ช่วงต่ำสุดมอนเดอร์

ช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ (อังกฤษ: Maunder Minimum) คือชื่อใช้เรียกช่วงเวลาประมาณปี ค.ศ. 1645-1715 ซึ่งสังเกตพบจุดมืดดวงอาทิตย์ในปริมาณที่น้อยมาก

ภาพแสดงจำนวนจุดมืดดวงอาทิตย์ที่สังเกตพบตลอดช่วง 400 ปีมานี้

หลักการนี้เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นเมื่อ จอห์น เอ. เอ็ดดี้ เผยแพร่บทความชิ้นสำคัญเมื่อปี 1976 ในวารสาร Science ชื่อว่า "The Maunder Minimum"[1] นักดาราศาสตร์ยุคก่อนหน้าเอ็ดดี้ตั้งชื่อช่วงเวลานี้ตามชื่อของนักดาราศาสตร์ดวงอาทิตย์ เอ็ดเวิร์ด ดับเบิลยู. มอนเดอร์ (1851-1928) ผู้ศึกษาว่าละติจูดของจุดมืดบนดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป[2] ช่วงเวลาที่มอนเดอร์เฝ้าสังเกตการณ์ครอบคลุมช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16 เอ็ดเวิร์ด มอนเดอร์ ตีพิมพ์บทความ 2 ชิ้นในปี 1890 และ 1894 โดยอ้างถึงบทความก่อนหน้านี้ที่เขียนโดย กุสตาฟ สปอร์เรอร์

ช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ ครอบคลุมช่วงเวลาที่อุณหภูมิของโลกมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งสอดคล้องกันกับ ช่วงต่ำสุดดาลตัน และ ช่วงต่ำสุดสปอร์เรอร์

ตลอดช่วงเวลา 30 ปีของช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ นักดาราศาสตร์สังเกตพบจุดมืดดวงอาทิตย์เพียง 50 จุด ขณะที่ตามปกติแล้วจะพบจุดมืดประมาณ 40,000-50,000 จุดในปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. Eddy, J. A. (June 1976). "The Maunder Minimum" (PDF). Science. 192 (4245): 1189–1202. Bibcode:1976Sci...192.1189E. doi:10.1126/science.192.4245.1189. PMID 17771739. S2CID 33896851. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-16.
  2. Who named the Maunder Minimum?