ชาวดุงกาน

(เปลี่ยนทางจาก ชาวดันกัน)

ดุงกาน (จีนตัวย่อ: 东干族; จีนตัวเต็ม: 東干族; พินอิน: Dōnggān zú; เวด-ไจลส์: Tung1kan1-tsu2; เสี่ยวเอ้อร์จิง: دْوقًا ظُ; รัสเซีย: Дунгане; คีร์กีซ: Дунгандар; คาซัค: Дүңгендер / Düñgender) หรือ หุย (ดุงกาน: Хуэйзў, เสี่ยวเอ้อร์จิง: حُوِ ظُ) เป็นคำที่ใช้กันในแถบกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่สื่อความหมายถึงกลุ่มอิสลามิกชนที่มีเชื้อสายจีน[6] หรืออาจใช้ความหมายครอบคลุมไปยังประชาชนที่จัดอยู่กลุ่มภาษาเตอร์กิกแถบเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ในปัจจุบันด้วย ทั้งนี้พวกเขาจะเรียกแทนตัวเองว่าหุย ส่วนดุงกานคือลูกหลานของชาวหุยที่อพยพมายังเอเชียกลาง

ดุงกาน
Хуэйзў
สตรีชาวดุงกานในประเทศคาซัคสถาน
ประชากรทั้งหมด
110,024 คน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 คีร์กีซสถาน (ค.ศ. 2013)64,565 คน[1]
 คาซัคสถาน (ค.ศ. 1999)36,900 คน[2]
 ทาจิกิสถาน6,000 คน[3]
 รัสเซีย (ค.ศ. 2010)1,651 คน[4]
 มองโกเลีย5,300 คน
 อุซเบกิสถาน1,900 คน
 ยูเครน133 คน[5]
ภาษา
ดุงกาน, รัสเซีย
พร้อมด้วยภาษาคาซัคและคีร์กีซ
ศาสนา
อิสลาม
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
หุย, ฮั่น

มีการสำรวจจำนวนประชากรในแถบอดีตสหภาพโซเวียตพบว่ามีชาวดุงกานตั้งถิ่นฐานในประเทศคาซัคสถาน ประมาณ 36,900 คน ในปี ค.ศ. 1999[7], ประเทศคีร์กีซสถาน ประมาณ 51,766 คน ในปี ค.ศ. 1999[8] และในประเทศรัสเซีย ประมาณ 801 คน ในปี ค.ศ. 2002[9]

ประวัติ แก้

ชาวดุงกานกลุ่มแรกมาจากเมืองกุลจาและเมืองคัชการ์เข้าไปตั้งถิ่นฐานแถบหุบเขาเฟอร์กานาในเอเชียกลางเพราะถูกโจรจับมาเป็นทาส ส่วนใหญ่ชาวดุงกานทำงานอยู่ในเรือนของผู้มั่งมี แต่หลังรัสเซียพิชิตเอเชียกลางได้เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 19 รัสเซียเลิกทาส แต่หญิงดุงกานส่วนใหญ่ยังคงถูกกักตัวไว้ดังเดิม วาลีดีมีร์ เปโตรวิช นาลิฟคิน (Validimir Petrovich Nalivkin) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวรัสเซียและภรรยาบันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ ความว่า "นางทาสีส่วนใหญ่ยังคงถูกกักตัว เพราะพวกนางสมรสกับพวกคนงานและคนรับใช้ของอดีตเจ้านาย หรืออาจเป็นเพราะพวกนางยังเด็กเกินไปที่จะออกไปมีชีวิตอิสระ"[10] นางทาสดุงกานถือเป็นคนชั้นต่ำและถูกดูแคลนอย่างยิ่งในเมืองบูฆอรอ[11]

