ช้างสุมาตรา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Proboscidea
วงศ์: Elephantidae
สกุล: Elephas
สปีชีส์: Elephas maximus
สปีชีส์ย่อย: E.  m. sumatranus
Trinomial name
Elephas maximus sumatranus
Temminck, 1847[1]

ช้างสุมาตรา (อังกฤษ: Sumatran elephant; ชื่อวิทยาศาสตร์: Elephas maximus sumatranus) เป็นชนิดย่อยของช้างเอเชีย (E. maximus) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นช้างที่พบได้เฉพาะบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เท่านั้น

ช้างสุมาตรา มีรูปร่างที่เล็กกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ มีลำตัวสีเทาจางและมีรอยด่างน้อยกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น โดยมีจุดสีชมพูเฉพาะบนใบหูเท่านั้น ช้างสุมาตราตัวเต็มวัยมีความสูงจากพื้นถึงไหล่วัดได้ 2-3.2 เมตร น้ำหนักระหว่าง 2,000-4,000 กิโลกรัม มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและถิ่นที่อยู่ปกคลุมด้วยต้นไม้บางส่วน[2]

ปัจจุบันช้างสุมาตราตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต คาดว่ามีจำนวนประชากรทั้งหมดไม่เกิน 1,000 ตัว โดยสาเหตุสำคัญที่สุดของการสูญพันธุ์ คือ การไล่ล่าจากพรานป่าเพื่อเอาอวัยวะและงาไปขายในตลาดมืด ถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดมากกว่าการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย หรือโรคระบาดเสียอีก แม้ปัจจุบันจะมีการตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างสุมาตราขึ้นภายในอุทยานแห่งชาติเวย์แคมบัส แต่ทว่ารอบ ๆ ศูนย์อนุรักษ์ก็ยังคงมีปัญหาการไล่ล่าอยู่ ในระยะแรก ๆ ที่มีการตั้งศูนย์อนุรักษ์ขึ้นมา ก็ปรากฏมีพรานป่าแอบเข้ามาลักขโมยช้างออกไปฆ่าจนมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่หลายครั้ง ได้รับความเสียหายทั้งสองฝ่าย จึงมีการคล้องโซ่ช้างไว้เพื่อให้ได้ยินเสียงในเวลากลางคืน มิได้เป็นไปเพื่อการล่ามหรือกักขังแต่อย่างใด

ช้างสุมาตราในศูนย์อนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติเวย์แคมบัส

ปัจจุบันที่ศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้มีจำนวนช้างสุมาตราเลี้ยงไว้ราว 80 เชือก เป็นช้างที่เชื่องต่อผู้เลี้ยงเหมือนช้างบ้าน ซึ่งภาวะเช่นนี้เสี่ยงอย่างมากต่อการสูญเสียพฤติกรรมตามธรรมชาติไป อีกทั้งในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทางศูนย์ก็ยังได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมได้อีก เพื่อต้องการเงินนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู, ศึกษา และอนุรักษ์ต่อยอดขึ้นไปในอนาคต แม้ช้างที่เลี้ยง ณ ที่นี่มีการขยายพันธุ์ได้ลูกช้างบางส่วนแล้วก็ตาม แต่การปล่อยคืนสู่ธรรมชาติยังมิอาจทำได้ เพราะปัญหาการไล่ล่าที่ยังคงมีอยู่ [3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Gopala, A., Hadian, O., Sunarto, Sitompul, A., Williams, A., Leimgruber, P., Chambliss, S. E., Gunaryadi, D. (2011). "Elephas maximus ssp. sumatranus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "ช้างเอเชีย". สถาบันคชบาลแห่งชาติ. 17 October 2012. สืบค้นเมื่อ 15 November 2014.[ลิงก์เสีย]
  3. "สุดหล้าฟ้าเขียว: Indonesia". ช่อง 3. 15 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 15 November 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Elephas maximus sumatranus ที่วิกิสปีชีส์