ชั่วรุ่น (อังกฤษ: generation) หมายถึง "ทุกคนที่เกิดและมีชีวิตอยู่ในเวลาเดียวกัน โดยเรียกรวมกัน" สามารถอธิบายได้ว่าเป็น "ช่วงเวลาเฉลี่ยซึ่งมีเด็กเกิดและเติบโตขึ้น กลายเป็นผู้ใหญ่ และเริ่มมีบุตรของตนเอง โดยทั่วไปถือว่าประมาณสามสิบปี"[1] ในศัพท์ด้านเครือญาติ คำนี้เป็นคำโครงสร้างที่ใช้เรียกความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กำเนิดชีวิตจากสิ่งมีชีวิต, การสืบพันธุ์ หรือ การให้กำเนิดในวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

คำว่า ชั่วรุ่น ยังมักใช้สมนัยกับคำว่า รุ่น (cohort) ในวิชาสังคมศาสตร์ ภายใต้การบัญญัตินี้หมายถึง "คนที่อยู่ในกลุ่มประชากรที่อธิบายซึ่งประสบเหตุการณ์สำคัญเดียวกันภายในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ"[2] ชั่วรุ่นในความหมายของรุ่นการเกิดนี้ หรือเรียก "ชั่วรุ่นสังคม" มีการใช้อย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมสมัยนิยม และเป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ทางสังคมวิทยา การวิเคราะห์ชั่วรุ่นอย่างจริงจังเริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยถือกำเนิดจากมีความตื่นตัวต่อโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างถาวรเพิ่มขึ้น และความคิดกบฏเยาวชนต่อระเบียบสังคมที่สถาปนาแล้ว นักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่าชั่วรุ่นเป็นประเภททางสังคมหลักมูลอย่างหนึ่งในสังคม บ้างก็มองว่าความสำคัญของชั่วรุ่นมีน้อยกว่าปัจจัยอื่นอย่างชนชั้น เพศ เชื้อชาติ การศึกษา เป็นต้น

ทฤษฎีชั่วรุ่น แก้

 
ปีเกิดของชั่วรุ่นในโลกตะวันตก

แม้มโนทัศน์ชั่วรุ่นมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และพบได้ในวรรณกรรมสมัยโบราณ[3] แต่ยังมีมิติทางจิตวิทยาและสังคมวิทยาในแง่ของความเป็นส่วนหนึ่งและอัตลักษณ์ที่อาจใช้นิยามชั่วรุ่น มโนทัศน์ชั่วรุ่นสามารถใช้เพื่อหารุ่นเกิดหนึ่ง ๆ ในพฤติการณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจำเพาะได้ เช่น "เบบีบูมเมอร์"[3]

นักประวัติศาสตร์ ฮันส์ เยเกอร์ แสดงให้เห็นว่าในประวัติศาสตร์อันยาวนานนี้ มีสำนักคิดสองแห่งรวมกันเกี่ยวกับการเกิดชั่วรุ่น คือ "สมมติฐานอัตราชีพจร" และ "สมมติฐานประทับ"[4] สมมติฐานอัตราชีพจรระบุว่า ประชากรทั้งหมดของสังคมหนึ่งสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มรุ่นที่ไม่ซ้อนทับกัน ซึ่งแต่ละรุ่นมี "บุคลิกภาพเสมอกัน" ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะรุ่นเพราะช่วงเวลาที่แต่ละรุ่นบรรลุนิติภาวะ[5] การเคลื่อนไหวของรุ่นเหล่านี้จากช่วงชีวิตหนึ่งไปอีกช่วงหนึ่งจะสร้างวัฏจักรเวียนซ้ำซึ่งก่อกำเนิดประวัติศาสตร์ของสังคมนั้น ปัจจุบันตัวอย่างทฤษฎีชั่วรุ่นแบบอัตราชีพจรที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ ทฤษฎีชั่วรุ่นสเตราส์-ฮาว