โจรตุรกีมุสลิมที่จับคนมาเป็นทาสจากเมืองโกกอนไม่เห็นความแตกต่างระหว่างชาวหุยมุสลิมกับชาวฮั่น และการที่พวกเขาขืนใจให้ชาวหุยมุสลิมเป็นทาสถือเป็นการฝ่าฝืนศาสนาอิสลาม[12][13] ช่วงการก่อกำเริบอาฟากี โคจา (ช่วงต้นหรือกลางศตวรรษที่ 19) จาฮันกีร์ โคจา (Jahangir Khoja) ชาวเติร์กมุสลิมยกทัพจากรัฐข่านโกกอนไปตีเมืองคัชการ์ แล้วกวาดต้อนมุสลิมจีนหลายร้อยคนไปไว้ที่เมืองโกกอน มีชาวทาจิกซื้อทาสชาวจีนสองคนจากส่านซีไปกดขี่ข่มเหงราวหนึ่งปี ก่อนได้รับการสงเคราะห์จากเบก กู-พู-เทอ (Beg Ku-bu-te) ส่งกลับเมืองจีน[14] นอกจากนี้มีพ่อค้าและทหารชาวดุงกานประมาณ 300 คนถูกพวกจาฮันกีร์จับที่เมืองคัชการ์ พวกเขาถูกตัดผมเปียออกแล้วส่งไปเมืองโกกอนและเอเชียกลางในฐานะคนโทษ[15][16] มีรายงานว่าเชลยส่วนใหญ่นี้ตกเป็นทาส และพบว่ามีบัญชีทาสเชลยของเอเชียกลางเพิ่มขึ้น[17][18] ผมเปียของคนโทษเหล่านี้จะถูกขาย มีคนจำนวนไม่น้อยหนีข้ามไปยังแดนของรัสเซียก่อนถูกส่งกลับจีน ดังปรากฏหลักฐานเป็นบันทึกการจับกุมในเอกสารจีน[19][20] ส่วนเอกสารรัสเซียบันทึกไว้ว่าพวกเขาช่วยพ่อค้าจีนมุสลิมซึ่งถูกกองทัพของจาฮันกีร์กุมตัวไปไว้ในเอเชียกลาง พวกเขาจึงหลบหนีมาในแดนรัสเซีย และส่งพวกเขากลับแดนจีน[21]

ส่วนชาวดุงกานในสหภาพโซเวียตคือชาวหุยที่ลี้ภัยออกจากจีนหลังเกิดสงครามชนกลุ่มน้อยหุยในศตวรรษที่ 19 จากข้อมูลของริมสกี-คอร์ซาคอฟ (Rimsky-Korsakoff) พบว่ามีชาวหุยสามกลุ่มข้ามแดนไปยังจักรวรรดิรัสเซียทางเทือกเขาเทียนชานในฤดูหนาวหฤโหดช่วง ค.ศ. 1877–1878 ได้แก่

  1. กลุ่มแรกนำโดยหม่า ต้าเหริน (马大人) หรือหม่าต้าเหล่าเย่ (马大老爷) อพยพจากเมืองตูร์ปัน ราว 100 คน ลงหลักปักฐานที่เมืองออช ทางใต้ของประเทศคีร์กีซสถาน
  2. กลุ่มสองนำโดยอิหม่ามหม่า ยูซุฟ หรือหม่า ยู่ซู่ฟู (马郁素夫) หรืออาเย่เหล่าเหริน (阿爷老人) อพยพจากเมืองตี๋เต้าโจว (狄道州) มณฑลกานซู่ มีประชากรเมื่อถึง 1,130 คน ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านอีร์ดึค (Ирдык, Ырдык) 15 กิโลเมตรจากเมืองคาราคอล ทางตะวันออกของประเทศคีร์กีซสถาน
  3. กลุ่มสามนำโดยไป๋ ย่านหู่ (白彥虎) หรือหู่ต้าเหริน (虎大人) อพยพจากส่านซี มีประชากรเมื่อมาถึง 3,314 คน ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านคาราคูนุซ (ปัจจุบันชื่อมาซันชี) ในจังหวัดจัมบิล ทางใต้ของประเทศคาซัคสถานต่อชายแดนประเทศคีร์กีซสถาน

