ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย (นามเดิม หยก แซ่หวัง; 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[1]) ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานบริษัท ดุสิตธานี จำกัด อดีตนายกสมาคมโรงแรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา[2] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2516

ชนัตถ์ ปิยะอุย
สมาชิกวุฒิสภาไทย
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม 2539 – 21 มีนาคม 2543
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไทย
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม 2516 – 25 มกราคม 2518
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
หยก แซ่หวัง

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2465
เสียชีวิต3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (97 ปี)
คู่สมรสปวิต โทณวณิก (หย่า)
บุตรชนินทธ์ โทณวณิก
สินี เธียรประสิทธิ์
สุนงค์ สาลีรัฐวิภาค

ประวัติ แก้

ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย หรือ หยก แซ่หวัง เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 บิดาและมารดา ชื่อ พุฒ และลูกจันทน์ ปิยะอุย บิดาเคยเป็นพ่อค้าไม้ชื่อดังในภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนมารดาประกอบการค้าข้าว มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน คือ สุภา ปิยะอุย, สุนีรัตน์ เตลาน (ใช้นามสกุลมารดา), ชนัตถ์ ปิยะอุย, ชยาภรณ์ ปิยะอุย, พันโทวรพงษ์ ปิยะอุย และสมพจน์ ปิยะอุย[3] เริ่มเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเสาวภา ต่อมาศึกษาต่อที่โรงเรียนศึกษานารี เตรียมธรรมศาสตร์ และได้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2492 ท่านผู้หญิงชนัตถ์ เปิดโรงแรมปริ๊นเซสเป็นแห่งแรกขึ้นที่ถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นโรงแรมใจกลางเมืองแห่งแรก ๆ ที่มีสระว่ายน้ำ ลิฟต์ และเครื่องปรับอากาศ โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด[4] และดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ประสบความสำเร็จเป็นลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ทำการเปิดโรงแรมดุสิตธานี และได้ขยายกิจการธุรกิจบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งยังได้ก่อตั้งวิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันการศึกษาด้านการโรงแรมและบริหารการท่องเที่ยว และโรงเรียนสอนประกอบอาหาร เลอ กอร์ดอง เบลอ ดุสิต นอกจากนี้ยังทำงานให้กับสมาคมและมูลนิธิต่าง ๆ เช่น ดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประธานกรรมการบริหารสวนหลวง ร.9 และประธานมูลนิธิคุณากร ในพระราชูปถัมภ์[5] ท่านผู้หญิงชนัตถ์เป็นบุคคลที่มีคุณูปการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวและการโรงแรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยนำความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกามาประยุกต์ใช้ และได้รับรางวัลต่าง ๆ เช่น บุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์อย่างยิ่งแก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี พ.ศ. 2527, นักบริหารโรงแรม-นักธุรกิจสตรีแห่งปี ประจำปี พ.ศ. 2532 และรางวัล "SHTM Lifetime Achievement Award 2018" ประจำปี พ.ศ. 2561 จาก มหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคฮ่องกง ที่มอบให้แก่ผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวและการโรงแรมระดับโลก โดยเป็นสุภาพสตรีเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลทรงเกียรตินี้

ท่านผู้หญิงชนัตถ์ สมรสกับปวิต โทณวณิก บุตรของพระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) ผู้ก่อตั้งสถานธนานุเคราะห์ อดีตประธานธนาคารศรีนคร ชีวิตสมรสของทั้งสอง ค่อนข้างลุ่ม ๆ ดอน ๆ มาตลอด เนื่องจากอุปนิสัยที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เพราะพื้นฐานการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันอย่างมาก จึงเป็นชนวนให้ชีวิตสมรสมีอันต้องหย่าร้างกันในที่สุด ชนัตถ์บอกว่า เธอไม่พอใจที่ปวิตไปค้ำประกันซื้อของให้ญาติคนหนึ่งแล้วตัวเองต้องมาเป็นผู้รับใช้ ซึ่งเธอเคยประสบปัญหานี้มาแล้วกับพ่อที่ต้องล้มละลายเนื่องจากไปช่วยเหลือเพื่อน

ท่านผู้หญิงชนัตถ์ มีบุตรธิดา 3 คน คือ ชนินทธ์ โทณวณิก, สินี เธียรประสิทธิ์ และสุนงค์ สาลีรัฐวิภาค

ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ถึงแก่อนิจกรรมเนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สิริอายุ 97 ปี ต่อมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ปีเดียวกัน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อพระราชทานเพลิงศพ[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[7] ดังนี้

อ้างอิง แก้

  1. "ปิดตำนานสตรีเหล็กดุสิตธานี "ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย"". thansettakij. สืบค้นเมื่อ 4 May 2020. (in Thai)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
  3. "โลกลับชนัตถ์ ปิยะอุย บางเรื่องของม่ายใจดำที่จำต้องยอม". นิตยสารผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. "อาลัย ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย หญิงเหล็กแห่งวงการการโรงแรม และการท่องเที่ยว ผู้ก่อตั้งโรงแรมดุสิตธานี โรงแรม 5 ดาวแห่งแรกของไทย". หนังสือพิมพ์แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย". news.ch7.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-18. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ข่าวในพระราชสำนัก [1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2563" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (36ข): 82. 4 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2564.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