ชวเลข (อังกฤษ: shorthand) หมายถึง วิธีการเขียนข้อความอย่างย่อด้วยสัญลักษณ์ เพื่อเพิ่มความเร็วในการเขียนหรือการจดบันทึก เมื่อเทียบกับการเขียนปกติธรรมดาในภาษาหนึ่งๆ ขั้นตอนของการเขียนให้เป็นชวเลขเรียกว่าการเขียนชวเลข

บทสวดมนต์ Lord's prayer เขียนเป็นชวเลขด้วยระบบของเกร็กก์ และคนอื่นๆ ในศตวรรษที่ 19

stenography มาจากภาษากรีกว่า stenos = แคบ, ใกล้; graphos = การเขียน หรือบางครั้งอาจเรียกว่า "brachygraphy" หรือ "tachygraphy"

ชวเลขนั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก ระบบชวเลขทั่วไปมักจะมีการกำหนดสัญลักษณ์หรือคำย่อเพื่อแทนคำหรือวลีธรรมดา ซึ่งช่วยให้ผู้ฝึกฝนสามารถเขียนชวเลขได้เร็วพอๆ กับคำพูดของคน

ประวัติของชวเลข แก้

ชวเลขมีมาตั้งแต่สมัยโรมันโบราณ โดย มาคุส ตุลลิอุส ไทโร (Marcus Tullius Tiro) มีชีวิตระหว่าง 103–4 ปีก่อนคริสตกาล เขาเป็นทาสชาวโรมัน ต่อมาได้เป็นไทแก่ตัว ได้จดบันทึกคำพูดของ Cicero (Cicero's Speeches) ที่เป็นเจ้านายของตัวเองเรียกว่า Tironian Notes ในตอนนั้น ไทโร ได้ใช้เครื่องหมายแทนคำหรือความหมาย ทำให้มีความยากในการเขียนและจดจำ ต่อมามีการพัฒนาภาษาในการจดบันทึกทั้งในประเทศจีนและเยอรมนี และพัฒนาดัดแปลงเป็นชวเลขแบบต่าง ๆ รวมถึง ชวเลขแบบปิทแมน ซึ่งพัฒนาโดย เซอร์ ไอแซค ปิทแมน (Sir Isaac Pitman) ชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1837 และชวเลขแบบเกร็ก พัฒนาโดย จอห์น โรเบิร์ต เกร็กก์ (John Robert Gregg) ชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1888 จนกลายเป็นชวเลข 2 รูปแบบที่นิยมใช้ไปทั่วโลก[1]

แบบของชวเลข แก้

แบบชวเลขมีอยู่หลายแบบ แต่มีที่นิยมอยู่ 2 แบบคือ[2]

  1. ชวเลขแบบปิทแมน (Pitman) สร้างโดย เซอร์ไอแซค ปิทแมน ในปี พ.ศ. 2380 ใช้การเขียนชวเลขด้วยดินสอ โดยลักษณะมีทั้งเส้นหนักและเส้นเบา และต้องอาศัยเส้นบรรทัดในการกำหนดตัวสระ แต่ก็สามารถถอดข้อความจากชวเลขได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง
  2. ชวเลขแบบเกร็กก์ (Gregg) สร้างโดย โรเบิร์ต เกร็กก์ ในปี พ.ศ. 2431 เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ใช้การเขียนชวเลขได้ทั้งดินสอและปากกา เนื่องจากเขียนง่าย สะดวก และรวดเร็ว

ชวเลขในประเทศไทย แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ต้นแบบชวเลขจากพี่สู่น้อง (Shorthand Model)" (pdf). คณะทำงานจัดการความรู้ สำนักรายงานการประชุมและชวเลข. 2012. สืบค้นเมื่อ 2019-08-31.
  2. "ชวเลข - ชวเลขคืออะไร?" (Blog post). blogspot.com. 2011-09-06. สืบค้นเมื่อ 2019-08-31.