นักสังคมศาสตร์มักปฏิเสธสมมติฐานอัตราชีพจร โดยเยเกอร์อธิบายว่า "ผลลัพธ์รูปธรรมของทฤษฎีอัตราชีพจรสากลของประวัติศาสตร์นั้นมีน้อยมาก โดยมีข้อยกเว้นน้อย และเหตุผลเดียวกันกับทฤษฎีอัตราชีพจรบางส่วน เนื่องจากทฤษฎีทั้งสองโดยทั่วไปเก็บรวบรวมข้อมูลโดยไม่มีความรู้หลักการสถิติศาสตร์ใด ๆ ผู้ประพันธ์มักสังเกตได้น้อยถึงขอบเขตของป่าชื่อและจำนวนที่ทฤษฎีนำเสนอขาดการจัดระเบียบตามชั่วรุ่นที่น่าเชื่อถือ"[6]

นักสังคมศาสตร์ยึดถือ "สมมติฐานรอยประทับ" ของชั่วรุ่น ซึ่งสามารถสืบย้อนไปได้ถึงทฤษฎีชั่วรุ่นของคาร์ล มันน์ไฮม์ สมมิตฐานรอยประทับกล่าวว่า ชั่วรุ่นเกิดจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เจาะจงซึ่งทำให้คนหนุ่มสาวรับรู้โลกแตกต่างจากผู้สูงอายุในเวลานั้น ฉะนั้นทุกคนอาจไม่เป็นส่วนหนึ่งของชั่วรุ่น แต่เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์สังคมและชีวประวัติที่ไม่เหมือนชั่วรุ่นอื่นของช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ร่วมกันเท่านั้นที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ "ชั่วรุ่นตามที่เป็นจริง"[7] เมื่อยึดถือสมมติฐานรอยประทับ นักสังคมศาสตร์เผชิญกับความท้าทายหลายประการ พวกเขาไม่สามารถยอมรับการติดชื่อและขอบเขตลำดับเวลาของชั่วรุ่นที่มาจากสมมติฐานอัตาชีพจรได้ (เช่น เจนะเรชันเอ็กซ์หรือมิลเลเนียล) แต่ขอบเขตลำดับเวลาของชั่วรุ่นจะต้องตัดสินแบบอุปนัยและการจัดว่าผู้ใดเป็นส่วนหนึ่งของชั่วรุ่นจะต้องตัดสินผ่านการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ[8]

ทุกชั่วรุ่นมีความเหมือนและต่างกัน รายงานสำนักวิจัยพิวปี 2550 ชื่อ "Millennials: Confident. Connected. Open to Change" สังเกตความท้าทายของชั่วรุ่นที่กำลังศึกษา โดยว่า "การวิเคราะห์ชั่วรุ่นมีที่ทางอย่างยาวนานและพิเศษในวิชาสังคมศาสตร์ และเราเข้าร่วมกับนักวิชาการเหล่านั้นที่เชื่อว่าไม่เพียงแต่เป็นไปได้เท่านั้น แต่มักให้ความกระจ่างอย่างสูง ในการค้นหาคุณลักษณะเอกลักษณ์และใช้แยกแยะกลุ่มอายุชาวอเมริกันใด ๆ แต่เรายังรู้ว่านี่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่แน่นอน เราให้ความสนใจว่ามีความแตกต่างมากในทัศนคติ ค่านิยม พฤติกรรมและวิถีชีวิตภายในชั่วรุ่นหนึ่งเช่นเดียวกับมีความแตกต่างระหว่างชั่วรุ่น แต่เราเชื่อว่าความเป็นจริงนี้ไม่ลดทอนคุณค่าของการวิเคราะห์ชั่วรุ่น เพียงแต่เพิ่มความน่าพึงใจและความซับซ้อนของชั่วรุ่นเท่านั้น"[9] ทฤษฎีชั่วรุ่นอีกส่วนหนึ่งคือการรับรู้วิธีที่เยาวชนมีประสบการณ์ต่อชั่วรุ่นของตนเอง และวิธีที่การเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับโลกส่วนที่พวกเขาอาศัยอยู่ "การวิเคราะห์ประสบการณ์ของเยาวชนในสถานที่มีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจกระบวนการแยกปัจเจก ความไม่เสมอภาคและของชั่วรุ่นที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น"[10] การสามารถมองอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในวัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อยของเยาวชนในต่างกาละและเทศะเพิ่มส่วนเพิ่มเติมในการทำความเข้าใจชีวิตประจำวัรของเยาวชน ซึ่งทำให้ทำความเข้าใจเยาวชนได้ดีขึ้น และวิธีที่ชั่วรุ่นและสถานที่มีบทบาทในพัฒนาการของพวกเขา[11]

สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าลากขอบเขตรุ่นการเกิดที่ใด แต่สำคัญที่ปัจเจกและสังคมตีความขอบเขตดังกล่าวอย่างไร และการแบ่งอาจก่อให้เกิดกระบวนการและผลลัพธ์อย่างไร ทว่า การจัดหมวดรุ่นอายุมีประโยชน์ต่อนักวิจัยเพื่อประโยชน์ในการสร้างขอบเขตในงานของตน[12]

ความตึงเครียดของชั่วรุ่น แก้

นอร์แมน ไรเดอร์ เขียนใน บทปฏิทัศน์สังคมวิทยาอเมริกา ในปี 2508 เผยแพร่แก่วิชาสังคมวิทยาในเรื่องความขัดแย้งระหว่างชั่วรุ่นโดยเสนอว่าสังคม "ยังคงอยู่แม้สมาชิกปัจเจกของสังคมเสียชีวิต ผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมประชากรศาสตร์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรุ่นเกิดประจำปี" เขาแย้งว่าชั่วรุ่นบางทีอาจเป็น "ภัยคุกคามต่อเสถียรภาพ" แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตัวแทนของ "โอกาสสำหรับการแปลงสภาพสังคม"[13] ไรเดอร์พยายามเข้าใจพลวัตที่มีบทบาทระหว่างชั่วรุ่น

ในเรียงความปี 2550 ที่ตีพิมพ์ใน วารสารปัญหาสังคม อะแมนดา เกรนิเยร์เสนอคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุของความตึงเครียดของชั่วรุ่น เกรนิเยร์ยืนยันว่าชั่วรุ่นต่าง ๆ พัฒนาแบบจำลองภาษาของตนเองซึ่งเอื้อต่อความเข้าใจผิดระหว่างรุ่นอายุ "คนสูงอายุและอายุน้อยมีวิธีพูดต่างกัน และอาจอธิบายบางส่วนได้จากจุดอ้างอิงในประวัติศาสตร์สังคม ประสบการณ์ที่ตัดสินทางวัฒนธรรมและการตีความของปัจเจก"[14]

คาร์ล มันน์ไฮม์ เขียนในหนังสือ เรียงความว่าด้วยสังคมวิทยาแห่งความรู้ เมื่อปี 2495 ยืนยันความเชื่อว่าบุคคลก่อรูปร่างขึ้นจากประสบการณ์มีชีวิตอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ฮาวและสเตราส์ยังเขียนเรื่องความคล้ายกันของบุคคลในชั่วรุ่นหนึ่งว่ามีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จากวิธีที่ประสบการณ์มีชีวิตเหล่านี้ก่อกำเนิดชั่วรุ่นในแง่ค่านิยม ผลคือชั่วรุ่นใหม่จะคัดค้านค่านิยมของชั่วรุ่นเก่ากว่าทำให้เกิดความตึงเครียด การคัดค้านดังกล่าวระหว่างรุ่นและความตึงเครียดที่เกิดขึ้นเป็นจุดนิยามสำหรับการทำความเข้าใจชั่วรุ่นและสิ่งที่แยกชั่วรุ่นต่าง ๆ[15]

