ชมพูพาน (พรรณไม้)

ชมพูพาน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Paulowniaceae
สกุล: Wightia
สปีชีส์: W.  speciosissima
ชื่อทวินาม
Wightia speciosissima
(D.Don) Merr.
ชื่อพ้อง
  • Gmelina speciosissima D.Don
  • Wightia alpinii Craib
  • Wightia elliptica Merr.
  • Wightia gigantea Wall.
  • Wightia lacei Craib

ชมพูพาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Wightia speciosissima) เป็นพืชในวงศ์ Paulowniaceae กระจายพันธุ์ในเนปาล, อินเดีย, จีนตอนใต้ไปจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ที่ความสูง 1300-2000 เมตร[1]

ชมพูพานเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นอิงอาศัย สูงได้ถึง 15 เมตร ใบออกเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 10-30 เซนติเมตร ก้านใบยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ ยาว 10-20 เซนติเมตร มีใบประดับย่อยขนาดเล็ก 2 ใบ กลีบเลี้ยงรูประฆังยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ปลายแยก 3-4 แฉก กลีบดอกสีชมพูยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร กลีบรูปปากเปิด กลีบปากบนแยก 2 แฉก ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร กลีบปากล่าง 3 กลีบ ยาว 6-7 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 2 คู่ ยาวไม่เท่ากัน อับเรณูรูปลูกศร รังไข่มี 2 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้นกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นผลแห้งแตกรูปขอบขนาน ยาว 2.5-4 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดรูปแถบยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร อยู่จำนวนมาก[2][3]

อ้างอิง แก้

  1. Hong et al. (1998), pp. 10–11.
  2. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 127, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  3. "ชมพูพาน (Wightia speciosissima (D.Don) Merr.)". ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.