกอบไปด้วยวิดีโอโปรเจกต์เตอร์ ที่ได้ถูกเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์จำนวนมากไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม ระบบการประชุมอิเลคทรอนิคส์ยังถูกพัฒนาไปไว้บนเว็บไซต์ ทำให้สามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งระบบได้อำนวยความสะดวกในการรองรับผู้ที่เข้ามาใช้งาน ที่กระจายกันอยู่ตามสถานที่ต่างๆ

เครื่องมือจัดการความร่วมมือกัน แก้

เครื่องมือจัดการความร่วมมือกันได้อำนวยความสะดวก และ บริหารกิจกรรมของกลุ่ม ตัวอย่างเช่น
• ปฏิทินอิเลคทรอนิคส์ (หรือเรียกว่า โปแกรมการจัดการเวลา) ตารางกิจกรรม และ การแจ้งเตือนอัตโนมัติ และยังแจ้งเตือนสมาชิกภายในกลุ่มได้อีกด้วย
• ระบบบริหารจัดการโครงการ – ตารางโครงการ , การติดตาม และ แผนภูมิขั้นตอนโครงการที่กำลังจะเสร็จสมบูรณ์
• การตรวจสอบออนไลน์ – แบ่งปัน , ทบทวน , อนุมัติ , ปฏิเสธการตรวจสอบของเวป , งานศิลปะ , รูปถ่าย , วิดีโอ ระหว่างนักออกแบบ ผู้บริโภค และ ลูกค้า
• ระบบขั้นตอนการทำงาน –จัดการความร่วมมือของงาน และ เอกสารองค์ความรู้ที่อยู่ในกระบวนทางธุรกิจ
• ระบบการจัดการความรู้ – รวบรวม , จัดตั้ง , จัดการ , แบ่งปันรูปแบบของข้อมูลที่หลายหลาย
• การบุ๊คมาร์คในองค์กร - การบุ๊คมาร์คความร่วมมือกันด้วยการขับเคลื่อนด้วยการกำกับ , จัดการ , การแบ่งปัน และการค้นหาข้อมูลในองค์กร
• การคาดการณ์ทางการตลาด ทำให้กลุ่มของผู้ใช้สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะออกมาได้ร่วมกันในอนาคต
• ระบบเครือข่ายภายนอกองค์กร (หรือที่เรียกว่า โครงการเครือข่ายภายนอก) รวบรวม จัดตั้ง การจัดการ และแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องร่วมกัน กับการส่งมอบของโครงการ (เช่นการก่อสร้างอาคาร)
• ระบบซอฟต์แวร์ทางสังคม การจัดระเบียบความสัมพันธ์กันทางสังคมของกลุ่ม
• ซอฟต์แวร์จัดตารางทำงานออนไลน์ การทำงานร่วมกันและแบ่งปันข้อมูลโครงสร้างและสารสนเทศอื่นๆ ช่องทางติดต่อกับลูกค้า ทำการโต้ตอบและแบ่งปันกับลูกค้าของคุณในสภาพแวดล้อมออนไลน์อย่างเป็นส่วนตัว

โปรแกรมที่ใช้ในการรวมกลุ่ม
แก้

การใช้งานในส่วนนี้อาจจะรวมถึงวิกิพีเดีย และ กระดานข้อความ เช่น เวทเพ้นท์ การใช้งานพื้นฐานรวมถึง
1. การสำรวจ
2. การจัดการโครงการ
3. การโต้ตอบ
4. การติดตามเป็นช่วงเวลา
5. ข้อจำกัดของผู้เข้าชม

เครื่องมือของวิกิ (Wikis) แก้

มีทั้งแบบ สำหรับผู้ใช้งานเพียงคนเดียว (อย่างเช่น MediaWiki), แบบที่เป็นชุดโปรแกรม (อย่างเช่น TikiWiki or Sakai) หรือ แบบที่ใช้งานบนเว็บไซต์ (อย่างเช่น Wikipedia). โดยปกติแล้ววิกิจะประกอบไปด้วยหน้าต่างๆ (ซึ่งสามารถทำการแชร์ หรือแก้ไขได้) และยังมีความสัมพันธ์กันระหว่างหน้าอื่นอีกด้วย.
หน้าที่การทำงานของวิกิครอบคลุมถึง :