รายการของรุ่น แก้

โลกตะวันตก แก้

 
ภาพถ่ายนี้แสดงสี่ชั่วรุ่นของครอบครัวหนึ่ง: เด็กทารก แม่ ยาย และทวดของเขา (2008)

"โลกตะวันตก" สามารถนับรวมทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ อาจมีการแปรผันได้มากในภูมิภาคเหล่านี้ทั้งทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม หมายความว่า รายการนี้กล่าวโดยรวม ๆ เท่านั้น การระบุลักษณะร่วมสมัยของรุ่นเหล่านี้มีใช้ในสื่อและโฆษณายืมไปใช้ โดยทั่วไปถือตรรกะของสมมติฐานอัตราชีพจร[16]

  • ลอสเจเนอเรชัน ("ชั่วรุ่นที่สาบสูญ") หรือเรียก เจเนอเรชัน ค.ศ. 1914 ในทวีปยุโรป[17] เป็นคำที่เกอร์ทรูด สไตน์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่ออธิบายผู้ที่ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สมาชิกลอสเจเนอรชันตรงแบบเกิดระหว่างปี 2426 ถึง 2443 สมาชิกทั้งหมดของรุ่นนี้เท่าที่ทราบเสียชีวิตแล้ว
  • เกรติสต์เจเนอเรชัน ("ชั่วรุ่นยิ่งใหญ่ที่สุด") หรือเรียก "จีไอเจเนอเรชัน"[18] ได้แก่บุคคลที่รวมทหารผ่านศึกที่รบในสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดระหว่างปี 2444 ถึง 2470[19] และบรรลุนิติภาวะระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นักหนังสือพิมพ์ ทอม โบรคอ เขียนเกี่ยวกับสมาชิกอเมริกันของรุ่นนี้ในหนังสือ เดอะเกรติสต์เจเนอเรชัน ซึ่งทำให้คำนี้แพร่หลาย[20]
  • ไซเลนต์เจเนอเรชัน ("ชั่วรุ่นเงียบ") หรือเรียก ลักกีฟิว (คนส่วนน้อยผู้โชคดี) ตรงแบบเกิดตั้งแต่ปี 2468 ถึง 2485[21] ประกอบด้วยบางคนที่ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้เข้าร่วมสงครามเกาหลีส่วนใหญ่ และอีกหลายคนในช่วงสงครามเวียดนาม
  • เบบีบูมเมอร์ ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม เจเนอเรชันดับเบิลยู[22] หรือ มีเจเนอเรชัน เป็นรุ่นที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตรงแบบเกิดตั้งแต่ปี 2489 ถึง 2507 อัตราการเกิดที่เพิ่มขึ้นถูกพบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้พวกเขาเป็นรุ่นประชากรศาสตร์ที่ค่อนข้างใหญ่[23][24]
  • เจเนอเรชันเอกซ์ มักย่อเป็น เจ็นเอ็กซ์ เป็นรุ่นต่อจากเบบีบูมเมอร์ นักประชากรศาสตร์และนักวิจัยมักใช้ปีเกิดช่วงตั้งแต่ต้นถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 และสิ้นสุดปีเกิดในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 คำดังกล่าวมีใช้ในต่างกาละและเทศะสำหรับวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมต่อต้านต่าง ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950
    • ในสหรัฐ บางคนเรียกคนชั่วรุ่นนี้ว่า รุ่น "เบบีบัสต์" เนื่องจากอัตราการเกิดลดลงหลังเบบีบูม[25] อัตราการมีบุตรของประชากรในสหรัฐเริ่มลดลงในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 แต่นักประพันธ์ วิลเลียม สเตราส์ และนีล ฮาว (ซึ่งใช้นิยามช่วงปีเกิดยี่สิบปี ตั้งแต่ปี 2504 ถึง 2524) โดย 2534 มีรุ่นเอ็กซ์ประมาณ 88.5 ล้านคนในสหรัฐ[26]
  • มิลเลนเนียล ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม เจเนอเรชันวาย[27] เป็นรุ่นประชากรที่เกิดหลังเจเนอเรชันเอ็กซ์ นักประชากรศาสตร์และนักวิจัยมักใช้ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นปีเกิดตั้งต้น จนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นปีเกิดสิ้นสุด สำนักวิจัยพิวระบุว่า มิลเลเนียลจะมีจำนวนมากกว่าเบบีบูมเมอร์ในสหรัฐในปี 2562 ซึ่งคาดว่าจะมีรุ่นบูมเมอร์ 72 ล้านคนและมิลเลนเนียล 73 ล้านคน[28]
  • เจเนอเรชันซี เป็นรุ่นประชากรที่เกิดหลังมิลเลนเนียล นักประชากรศาสตร์และนักวิจัยมักใช้ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นปีเกิดตั้งต้น[29] แต่แทบไม่มีความเห็นตรงกันในเรื่องปีเกิดสิ้นสุด

