ฌูแซ รามุช-ออร์ตา

ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเตคนที่ 4 และคนที่ 7
(เปลี่ยนทางจาก ชูเซ รามุส-ออร์ตา)

ฌูแซ มานูแอล รามุช-ออร์ตา (โปรตุเกส: José Manuel Ramos-Horta; เกิดวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1949)[1][2] เป็นนัการเมืองชาวติมอร์-เลสเตที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีติมอร์-เลสเตตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 เขาเคยดำรงตำแหน่งนี้ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ก่อนหน้านั้นเขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศใน ค.ศ. 2002 ถึง 2006 และนายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเตใน ค.ศ. 2006 ถึง 2007 เขาเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1996 ร่วมกับการ์ลุช ฟีลีปึ ชีเมนึช เบลูจาก "การแก้ปัญหาความขัดแย้งในติมอร์ตะวันออกอย่างยุติธรรมและสันติ"

ฌูแซ รามุช-ออร์ตา
รามุช-ออร์ตาใน ค.ศ. 2022
ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเต คนที่ 4 และ 7
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
นายกรัฐมนตรีตาอูร์ มาตัน รูอัก
ชานานา กุฌเมา
ก่อนหน้าฟรังซิชกู กูแตรึช
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน 2008 – 20 พฤษภาคม 2012
นายกรัฐมนตรีชานานา กุฌเมา
ก่อนหน้าฟืร์นังดู ดือ อาราอูฌู (รักษาการ)
ถัดไปตาอูร์ มาตัน รูอัก
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม 2007 – 11 กุมภาพันธ์ 2008
นายกรัฐมนตรีอึชตานิฌเลา ดา ซิลวา
ชานานา กุฌเมา
ก่อนหน้าชานานา กุฌเมา
ถัดไปวีเซงตือ กูแตรึช (รักษาการ)
นายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเตคนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน 2006 – 19 พฤษภาคม 2007
ประธานาธิบดีชานานา กุฌเมา
ก่อนหน้ามารี อัลกาตีรี
ถัดไปอึชตานิฌเลา ดา ซิลวา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฌูแซ มานูแอล รามุช-ออร์ตา

(1949-12-26) 26 ธันวาคม ค.ศ. 1949 (74 ปี)
ดิลี ติมอร์ของโปรตุเกส
(ปัจจุบันคือประเทศติมอร์-เลสเต)
พรรคการเมืองCNRT (2022–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เฟรตีลิน (จนถึง ค.ศ. 1988)
อิสระ (1988–2022)
คู่สมรสAna Pessoa (หย่า)
บุตร1
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแอนติออก
The Hague Academy of International Law
International Institute of Human Rights
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

เนื่องจากรามุช-ออร์ตาเป็นผู้ก่อตั้งและอดีตสมาชิกเฟรตีลิน เขาเคยดำรงตำแหน่งโฆษกพลัดถิ่นแก่หน่วยต่อต้านติมอร์ตะวันออกในช่วงที่อินโดนีเซียยึดครอง (1975–1999) ในขณะที่รามุช-ออร์ตายังคงทำงานให้แก่เฟรตีลิน เขาลาออกจากพรรคใน ค.ศ. 1988 กลายเป็นนักการเมืองอิสระ[3]

หลังติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 รามุช-ออร์ตาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศตนแรกของประเทศจนกระทั่งลาออกในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ท่ามกลางวิกฤตทางการเมือง จากนั้นหลังนายกรัฐมนตรี มารี อัลกาตีรี ลาออกในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ประธานาธิบดี ชานานา กุฌเมา จึงแต่งตั้งรามุช-ออร์ตาเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ สองสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 เขาสาบานเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศ เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2007 จนถึง 2012

เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งใน ค.ศ. 2022

ชีวิตช่วงต้น แก้

รามุช-ออร์ตาเกิดที่เมืองดิลีเมื่อ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1949 โดยเป็นลูกผสมระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวติมอร์ เขาได้เข้าร่วมกับสมาคมสังคมประชาธิปไตยชาวติมอร์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเฟรตีลิน เมื่อการลงประชามติเสร็จสิ้นลง เขากลับสู่ดิลีในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999 และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศหลังจากติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002

อ้างอิง แก้

  1. "The Nobel Peace Prize 1996 - José Ramos-Horta Facts". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2022. สืบค้นเมื่อ 23 April 2022.
  2. "José Ramos-Horta President East Timor club madrid member peace nobel". Club de Madrid (ภาษาสเปน). 22 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 23 April 2022.
  3. Lindsay Murdoch (10 July 2006). "Ramos Horta vows to rebuild Timor". The Age. Melbourne. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2017. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้