ชะนีคิ้วขาวตะวันตก

ชะนีคิ้วขาวตะวันตก
ชะนีคิ้วขาวตะวันตกตัวผู้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Hylobatidae
สกุล: Hoolock
สปีชีส์: H.  hoolock
ชื่อทวินาม
Hoolock hoolock
(Harlan, 1834)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Hylobates hoolock (Harlan, 1834)
  • Bunopithecus hoolock

ชะนีคิ้วขาวตะวันตก หรือ ชะนีฮูล็อกตะวันตก (อังกฤษ: Hoolock gibbon, Hoolock, Western hoolock gibbon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoolock hoolock) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับวานร (Primates)

จัดเป็นชะนีชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกรองลงมาจากเซียมมัง หรือชะนีดำใหญ่ ที่พบในป่าดิบในแหลมมลายูและเกาะสุมาตรา เมื่อมีความสูงเมื่อยืนด้วยสองขาหลังได้ถึง 90 เซนติเมตร น้ำหนักเกือบ 10 กิโลกรัม แต่มีความคล่องแคล่วว่องไวเมื่ออยู่บนต้นไม้[2]

ชะนีคิ้วขาวตะวันตก เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชะนีฮูล็อกเพียงชนิดเดียว (โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylobates hoolock[1]) แต่ต่อมาได้ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ในปี ค.ศ. 2005 โดยจำแนกจากถิ่นที่อยู่อาศัย [3] ตัวผู้มีขนสีดำ ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและมีขนสีขาว มีเสียงร้องและพฤติกรรมทั่วไปเหมือนชะนีชนิดอื่น ๆ [2]

ชะนีคิ้วขาวตะวันตกจะกระจายพันธุ์อยู่ในรัฐอัสสัมของอินเดีย อาทิ อุทยานแห่งชาติกาจิรังคา, ตอนใต้ของจีน, พม่า และซีกตะวันตกของแม่น้ำชินด์วิน[4]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hoolock hoolock ที่วิกิสปีชีส์