ชยันตี กุรุ-อุตุมปาละ

ชยันตี กุรุ-อุตุมปาละ (สิงหล: ජයන්ති කුරු උතුම්පාල; Jayanthi Kuru-Utumpala, เกิด 3 กันยายน 1979) เป็นนักไต่เขามืออาชีพและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีและผู้มีความหลากหลายทางเพศชาวศรีลังกา[1] เธอเป็นชาวศรีลังกาคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2016[2][3] เธอเป็นผู้สนับสนุนสิทธิสตรีในศรีลังกา และทำงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับเพศศึกษาและสิทธิสตรี เธอมักไต่เขาร่วมกับโยฮันน์ เปรีส์ ในหลาย ๆ โอกาส[4]

ชยันตี กุรุ-อุตุมปาละ
ชยันตี กุรุ-อุตุมปาละ โบกธงชาติศรีลังกาบนยอดเขาเอเวอเรสต์เมื่อ 21 พฤษภาคม 2016
Personal information
ชื่อเมื่อเกิดชยันตี กุรุ-อุตุมปาละ
หน้าที่การงานหลักนักเคลื่อนไหวสิทธิสตรี, นักไต่เขา
เกิด (1979-09-03) 3 กันยายน ค.ศ. 1979 (44 ปี)
โคลัมโบ จังหวัดตะวันตก ประเทศศรีลังกา
สัญชาติศรีลังกา
การไต่เขา
การพิชิตครั้งสำคัญชาวศรีลังกาคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์; สตรีศรีลังกาคนแรกที่พิชิตอิมจาเซ (ไอแลนด์พีค) 6,189m
คู่ไต่เขาสำคัญโยฮันน์ เปรีส์

ประวัติ แก้

ชยันตี กุรุ-อุตุมปาละ เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน 1979 ในโคลัมโบ บิดาชื่อนิสสันกา (Nissanka) เป็นวิศวกรเครื่องยนต์ มารดาชื่อ ชจินตา (Jacinta ) เป็นผู้บริหารในอุตสาหกรรมโรงแรม พี่ชาย รุกษาณ (Rukshan) เข้าเรียนที่วิทยาลัยเอส ทอมัสในเมาต์ลาวีเนีย[5]

การศึกษา แก้

กุรุ-อุตุมปาละเข้าศึกษาในวิทยาลัยบิชอปในปี 1984 จนจบการศึกษาถึงระดับมัธยมในปี 1998 จากนั้นเธอเข้าศึกษาด้านวารสารศาสตร์และการสื่อสารที่สถาบันมูลนิธิศรีลังกา (Sri Lanka Foundation Institute) ในปี 1999 เธอเข้ามิรันดาเฮาส์ของมหาวิทยาลัยเดลีในปี 2000 และจบการศึกษาวุฒิศิลปศาสตร์ปัณฑิตด้านวรรณกรรมภาษาอังกฤษในปี 2003 นอกขากนี้เธอยังเข้าร่วมการฝึกทางทหารด้านการไต่เขาพื้นฐานระยะ 28 วัน และการไต่เขาขั้นสูงระยะ 28 วันจากสถาบันไต่เขาหิมาลัยในปี 2003 และ 2004 ตามลำดับ[6] เธอได้รับประกาศนียบัตรบัณฑิตศึกษา (post graduate diploma) ด้านสตรีศึกษา ในปี 2007 จากมหาวิทยาลัยโคลัมโบ[7]

เธอได้รับทุนเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ในสหราชอาณาจักร และได้รับปริญญาโทด้านศิลปศาสตร์ ในสาขาเพศศึกษาในปี 2009[8] เธอทำงานวิจัยเกี่ยวกับสิทธิสตรี และมีโอกาสได้พูดให้แรงบันดาลใจแก่เด็กหญิงในโรงเรียนมากมาย[9] นับตั้งแต่ปี 2003 เธอเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีในศรีลังกา[10] ในปี 2016 เธอได้รับแต่งตั้งเป็นทูตสัมพันธไมตรีสำหรับสิทธิสตรีคนแรกของศรีลังกา โดยรัฐมนตรีกิจการสตรี จันทรานี พันทรา ชยสิงเห[11][12]

อ้างอิง แก้

  1. "Life Online – Jayanthi." www.life.lk (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-07. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  2. Zaltzman, Julia (2019-07-10). "She's the First Sri Lankan (Woman) to Climb Mt. Everest". Robb Report (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-20. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  3. "You don't have to, but you must! | Daily FT". www.ft.lk (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-18. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  4. "එවරස්ට් ගිය ජයන්ති යලි කත්මණ්ඩු අගනුවරට". Hiru News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  5. Raymond, Roel. "SHATTERING STEREOTYPES SINCE 1979: Jayanthi Kuru-Utumpala". Daily News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  6. "Q&A: Peak Performance: An Advocate of Women's Rights Is 1st Sri Lankan to Summit Everest". Global Press Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-07-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-05. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  7. "Jayanthi Kuru-Utumpala - Academia.edu". independent.academia.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-05. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  8. "Jayanthi Kuru-Utumpala – reconference" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-05. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  9. "Jayanthi Kuru-Utumpala conducts speech empowering girls". www.fis.edu.hk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-25. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  10. "Women's rights activists respond to recent events in relation to women and justice in Sri Lanka | Daily FT". www.ft.lk (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-20. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  11. "Jayanthi Kuru-Utumpala appointed as goodwill ambassador". www.fis.edu.hk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  12. "Ambassadorship presented to Jayanthi Kuru-Utumpala by the Minister of Women's Affairs". womenandmedia.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-14. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.