  • ใช้บริหารจัดการขั้นตอนการทำงาน
  • ใช้สำหรับ การปรึกษาหารือ/ การสนทนา
  • ใช้จัดเก็บรูปภาพ และเอกสาร

ซอฟต์แวร์เพื่อความร่วมมือกับปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ แก้

ความตั้งใจในการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อความร่วมมือ(กรุ๊ปแวร์) คือ การเปลี่ยนแนวทางของเอกสาร และสื่อสมบูรณ์ (rich media) ที่ใช้ร่วมกันเพื่อที่จะทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การทำงานร่วมกัน ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีนิยามที่หลากหลาย บางคำนิยามอาจสมเหตุสมผล บางคำนิยามอาจมีความหมายกว้างเกินไปทำให้ความสำคัญของโปรแกรมหายไป การเข้าใจความแตกต่างของการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีเหมาะสมในการตอบสนองความต้องการของการทำงานร่วมกัน
มี 3 วิธีหลักที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ได้แก่ การสนทนา, การติดต่อกัน และการร่วมมือกัน

"การมีปฏิสัมพันธ์โดยการสนทนา" คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศระหว่างบุลคลสองคนขึ้นไปหรือมากว่านั้น ซึ่งจุดประสงค์หลักของการมีปฏิสัมพันธ์ คือ การพบปะ หรือการสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งไม่มีรูปแบบที่แน่นอน เป็นการร่วมกันพิจารณา โดยเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศที่ไม่มีข้อกำหนดหรือข้อจำกัด โดยทั่วไปจะมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ส่วนตัว เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์, ระบบส่งข้อความทันที|การส่งข้อความแบบทันที และจดหมายอิเล็กทรอนิกซ์ เทคโนโลยีเหล่านี้เพียงพอแล้วสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์โดยการสนทนา

"การมีปฏิสัมพันธ์โดยการติดต่อกัน" ชึ่งเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนการทำธุรกรรมของหน่วยงานมีหน้าที่ที่สำคัญของการทำธุรกรรมสำหรับนิติบุคคล คือการปรับเปลี่ยนการติดต่อระหว่างนิติบุคคลผู้เข้าร่วมที่ทำธุรกรรม ที่อยู่ในรูปแบบที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพและข้อจำกัดหรือกำหนดความสัมพันธ์ใหม่ หนึ่งในผู้เข้าร่วมสามารถแลกเปลี่ยนเงินสดกับสินค้าและกลายเป็นลูกค้า ปฏิสัมพันธ์โดยการติดต่อกันระหว่างบุคคลกับการทำธุรกรรมส่วนใหญ่จะมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบการทำธุรกรรมจะต้องมีจัดการของหน่วยงานภาครัฐและมีการบันทึกและการจัดเก็บเอกสารทางธุรกรรมแบบถาวร

"การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน" มีหน้าที่หลักของความสัมพันธ์ของผู้เข้าร่วม คือ การแลกเปลี่ยนลักษณะของการทำงานร่วมกัน (เช่น การโต้ตอบในการทำธุรกรรมร่วมกัน) ลักษณะของการทำงานร่วมกันเมื่อเทียบกับสิ่งอื่นมีรูปแบบที่ค่อนข้างไม่แน่นอน ตัวอย่างรวมทั้งการพัฒนาด้านความคิด, การสร้างสรรค์ในการออกแบบ, ความสำเร็จของเป้าหมายร่วมกัน ดังนั้น เทคโนโลยีการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ให้ฟังก์ชันการทำงานแก่ผู้เข้าร่วมจำนวนมากเพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งมอบที่เกิดขึ้นเป็นประจำ บันทึกหรือการจัดการเอกสาร, ความเกี่ยวเนื่องในการอภิปราย, ประวัติการตรวจสอบ และกลไกอื่น ๆ ได้ออกแบบมาเพื่อพยายามจับความหลากหลายในการจัดการเนื้อหาของสภาพแวดล้อม เป็นลักษณะของเทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน

การทำงานร่วมกันทางการศึกษา ประกอบด้วยคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปซึ่งแต่ละคนเท่าเทียมกันด้วยความสมัครใจที่จะนำความรู้และประสบการณ์ของพวกเขารวมไว้ด้วยกัน ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายร่วมกันในความสนใจที่ดีที่สุดของความต้องการของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความสำเร็จในการศึกษามากขึ้น

การทำงานร่วมกันต้องมีบุคคลที่ทำงานร่วมกันในรูปแบบของการประสานงานที่มีเป้าหมายร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักเพื่อรวมทีมงานเข้าไว้ด้วยกัน ซอฟแวร์เพื่อความร่วมมือจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกัน ข้ามข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์โดยการใช้เครื่องมือที่ช่วยด้านการสื่อสาร, การทำงานร่วมกันและกระบวนการแก้ปัญหา โดยการจัดให้มีทีมทั่วไปสำหรับการสื่อสารแนวความคิดและการระดมความคิด นอกจากนี้ซอฟแวร์เพื่อความร่วมมืออาจสนับสนุนเครื่องมือการจัดการโครงการ เช่นการมอบหมายงาน, การจัดการเวลากับกำหนดเวลาและปฏิทินที่ใช้ร่วมกัน เครื่องมือเหล่านี้แสดงให้เห็นกระบวนการแก้ปัญหารวมทั้งผลลัพธ์ของความพยายามร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมักจะต้องใช้เอกสารและการเก็บข้อมูลกระบวนการในตัวของเครื่องมือเอง และอาจเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลแผนงานโครงการและกำหนดเวลาส่งมอบ

ซอฟแวร์เพื่อความร่วมมือควรจะสนับสนุนบุคคลที่สร้างกลุ่มขึ้นและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของพวกเขาในระหว่างขั้นตอนการตัดสินใจของกลุ่ม ส่วนมากกลุ่มในปัจจุบันนี้จะประกอบด้วยสมาชิกจากทั่วโลกที่มีสมาชิกบางคนใช้ภาษาที่สองหรือภาษาที่สามในการสื่อสารกับกลุ่ม สถานการณ์นี้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมตลอดจนความท้าทายทางภาษาสำหรับซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนความพยายามร่วมกัน อีกทั้งซอฟแวร์ยังอาจช่วยสนับสนุนการเป็นสมาชิกของทีมในด้านบทบาทและความรับผิดชอบ นอกจากนี้ระบบสนับสนุนการทำงานร่วมกันอาจมีความสามารถในการสนับสนุนระบบเสริม เช่นงบประมาณและทรัพยากรทางกายภาพ

การประชุมระดมสมองถือเป็นหลักของการทำงานร่วมกัน ด้วยการแลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็วทางความคิดที่อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการตัดสินใจของกลุ่ม การใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกันเพื่อให้มีพื้นที่สนับสนุนการแก้ไขสำหรับการใช้งานของผู้ใช้หลายคน เช่น กระดานไวท์บอร์ดเสมือน และการพูดคุย (chat) หรือ รูปแบบอื่นๆ ของการสื่อสาร อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ดีกว่าการจดบันทึกขั้นตอนและประวัติการแก้ไข การจัดหมวดหมู่ใหม่ของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ แพลตฟอร์มจะมีการทำงานร่วมกันเป็นแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนการสื่อสารพร้อมกันผ่านความหลากหลายของอุปกรณ์ และช่องทางการสื่อสาร

ส่วนขยายของกรุ๊ปแวร์ป็นสื่อที่ใช้ร่วมกัน, ซอฟต์แวร์ที่ยอมให้ผู้ใช้จำนวนหนึ่ง สร้างและจัดการข้อมูลใน เว็บไซต์ รูปแบบของสื่อที่มีการร่วมมือกัน รวมถึงวิกิพีเดีย (Comparison of wiki software) ​​และรูปแบบ Slashdot บางเว็บไซต์มีเนื้อหาบางส่วนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของซอฟต์แวร์เพื่อการร่วมมือ กัน คือ : WikiWikiWeb, Wikipedia and Everything2 โดยวิธีการใช้งาน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ :

