ฉบับร่าง:บ้านชุมแพ

บ้านชุมแพ หมู่ที่ 1 ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น 83 กิโลเมตร เดิมบ้านชุมแพเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ก่อนจะเกิดการกระจายหมู่บ้านในแต่ละยุคแต่ละสมัยเรื่อยมา ปัจจุบันตัวบ้านชุมแพ แบ่งออกได้เป็น 2 ชุมชน โดยถือเอาทางคุ้มเหนือ เป็น ชุมชนบ้านชุมแพ หมู่ที่ 1 และ ถือเอาคุ้มกลางและคุ้มใต้เป็น ชุมชนบ้านกุดชุมแพ หมู่ที่ 10 บ้านชุมแพเป็นชุมชนที่มีอารยะมีประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้คนในพื้นที่นับถือพระพุทธศาสนาและนับถือผีบรรพบุรุษ (ปู่ตาพรหมเทพชุมแพ) ตั้งแต่เดิมผู้คนส่วนใหญ่มาจากเชื้อสายลาวเป็นหลัก ก่อนจะมีผู้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยจากหลากหลายท้องที่ อาทิ เชื้อสายไทย เชื้อสายจีน เชื้อสายแขก เชื้อสายเวียดนาม เป็นต้น ในช่วงระยะกลาง - หลังส่วนใหญ่ผู้คนเริ่มอพยพเข้ามาตั้งหลักปักฐานจากภูเขียว ชาวชุมแพพูดภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาลาว (สำเนียงลาวเวียงจันทร์)

ในพื้นที่บ้านชุมแพเดิมเคยเป็นเมืองโบราณนับพันปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก เป็นทั้งที่ลุ่มที่ดอนมีภูเขาภูเวียง มีแหล่งน้ำหรือลำห้วยหลักหลายสาย อาทิ ลำห้วยกุดชุมแพ ซึ่งแต่เดิมหลายล้านปีเคยเป็นสายลำน้ำเชิญก่อนที่สายน้ำจะเปลี่ยนทิศทางเรื่อยๆจากหลายปัจจัยนับล้านปี อารยธรรมลุ่มน้ำเชิญ(กุดชุมแพ) เคยเป็นที่อยู่อาศัยชุมชนเมืองตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานมากมาย อาทิ โคงกระดูกมนุษย์ทั้งผู้ใหญ่และเด็กผู้หญิงและผู้ชายพร้อมด้วยสัตว์เลี้ยง สถาปัตยกรรมต่างๆ อาทิ ธาตุ เจดีย์ กองสถูป ประติมากรรม อาทิ หลักใบเสมา หลักหินทรายต่างๆ หม้อ ไห สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับ แก้ว แหวน สร้อยคอ กำไล ก่อนจะมีการอพยพออกจากพื้นที่ปล่อยให้เป็นพื้นที่รถร้างจากหลายปัจจัยทั้งเรื่องของภัยธรรมชาติ โรคระบาด การโดนรุกราน และอีกหลายเหตุหลายปัจจัยเรื่อยมาในแต่ละยุคแต่ละสมัย อย่างลุ่มน้ำห้วยอิเบ้า ตั้งแต่เดิมก็เคยเป็นที่อยู่อาศัยชุมชนเมืองในอดีตนับพันปี เนื่องจากคนในพื้นที่ชาวไร่ชาวนาเกษตรกรไปขุดพบ เครื่องใช้โบราณต่างๆ หม้อ ไห เครื่องประดับ สร้อยคอ กำไล เป็นต้น ในที่นาของตนเอง ผู้คนดั้งเดิมคงอพยพย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุปัจจัยต่างๆในหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของภัยธรรมชาติ โรคระบาด การโดนรุกราน และอีกหลายเหตุหลายปัจจัยเรื่อยมาในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งเราสามารถนับได้ว่าชุมชนเมืองบ้านชุมแพในปัจจุบันเป็นเพียงระยะหลัง

