ฉัตรชัย เอียสกุล

ฉัตรชัย เอียสกุล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา[1] รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[2] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคาย

ฉัตรชัย เอียสกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้านายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์
ถัดไปนายมนตรี ด่านไพบูลย์
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้านายมนตรี ด่านไพบูลย์
ถัดไปคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย
คู่สมรสกอบแก้ว เอียสกุล

ประวัติ แก้

นายฉัตรชัย เอียสกุล เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ที่โรงพยาบาลหนองคาย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย[3] เป็นบุตรของนายธเนตร เอียสกุล กับนางกิมเตียว เอียสกุล และเป็นพี่ชายของนายเฉลิมชัย เอียสกุล อดีต ส.ส. หนองคาย 4 สมัย

นายฉัตรชัย เอียสกุล สำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2520 และระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น (Northeastern University) สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2523[4]

การทำงาน แก้

หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาโท ฉัตรชัย เริ่มต้นทำงานในหน่วยงาน World Food ขององค์การสหประชาชาติ ที่ประเทศกัมพูชา เป็นเวลา 1 ปี ก่อนที่จะลาออก เพื่อไปทำงานด้านการค้าระหว่างประเทศกับญาติในฮ่องกง จนกระทั่ง พ.ศ. 2525 จึงกลับมาช่วยดำเนินงานกับบิดา และเข้าสู่แวดวงการเมืองในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน[5]

การทำงาน แก้

นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคายหลายสมัย สังกัดพรรคความหวังใหม่ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลชวน[6] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ต่อมาก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม[7] และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย[8] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[9]

ต่อมาภายหลังการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 พรรความหวังใหม่ ได้ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ซึ่งนายฉัตรชัย เอียสกุล จึงได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทยเช่นเดียวกันกับสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ และได้รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2548

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[10] แม้ว่านายฉัตรชัย เอียสกุล จะลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคแล้วก็ตาม

ในทางการเมือง นายฉัตรชัย เอียสกุล ได้รับฉายาว่า "รัฐมนตรีไฟแช็ก" (รมต.ไฟแช็ก) จากการที่เป็นบุคคลที่คอยติดตามรัฐมนตรีหรือนักการเมืองคนสำคัญต่าง ๆ โดยยอมรับใช้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่เป็นสาระสำคัญ ตั้งแต่ยังสังกัดพรรคความหวังใหม่[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 51 ของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30.
  2. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 52 ของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-17. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30.
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. "คุณฉัตรชัย เอียสกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-30.
  5. เมื่อทายาท กิมก่ายวิ่งหาฐานการเมือง[ลิงก์เสีย]
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
  10. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  11. 'ฉัตรชัย'เหลืออดที่จะทนถูกหยามเป็นรมต. ไฟแช็ค, หน้า 1, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์: 6 กรกฎาคม 2539
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอน ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