พื้นที่อื่น แก้

  • ในเช็กเกียและสโลวาเกีย ชั่วรุ่นประชากรที่เกิดในเชโกสโลวาเกียระหว่างสมัยเบบีบูม ซึ่งเริ่มในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ระหว่างสมัย "การทำให้เป็นปรกติ" ชั่วรุ่นนี้เรียก "บุตรฮูซาก" ซึ่งเป็นชื่อของประธานาธิบดีและผู้นำคอมมิวนิสต์ที่ดำรงตำแหน่งอย่างยาวนานของเชโกสโลวาเกีย[30]
  • ในสาธารณรัฐประชาชนจีน "ปาหลิงโฮ่ว" (八零后, หลังปี 80) หมายถึงผู้ที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในเขตเมืองของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ด้วยเติบโตขึ้นในประเทศจีนสมัยใหม่ คนชั่วรุ่นนี้จึงมีลักษณะมองอนาคตในแง่ดี มีความตื่นเต้นที่พบใหม่ต่อลัทธิบริโภคนิยมและการเป็นผู้ประกอบการ และยอมรับบทบาทประวัติศาสตร์ของพวกตนในการเปลี่ยนสภาพจีนสมัยใหม่ให้เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ[31] นอกจากนี้ยังมี "จิ่วหลิงโฮ่ว" (九零后, หลังปี 90) ซึ่งหมายถึงวัยรุ่นและนักศึกษามหาวิทยาลัยสมัยใหม่ การจำแนกชั่วรุ่นในวงกว้างขึ้นอาจเป็น "ชั่วรุ่นลูกคนเดียว" ที่เกิดระหว่างการใช้นโยบายลูกคนเดียวในปี 2523 ก่อนมีการผ่อนปรนเป็น "นโยบายลูกสองคน" ในปี 2556 การขาดพี่น้องมีผลทางจิตวิทยาใหญ่หลวงในชั่วรุ่นนี้ อย่างเช่น อัตนิยมเนื่องจากเป็นจุดสนใจของบิดามารดาเสมอ เช่นเดียวกับความเครียดของการเป็นผู้ดูแลบิดามารดายามเกษียณคนเดียวด้วย
  • ในประเทศโรมาเนีย ประชากรที่เกิดในปี 2532 เรียก "ชั่วรุ่นปฏิวัติ" เพราะคอมมิวนิสต์ล่มสลายในปีนั้น และยังมีกลุ่มประชากรเรียก "Decrețeii" หมายถึงผู้ที่เกิดระหว่างที่ระบอบคอมมิวนิสต์ใช้กฤษฎีกา 770 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2532
  • ในเกาหลีใต้ รุ่นชั่วรุ่นมักนิยามตามการทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย โดยมีการเสนอการนับหลายอย่างรวมทั้งชื่ออย่าง "ชั่วรุ่นประชาธิปไตย" ชั่วรุ่น 386[32][33] (ซึ่งได้ชื่อตามคอมพิวเตอร์อินเทล 386 ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ใช้อธิบายบุคคลที่มีอายุปลาย 30 และต้น 40 ซึ่งเกิดในคริสต์ทศวรรษ 1960 เข้าเรียนมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยในคริสต์ทศวรรษ 1980 หรือเรียก "ชั่วรุ่น 3 มิถุนายน 1987") ซึ่งรู้เห็นการก่อการกำเริบเดือนมิถุนายน "ชั่วรุ่น 19 เมษายน" (ซึ่งต่อสู้กับระบอบซึง-มัน รีในปี 2503), "ชั่วรุ่น 3 กรกฎาคม" (ซึ่งต่อสู้กับสนธิสัญญาการทำให้ปรกติกับญี่ปุ่นในปี 2507), "ชั่วรุ่น 2512" (ซึ่งต่อสู้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้สามสมัย) และชั่วรุ่นชิน-เซ-แด ("ใหม่")[33][34][35]
  • ในประเทศไต้หวัน คำว่า "สตรอว์เบอร์รีเจเนอเรชัน" หมายถึงชาวไต้หวันที่เกิดหลังปี 2524 ซึ่ง "บอบช้ำง่าย" เหมือนกับสตรอว์เบอร์รี หมายความว่า พวกเขาไม่สามารถทนแรงกดดันทางสังคมหรือทำงานหนักได้เหมือนกับชั่วรุ่นบิดามารดา คำนี้ใช้กับผู้ที่ไม่ยอมอยู่ใต้บัญชา ถูกเลี้ยงดูแบบตามใจ เห็นแก่ตัว โอหัง และทำงานแบบขี้เกียจ

