ชิรากาวะ (จังหวัดฟูกูชิมะ)

นครในจังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น

ชิรากาวะ (ญี่ปุ่น: 白河市โรมาจิShirakawa-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2024 ชิรากาวะมีจำนวนประชากรประมาณ 56,711 คน[1] มีความหนาแน่นของประชากร 186 คนต่อตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 305.32 ตารางกิโลเมตร (117.88 ตารางไมล์)

ชิรากาวะ

白河市
ศาลาว่าการนครชิรากาวะ
ศาลาว่าการนครชิรากาวะ
ธงของชิรากาวะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของชิรากาวะ
ตรา
ที่ตั้งของชิรากาวะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูชิมะ
ที่ตั้งของชิรากาวะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูชิมะ
แผนที่
ชิรากาวะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ชิรากาวะ
ชิรากาวะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 37°07′34.7″N 140°12′39.3″E / 37.126306°N 140.210917°E / 37.126306; 140.210917
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคโทโฮกุ
จังหวัด ฟูกูชิมะ
บันทึกครั้งแรกค.ศ. 315
จัดตั้งเทศบาลเมือง1 เมษายน ค.ศ. 1889
จัดตั้งเทศบาลนคร1 เมษายน ค.ศ. 1949
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีคาซูโอะ ซูซูกิ (鈴木 和夫; ตั้งแต่กรกฎาคม ค.ศ. 2007)
พื้นที่
 • ทั้งหมด305.32 ตร.กม. (117.88 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 เมษายน ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด56,711 คน
 • ความหนาแน่น186 คน/ตร.กม. (480 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์0248-22-1111
ที่อยู่ศาลาว่าการ7-1 Hachimankōji, Shirakawa, Fukushima 961-0941
รหัสท้องถิ่น07205-2
เว็บไซต์www.city.shirakawa.fukushima.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกEmberiza cioides
ดอกไม้Ume
ต้นไม้Pinus densiflora

ภูมิศาสตร์ แก้

ชิรากาวะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภูมิภาคนากาโดริ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ตอนกลาง (กลางระหว่างตะวันตกกับตะวันออก) ของจังหวัดฟูกูชิมะ ติดกับที่ราบสูงนาซุ และครอบคลุมไปถึงพื้นที่ต่ำแอ่งชิรากาวะ

เทศบาลข้างเคียง แก้

ภูมิอากาศ แก้

ชิรากาวะมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) โดยมีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวที่หนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในชิรากาวะอยู่ที่ 11.4 °C ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,377 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 25.0 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 0.3 °C[2]

สถิติประชากร แก้

จากข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[5] จำนวนประชากรของชิรากาวะถึงจุดสูงสุดประมาณ ค.ศ. 2000 และลดลงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1950 65,543—    
1960 62,480−4.7%
1970 58,896−5.7%
1980 60,253+2.3%
1990 63,839+6.0%
2000 66,048+3.5%
2010 64,704−2.0%
2020 59,491−8.1%

ประวัติศาสตร์ แก้

พื้นที่ที่เป็นชิรากาวะในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นมุตสึ และเป็นที่ตั้งของด่านประตูกั้นที่ชื่อ ชิรากาวะโนะเซกิ (白河の関) บนเส้นทางสายโอชูไคโด (奥州街道) ที่เชื่อมระหว่างเมืองหลวงที่เกียวโตกับแคว้นทางตอนเหนือ ในยุคเฮอังเคยมีพระภิกษุและกวีวากะที่ชื่อ โนอิง (ญี่ปุ่น: 能因โรมาจิNōin) แต่งบทกวีเกี่ยวกับพื้นที่แห่งนี้ไว้ว่า

 
ปราสาทโคมิเนะในชิรากาวะ

ในยุคเอโดะ บริเวณนี้เจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองปราสาทแห่งแคว้นศักดินาชิรากาวะ และเป็นสถานที่ที่มีการสู้รบครั้งใหญ่ในสงครามโบชิงในช่วงการฟื้นฟูเมจิ ในยุคเมจิ พื้นที่แห่งนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคนากาโดริของแคว้นอิวากิ

เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล เมืองชิรากาวะ (白河町) ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1949 เมืองชิรากาวะได้รับการยกฐานะเป็นนครหลังจากผนวกรวมหมู่บ้านโอนูมะ (大沼村) ที่อยู่ใกล้เคียง การควบรวมเทศบาลในเวลาต่อมาเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1954 และ 1955 โดยการรวมหมู่บ้านชิราซากะ (白坂村), โอดางาวะ (小田川村), โกกะ (五箇村) และส่วนหนึ่งของหมู่บ้านโอโมเตโง (表郷村) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตนครชิรากาวะ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 หมู่บ้านไทชิง (大信村), ฮิงาชิ (東村) และส่วนที่เหลือของหมู่บ้านโอโมเตโง (ทั้งหมดขึ้นกับอำเภอนิชิชิรากาวะ) ถูกรวมเข้ากับนครชิรากาวะ ทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 48,297 คน กลายเป็นประมาณ 66,000 คน และขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 117.67 ตารางกิโลเมตร (45.43 ตารางไมล์) กลายเป็น 305.30 ตารางกิโลเมตร (117.88 ตารางไมล์)

การเมืองการปกครอง แก้

ชิรากาวะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานคร ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติระบบสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 26 คน พื้นที่นครชิรากาวะรวมกับอำเภอนิชิชิรากาวะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดฟูกูชิมะจำนวน 3 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ ชิรากาวะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดฟูกูชิมะที่ 3 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ แก้

ชิรากาวะมีเศรษฐกิจแบบผสมผสานและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคโดยรอบ อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง และเสื้อผ้า[6] กลุ่มบริษัทดีแอนด์เอ็มมีโรงงานที่ผลิตส่วนประกอบเครื่องเสียงยี่ห้อ Marantz และ Denon ตั้งอยู่ในชิรากาวะ

การศึกษา แก้

ชิรากาวะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ประกอบด้วย โรงเรียนประถม 15 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 8 แห่ง และโรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดฟูกูชิมะ ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมปลาย 4 แห่ง

การขนส่ง แก้

รถไฟ แก้

ทางหลวง แก้

สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น แก้

 
สวนนังโกะในชิรากาวะ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แก้

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "福島県の推計人口(令和6年4月1日現在)" [ประชากรโดยประมาณของจังหวัดฟูกูชิมะ (ณ วันที่ 1 เมษายน 2024)]. จังหวัดฟูกูชิมะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2024.
  2. ข้อมูลภูมิอากาศชิรากาวะ
  3. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
  4. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
  5. สถิติประชากรชิรากาวะ
  6. Campbell, Allen; Nobel, David S (1993). Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. p. 1396. ISBN 406205938X.
  7. "白河関跡" [Aizu-Shirakawa no seki ato] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
  8. "小峰城跡". Cultural Heritage Online (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 25 December 2016.
  9. "南湖公園" [Nanko Koen] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
  10. "白河舟田・本沼遺跡群 ん" [Shirakawa Funada-Motonuma iseki gun] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
  11. "白川城跡" [Shirakawa-jō ato] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้