  • ที่เป็นเว็บไซต์เครื่องมือเพื่อความร่วมมือกัน
  • ที่เป็นซอฟแวร์เครื่องมือเพื่อความร่วมมือกัน

สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ล่าสุดวิธีการเหล่านี้ได้ใช้ใน Second Life และ โลกเสมือน (virtual worlds) อื่นๆ นำไปสู่​​การพัฒนาของซอฟแวร์รูปแบบใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากการ นำเสนอข้อมูลแบบ 3 มิติ บางส่วนของซอฟต์แวร์นี้ (3D Topicscape) ทำงานเป็นอิสระจากโลกเสมือน จริง (virtual worlds) และใช้ 3D เพื่อที่จะสนับสนุนผู้ใช้ "ในการสร้างแนวคิด การวางแผน การจัดการ การพัฒนาและการทำให้เป็นจริง" รูปแบบอื่นๆเพื่อสนับสนุนในการทำงานร่วมมือกันเมื่อใช้โลกเสมือน (virtual worlds) เป็นแพลตฟอร์มธุรกิจ ในขณะที่ยังซอฟต์แวร์ประเภทอื่น เช่น การจัดการความรู้ แบบร่วมมือกัน(Collaborative Knowledge Management :CKM) สะพานเชื่อมต่อระหว่างกันและ สามารถนำไปใช้ทั้งในSecond Lifeและในเว็บ
โดยแบ่งออกเป็นส่วนเราสามารถแบ่งซอฟต์แวร์เพื่อความร่วมมือเป็น:

  • เครื่องมือจัดการความรู้
  • เครื่องมือสร้างความรู้
  • เครื่องมือที่ใช้สารสนเทศร่วมกัน
  • เครื่องมือจัดการสื่อที่ใช้ร่วมกัน

เครื่องมือจัดการโครงการเพื่อความร่วมมือ แก้

เครื่องมือการจัดการโครงการความร่วมมือ (Collaborative project management tools : CPMT) จะคล้ายกับเครื่องมือการจัดการการทำงานร่วมกัน (Collaborative management tools : CMT) ยกเว้นว่าเครื่องมือการจัดการการทำงานร่วมกันอาจจะเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกและจัดการกิจกรรมบางกลุ่ม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขนาดใหญ่หรืองาน ในขณะที่เครื่องมือการจัดการโครงการความร่วมมือจะครอบคลุมทุกด้านรายละเอียดทั้งหมดของกิจกรรมการทำงานร่วมกันและการจัดการของโครงการโดยรวมและแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้อง

อีกความแตกต่างที่สำคัญคือ เครื่องมือการจัดการการทำงานร่วมกันอาจรวมถึงซอฟต์แวร์เพื่อสังคม ระบบการจัดการเอกสาร (Document Management System : DMS) และการสื่อสารแบบครบวงจร (Unified Communication : UC) ในขณะที่เครื่องมือการจัดการโครงการความร่วมมือส่วนใหญ่พิจารณาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายขององค์กรที่มีชนิดของขอบเขตทางสังคมที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับการจัดการโครงการบางส่วน

ประวัติ แก้

ในช่วงการบริหารจัดการโครงการช่วงกลางปี​​ 1990 เริ่มต้นที่จะพัฒนาขึ้นในการจัดการโครงการความร่วมมือ; นี้คือเมื่อกระบวนการที่ปัจจัยการผลิตของโครงการและผลได้ดำเนินการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงกับวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากขอบเขตทางภูมิศาสตร์ขยายทีมพัฒนามากขึ้นก็ยิ่งห่างไกลการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงของทีมงานโครงการจึงเปลี่ยนวิธีที่โครงการได้รับการจัดการ

อดีตประธาน General Electric, Jack Welch เชื่อว่าคุณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จถ้าคุณไปคนเดียวในเศรษฐกิจโลก แม่แบบ:อ้างอิงที่จำเป็น Welch จึงกลายเป็นต้นฉบับ ขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังไม่เพียง แต่การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กร แต่ยังจัดการโครงการความร่วมมือ