อ้างอิง แก้

  1. generation. Dictionary.com. Dictionary.com Unabridged. Random House, Inc. http://www.dictionary.com/browse/generation (accessed: 22 December 2016).
  2. Pilcher, Jane (September 1994). "Mannheim's Sociology of Generations: An undervalued legacy" (PDF). British Journal of Sociology. 45 (3): 481–495. doi:10.2307/591659. JSTOR 591659. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
  3. 3.0 3.1 Biggs, Simon (2007). "Thinking about generations: Conceptual positions and policy implications". Journal of Social Issues. 63 (4): 695–711. doi:10.1111/j.1540-4560.2007.00531.x.
  4. Jaeger, Hans (1985). "Generations in History: Reflections on a Controversial Concept" (PDF). History and Theory. 24 (3): 273–292. doi:10.2307/2505170. JSTOR 2505170.
  5. Strauss, William; Howe, Neil (1991). Generations: The History of America's Future, 1584–2069. New York: Harper.
  6. Jaeger, Hans (1885). "Generations in History: Reflections on a Controversial Concept" (PDF). History and Theory. 24 (3): 283.
  7. Mannheim, Karl (1952). "The Problem of Generations". ใน Kecskemeti, Paul (บ.ก.). Essays on the Sociology of Knowledge: Collected Works, Volume 5. New York: Routledge. p. 276–322.
  8. Hart-Brinson, Peter (2018). The Gay Marriage Generation: How the LGBTQ Movement Transformed American Culture. New York: NYU Press.
  9. Taylor, P. & Keeter, S. (Eds.) (24 กุมภาพันธ์ 2010). "The Millennials. Confident, Connected. Open to Change". p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Dan Woodman, Johanna Wyn (2015). Youth and Generation. Los Angeles, London, New Delhi, Singapore, Washington DC: Sage. p. 164. ISBN 978-1-4462-5904-7.
  11. Woodman, Dan; Wyn, Johanna (2015). Youth and Generation Rethinking Change and Inequity in the Lives of Young People. London: Sage Publications Ltd. p. 122. ISBN 978-1-4462-5904-7.
  12. Grenier, Amanda (2007). "Crossing age and generational boundaries: Exploring intergenerational research encounters". Journal of Social Issues. 63 (4): 713–727. doi:10.1111/j.1540-4560.2007.00532.x.
  13. Ryder, Norman (1965). "The cohort as a concept in the study of social change". American Sociological Review. 30 (6): 843–861. doi:10.2307/2090964. JSTOR 2090964.
  14. Grenier, Amanda (2007). "Crossing age and generational boundaries: Exploring intergenerational research encounters". Journal of Social Issues. 63 (4): 718. doi:10.1111/j.1540-4560.2007.00532.x.
  15. Mannheim, Karl. (1952) 'The problem of generations', in K. Mannheim, Essays on the Sociology of Knowledge, London: RKP
  16. Jaeger, Hans (1985). "Generations in History: Reflections on a Controversial Concept". History and Theory. 24 (3): 273–292. doi:10.2307/2505170. JSTOR 2505170.
  17. Wohl, Robert (1979). The generation of 1914. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-34466-2.
  18. Safire, William (28 November 2008). "Generation What?". The New York Times Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2018. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019.