ช่วง ค.ศ. 1880 มีคลื่นการอพยพใหม่ของชาวจีนสู่เอเชียกลาง หลังข้อกำหนดในสนธิสัญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ค.ศ. 1881 ซึ่งกำหนดให้ถอนทหารรัสเซียออกจากแอ่งอีหลีตอนบน (แถบเมืองกุลจา) ชาวดุงกาน (หุย) และตารันชี (อุยกูร์) ได้รับอนุญาตให้ย้ายเข้าไปอยู่ในแดนของจักรวรรดิรัสเซีย จากบันทึกสถิติของรัสเซียพบว่ามีชาวหุยย้ายเข้ารัสเซีย 4,682 คน และมีการอพยพเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ช่วง ค.ศ. 1881 และ 1883 โดยตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านโซคูลุค (Сокулук) ซึ่งห่าง 30 กิโลเมตรทางตะวันตกของบิชเคก

ภาษา แก้

 
ป้ายมุมถนนในหมู่บ้านมิลยันฟัน ทางขวาเป็นภาษาดุงกาน ทางซ้ายเป็นภาษาคีร์กีซ ทั้งสองเขียนว่าถนนเลนิน

ชาวดุงกานจะเรียกภาษาของตัวเองว่าภาษาหุย (ดุงกาน: Хуэйзў йүян) มีลักษณะคล้ายกับภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลางซึ่งพูดในแถบมณฑลกานซู่ตอนใต้ไปจนถึงทางตะวันตกของที่ราบกวันจงในมณฑลส่านซี

ภาษาดุงกานมีวรรณยุกต์เหมือนภาษาจีน บ้างก็มี 4 วรรณยุกต์ (ถือเป็นมาตรฐาน) บ้างก็มี 3 วรรณยุกต์หากมีพยัญชนะท้าย และมี 4 วรรณยุกต์หากไม่มีพยัญชนะท้าย ศัพท์ดุงกานโดยมากเป็นคำเก่าและเชยสำหรับชาวจีน เช่น เรียกประธานาธิบดีว่าหวงตี้ (Хуаңды) หรือเรียกหน่วยงานของรัฐว่าหยาเหมิน (ямын) อันเป็นคำเรียกที่ทำการของข้าราชการจีนยุคเก่า นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาอาหรับ เปอร์เซีย และตุรกีอีกจำนวนมาก และตั้งแต่ ค.ศ. 1940 เป็นต้นมา ภาษาดุงกานถูกเขียนด้วยอักษรซีริลลิก

ชาวดุงกานส่วนใหญ่พูดได้สามภาษาต่างจากชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในเอเชียกลางอย่างพวกโครยอ-ซารัมเป็นอาทิ ชาวดุงกานมากกว่าสองในสามพูดภาษารัสเซีย และมีส่วนน้อยที่พูดภาษาคีร์กีซ หรือภาษาอื่น ๆ ตามประเทศที่พวกเขาตั้งถิ่นฐาน

ชุมชน แก้

ชื่อหมู่บ้าน ที่ตั้ง ก่อตั้ง ประชากร
(ค.ศ. 2003)
มาซันชี (รัสเซีย: Масанчи; คาซัค: Масаншы)
เดิมชื่อคาราคูนุซ (รัสเซีย: Каракунуз) หรืออิ๋งผัน (ดุงกาน: Йинпан)
อำเภอกอร์ได จังหวัดจัมบิล
ประเทศคาซัคสถาน
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1878
กลุ่มผู้อพยพจากส่านซี
7,000 คน
ซอร์โตเบ (รัสเซีย: Сортобе; คาซัค: Сортөбе; ดุงกาน: Щёртюбе) อำเภอกอร์ได จังหวัดจัมบิล
ประเทศคาซัคสถาน
ขยายจากบ้านคาราคูนุซ 9,000 คน
จัลปัค-โตเบ (คาซัค: Жалпак-тобе) อำเภอจัมบิล จังหวัดจัมบิล
ประเทศคาซัคสถาน
3,000 คน
อีร์ดึก (คีร์กีซ: Ырдык; ดุงกาน: Эрдэх) อำเภอเยตีเอิกอึซ จังหวัดอือซึก-เกิล
ประเทศคีร์กีซสถาน
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1878
กลุ่มผู้อพยพจากตี๋เต้าโจว
2,800 คน
โซคูลุค (คีร์กีซ: Сокулук; ดุงกาน: Сохўлў) อำเภอโซคูลุค จังหวัดชึย
ประเทศคีร์กีซสถาน
ค.ศ. 1881-1883
กลุ่มผู้อพยพจากแอ่งอีหลี
12,000 คน
มิลยันฟัน (คีร์กีซ: Милянфан; ดุงกาน: Милёнчуан) อำเภออืยซึคอะเตนสกี จังหวัดชึย
ประเทศคีร์กีซสถาน
ขยายจากบ้านคาราคูนุซ ? 10,000 คน
อีวานอฟกา (คีร์กีซ: Ивановка) อำเภออืยซึคอะเตนสกี จังหวัดชึย
ประเทศคีร์กีซสถาน
ขยายจากบ้านคาราคูนุซ ? 1,500 คน
ชุมชนดุงกานในเมืองออช (คีร์กีซ: Ош) จังหวัดออช
ประเทศคีร์กีซสถาน
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1878
กลุ่มอพยพจากตูร์ปัน
800 คน

