คำว่า ช่วงชีวิต (อังกฤษ: longevity) บางครั้งใช้เป็นไวพจน์ของ "ความคาดหมายการคงชีพ" (life expectancy) ในทางประชากรศาสตร์ อย่างไรก็ดี คำว่า "ช่วงชีวิต" บางครั้งใช้หมายความถึงเฉพาะสมาชิกประชากรที่มีอายุยืนเป็นพิเศษ ขณะที่ "ความคาดหมายการคงชีพ" นิยามทางสถิติว่าเป็นจำนวนปีโดยเฉลี่ยที่เหลืออยู่ ณ อายุใด ๆ เสมอ ตัวอย่างเช่น ความคาดหมายการคงชีพตั้งแต่เกิดของประชากรเท่ากับอายุเฉลี่ยเมื่อตายของประชากรทั้งหมดที่เกิดในปีเดียวกัน (ในกรณีกลุ่มร่วมรุ่น)

การเปรียบเทียบความคาดหมายการคงชีพเมื่อแรกเกิดของชายและหญิงสำหรับประเทศและดินแดนที่นิยามใน CIA Factbook ปี 2554 เส้นประสีเขียวสมนัยกับความคาดหมายการดำรงชีพของชายและหญิงเท่ากัน ปริมาตรสามมิติของฟองเป็นสัดส่วนเชิงเส้นกับประชากรของประเทศนั้น ๆ

ความคาดหมายการคงชีพปัจจุบัน แก้

มีหลายปัจจัยมีผลต่อการมีอายุยืนของแต่ละคน ปัจจัยที่มีนัยสำคัญในการคาดหมายคงชีพประกอบด้วย เพศ พันธุกรรม การเข้าถึงสาธารณสุข อนามัย การควบคุมอาหาร สารอาหาร การออกกำลังกาย รูปแบบการใช้ชีวิต และอัตราอาชญากรรม ด้านล่างเป็นรายการความคาดหมายการคงชีพในประเทศต่าง ๆ[1]

  • ประเทศที่พัฒนาแล้ว: 77–90 ปี (เช่น ประเทศแคนาดา 81.29 ปี ประเมินปี 2553)
  • ประเทศที่กำลังพัฒนา: 32–80 ปี (เช่น ประเทศโมซัมบิก 41.37 ปี ประเมินปี 2553)

อ้างอิง แก้