  19. "The Generation Gap in American Politics" (PDF). Pew Research Center. March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  20. Hunt, Tristram (6 June 2004). "One last time they gather, the Greatest Generation". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 24 August 2009.
  21. Strauss, William; Neil Howe (1991). Generations: The History of Americas Future, 1584 to 2069. New York: Harper Perennial. p. 279. ISBN 978-0-688-11912-6.
  22. https://books.google.ca/books?id=_xuFDwAAQBAJ&pg=PT182
  23. See:
    • Brandon, Emily. "The Youngest Baby Boomers Turn 50". US News & World Report. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
    • "Baby Boomers". History.com. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
    • Fry, Richard. "This year, Millennials will overtake Baby Boomers". Pew Research Center. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
    • Howe, Neil; Strauss, William (1991). Generations: The History of Americas Future, 1584 to 2069. New York: William Morrow. pp. 299–316. ISBN 978-0-688-11912-6.
    • Owram, Doug (1997). Born at the Right Time. Toronto: Univ Of Toronto Press. p. xiv. ISBN 978-0-8020-8086-8.
    • Jones, Landon (1980). Great Expectations: America and the Baby Boom Generation. New York: Coward, McCann and Geoghegan.
  24. U.S. Census Bureau
  25. Encyclopedia of Identity By Ronald L. Jackson, II
  26. William Strauss, Neil Howe (1991). Generations. New York: Harper Perennial. p. 318. ISBN 978-0-688-11912-6.
  27. Horovitz, Bruce (4 May 2012). "After Gen X, Millennials, what should next generation be?". USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-20. สืบค้นเมื่อ 24 November 2012.
  28. "Pew Research Center, from Statistics Provided by US Dept. Health and Human Services". Millennials projected to overtake Baby Boomers as America’s largest generation. Pew Research Center. 1 March 2018. สืบค้นเมื่อ 9 August 2018.
  29. Dimock, Michael. "Defining generations: Where Millennials end and Generation Z begins". Pew Research Center. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
  30. "Baby boom and immigration prop up Czech population | Aktuálně.cz". Aktuálně.cz - Víte, co se právě děje (ภาษาเช็ก). 2007-09-20. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  31. Yan, Yunxiang (2006). "Little Emperors or Frail Pragmatists? China's '80ers Generation". Current History: A Journal of Contemporary World Affairs. 105 (692): 255–262.
  32. "Fiasco of 386 Generation". The Korea Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2010. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
  33. 33.0 33.1 "Shinsedae: Conservative Attitudes of a 'New Generation' in South Korea and the Impact on the Korean Presidential Election". Eastwestcenter.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2010. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
  34. "Social cohesion Ideological differences divide generations". The Korea Herald. 26 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2010.
  35. Korea Journal http://www.ekoreajournal.net/upload/pdf/PDF4033M. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)[ลิงก์เสีย]

อ่านเพิ่มเติม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้