นอกจากหมู่บ้านดั้งเดิมของชาวดุงกาน ยังมีชาวดุงกานตั้งถิ่นฐานตามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง เช่น บิชเคก ตอกมอก และคาราคอล

อ้างอิง แก้

  1. "Демографический ежегодник Кыргызской Республики: 2009-2013.-Б: Нацстатком Кырг. Респ., 2014:-320с. ISBN 978-9967-26-837-1" (PDF). Bishkek: National Committee on Statistics. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-16. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. Aleksandr Nikolaevich Alekseenko (Александр Николаевич Алексеенко), "Republic in the Mirror of the Population Census" («Республика в зеркале переписей населения») Sotsiologicheskie Issledovaniia. 2001, No. 12. pp. 58-62.
  3. Ki 2002
  4. Всероссийская перепись населения 2002 года เก็บถาวร ตุลาคม 6, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "About number and composition population of Ukraine by data All-Ukrainian census of the population 2001". Ukraine Census 2001. State Statistics Committee of Ukraine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2011. สืบค้นเมื่อ 17 January 2012.
  6. David Trilling (April 20, 2010). "Kyrgyzstan Eats: A Dungan Feast in Naryn". EURASIANET.org.
  7. Aleksandr Nikolaevich Alekseenko (Александр Николаевич Алексеенко), "Republic in the Mirror of the Population Census" («Республика в зеркале переписей населения») เก็บถาวร 2007-06-30 ที่ Archive-It Sotsiologicheskie Issledovaniia. 2001, No. 12. pp. 58-62.
  8. "Kyrgyzstan National Statistics Office, 1999 Population Census Report, Section 3" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-08-07. สืบค้นเมื่อ 2011-02-14.
  9. "Всероссийская перепись населения 2002 года". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2011-02-14.
  10. Marianne Kamp (2008). The New Woman in Uzbekistan: Islam, Modernity, and Unveiling Under Communism (reprint, illustrated ed.). University of Washington Press. p. 25. ISBN 0-295-98819-3. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
  11. Shail Mayaram (2009). Shail Mayaram (บ.ก.). The other global city (illustrated ed.). Taylor & Francis US. p. 209. ISBN 0-415-99194-3. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
  12. W. G. Clarence-Smith (2006). Islam and the abolition of slavery. Oxford University Press US. p. 45. ISBN 0-19-522151-6. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  13. W. G. Clarence-Smith (2006). Islam and the abolition of slavery. Oxford University Press US. p. 15. ISBN 0-19-522151-6. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  14. Millward 1998, p. 298.
  15. Millward 1998, p. 205.
  16. Millward 1998, p. 305.
  17. Laura Newby (2005). The Empire and the Khanate: a political history of Qing relations with Khoqand c. 1760-1860. BRILL. p. 97. ISBN 90-04-14550-8. สืบค้นเมื่อ 2010-11-28.
  18. John King Fairbank (1978). The Cambridge History of China: Late Chʻing, 1800-1911, pt. 1. Cambridge University Press. p. 371. สืบค้นเมื่อ 2010-11-28.
  19. Millward 1998, p. 168.
  20. Harrison, Henrietta (2013). The Missionary's Curse and Other Tales from a Chinese Catholic Village. Vol. Volume 26 of Asia: Local Studies / Global Themes. University of California Press. p. 59. ISBN 0520954726. สืบค้นเมื่อ 2010-11-28. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  21. Millward 1998, p. 285.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้