ฉลอง ปึงตระกูล เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นผู้นำการจัดทำแผนพัฒนาประเทศฉบับแรกของไทย[1]

ฉลอง ปึงตระกูล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มกราคม พ.ศ. 2463
เสียชีวิต25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
คู่สมรสคุณหญิง ศศิวงศ์ ปึงตระกูล

ประวัติ แก้

ฉลอง ปึงตระกูล เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2463 สำเร็การศึกษาจากโรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยลาวาส ประเทศแคนาดา ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

การทำงาน แก้

ฉลอง ปึงตระกูล เป็นข้าราชการพลเรือนเริ่มรับราชการที่กองส่งเสริมการสหกรณ์ กระทรวงเกษตร ต่อมาโอนย้ายมาอยู่สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ (สภาพัฒน์ ในปัจจุบัน) เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2500[2] ถึงปี พ.ศ. 2506 และนับได้ว่าเป็นผู้นำการจัดทำแผนพัฒนาประเทศฉบับแรกของไทย จากการจัดทำแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2504[3] เป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลัง พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2507 จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นทึ่ปรึกษาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประจำกรุงวอชิงตัน และรองผู้อำนวยการสายเอเซีย ประจำธนาคารโลก

ต่อมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึงปี พ.ศ. 2514[4] จากนั้นได้เข้าทำงานเป็นรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในยุคของพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ เป็นผู้ว่าการฯ[5] และลาออกในปี พ.ศ. 2518

ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ฉลองได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และในปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[6]

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

ฉลอง เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2558 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉลอง ปึงตระกูล ผู้นำการจัดทำแผนพัฒนาประเทศฉบับแรกของไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558
  2. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  3. สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ, แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2503.
  4. รายนามอดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง[ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๔๒, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒

แหล่งข้อมูลอื่น แก้