การจำแนกประเภท แก้

เครื่องมือการจัดการโครงการความร่วมมือ(CPMT) เครื่องมือในการจัดการความร่วมมือ (CMT)

Collaborative project management tools : CPMT อำนวยความสะดวกและจัดการทางสังคม หรือโครงการตามกลุ่มกิจกรรม

ตัวอย่างเช่น:

นอกจากนี้ให้มากที่สุดตัวอย่าง CPMT, CMT ยังรวมถึง:

มุมมอง แก้

 
Dimensions diagram

กรอบแนวคิดที่ต่างกันจะถูกจัดตั้งขึ้นตามความต้องการของโครงการนั้นๆ เพื่อหาซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุด แต่กรอบการทำงานที่ดีที่สุดคือ มีการกำหนดการจัดการโดยรวมของโครงการและลักษณะของกิจกรรมของโครงการที่มีการกำหนดอย่างครอบคลุมทุกด้านของกิจกรรมการทำงานร่วมกัน

ความท้าทายในการกำหนด CPM ซอฟแวร์ที่จะใช้จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของความต้องการและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาโครงการเป็นอย่างดี การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการโครงการทำให้เกิดความท้าทายหลายอย่างคือ (การประสานงาน,การทำงานร่วมกัน,การแบ่งปันความรู้และประสิทธิผลของงานที่จะอำนวยความสะดวกในกระบวนการ) เลือกซอฟต์แวร์ CPM ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องอาศัยปัญหาเหล​​่านี้ ตามการสำรวจที่ดำเนินการในปี 2008 เพื่อหาสิ่งที่คาดหวังของผู้บริหารโครงการและการใช้ project management software มีคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่จะมีผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์การจัดการโครงการเป็น:

  • ความสามารถในการวางแผนการใช้และลำดับของกิจกรรมโดยใช้ CPM / PDM / PERT หรือแผนการดำเนินงาน
  • สร้างกำหนดการหลักของโครงการ/ ภาระงาน / รายละเอียดโครงสร้างการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
  • คำนวณเส้นทางที่ดีที่สุด
Dimensions Descriptions / Examples
ความต้องการทรัพยากร
  • บุคลากร
  • อุปกรณ์
  • เวลา
  • ต้นทุน
ความต้องการของระบบ
  • แพลตฟอร์ม: รองรับระบบปฏิบัติการ Windows, Mac, Linux
  • ฮาร์ดแวร์: ต้องการอุกปรณ์พื้นที่และหน่วยความจำ
  • การติดตั้ง / การเข้าถึง: จัดหาสถานที่ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ให้สะดวกต่อการปรับปรุง
  • ประเภทของการติดตั้ง: สามารถติดตั้งบนระบบ server และ ใช้งานแบบเครื่องส่วนตัว
ความต้องการที่ช่วยสนับสนุน
  • รองรับระบบอีเมล์
  • ตารางเวลาที่กำหนดไว้ตายตัว
  • ระบบช่วยเหลือแบบออนไลน์
  • โปรแกรมช่วยเหลือที่มีอยู่แล้ว เช่น MS Office เป็นต้น
  • สถานที่ที่เอื้อต่อการใช้งาน
  • มีการฝึกอบรมทั้งในและนอกสถานที่
ความต้องการสำหรับการทำงานร่วมกัน
  • กลุ่มขนาด: รองรับจำนวนผู้ใช้งาน
  • แสดงรายชื่ออีเมล์
  • สามารถควบคุมแก้ไข
  • แสดงแผนภูมิ
  • แสดงเอกสารได้หลายเวอร์ชัน
  • มีการเก็บรักษาเอกสาร
  • สามารถใช้เอกสารร่วมกันได้
  • สามารถใช้พื้นที่เก็บข้อมูลเอกสาร

ซอฟต์แวร์เพื่อความร่วมมือกับวิธีการลงคะแนน แก้

ผู้จัดจำหน่ายกรุ๊ปแวร์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Johnson-Lenz, Peter. "Rhythms, Boundaries, and Containers:". Awakening Technology. สืบค้นเมื่อ 30 April 1990. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้