ประวัติความเป็นมา

แก้
 
โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์


บ้านชุมแพเริ่มก่อตั้งมาเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๒๗๐ ตามหนังสือที่นายเคน พุทธาศรี อดีตกำนันตำบลชุมแพสืบค้นเขียนไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๐ แต่วัดโพธิ์ธาตุ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๒๑ และมีรายนามเจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระญาคูหงส์ หงฺสเตโช (๒๒๒๑-๒๒๔๘) ตามหลักฐานทางราชการ ทะเบียนวัดภาคเก้า กรมการศาสนา ซึ่งขัดต่อหนังสือที่นายเคน พุทธาศรีได้สืบค้นไว้ ช่วงเวลาต่างกันประมาณ ๔๙ ปี จึงได้สันนิษฐานได้สองแนวคิดว่า พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นวัดและชุมชนเก่ามาก่อน มีหลักฐานคือเจดีย์(ธาตุ)เก่าและวัตถุโบราณต่างๆรอบบริเวณ คนยุคนั้นคงจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นด้วยเหตุผลใดนั้นก็ไม่ทราบปล่อยให้เป็นวัดร้างและชุมชนร้าง ก่อนที่กลุ่มของบรรพบุรุษบ้านชุมแพจะมาตั้งบ้านถิ่นฐานหรือจะอีกแง่คิดหนึ่งที่ว่าบ้านชุมแพอาจตั้งบ้านมาพร้อมกับวัดโพธิ์ธาตุ ตั้งแต่ช่วงปีพุทธศักราช ๒๒๒๑ แล้ว

เมื่อนานมาแล้ว มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง มีชื่อว่า พระญาคูหงส์ แต่งตั้งฉายาภายหลัง (หงฺสเตโช) ได้เดินธุดงค์ลัดเลาะตามป่าเขาลำเนาไพร จนมาพบเจดีย์(ธาตุ)โบราณ มีลักษณะรูปทรงคล้ายใบโพธิ์ สูงตั้งเด่นเป็นสง่าแลดูงามตายิ่งน่าเคารพเลื่อมใสและยังได้ค้นพบโบราณวัตถุต่างๆ ต้นโพธิ์ใหญ่ ๓ ต้น ประกอบกับโดยรอบมีพื้นที่เป็นดอน(เนิน)ส่วนทางฝั่งทิศตะวันตกมีลำห้วย ทางทิศตะวันออกมีหนองน้ำขนาดใหญ่ อุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับตั้งบ้านตั้งถิ่นฐาน พระญาคูหงส์จึงได้กลับไปชักชวนญาติพี่น้องญาติโยม ทราบชื่อได้แก่ย่าขาว สามีชื่อศรีสุทอและเพื่อนบ้านย้ายถิ่นฐานตั้งบ้านใหม่ (ย้ายออกมาจากกลุ่มบ้านกุดแห่ที่พึ่งตั้งหมู่บ้านได้ไม่นานในเวลาไล่เรี่ยกัน)เดินทางโดยใช้วัวลากเกวียนลัดเลาะไป โดยได้ตั้งบ้านเรือนที่แรกอยู่ที่คุ้มกลางฝั่งทางทิศตะวันตกของวัดโพธิ์ธาตุ ปีเริ่มแรกมีเพียง ๖ หลังคาเรือน พื้นที่โดยรอบบ้านชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์ นานเข้าจึงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นเรื่อยๆจากทั่วทุกสารทิศ

ทางฝั่งทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีลำห้วยขนาดใหญ่ ภาษาพื้นบ้านเรียก "กุด" กุดมีน้ำใสไหลเย็นและน้ำลึก ริมตลิ่งทั้งสองฝั่งมีต้นกอไผ่ขึ้นหนาแน่น มีจระเข้ชุกชุม โดยรอบเป็นพื้นที่ป่าทึบ มีสัตว์ป่ามากมาย อาทิ ควายป่า วัวป่า อง มั่ง อีเก้ง หมูป่า ฯลฯ และมีสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลามากมาย สมัยก่อนนั้นชาวบ้านจะจับปลาด้วยหอกแหลมหลาวไม่มีแหน้ำลึกเพราะไม่สะดวกในการจับปลา ชาวบ้านต้องตัดลำไผ่นำมาทำเป็นแพหลายๆลำแล้วตีวงล้อมเข้าหากันเป็นกลุ่ม ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า "ซุมแพ" (คือการรวมแพเข้าหากัน) นานเข้าจึงเรียกลำห้วยนี้ว่า กุดซุมแพ แต่มีการเรียกเพี้ยนไปตามยุคสมัยภาษาไทยกลางเป็น "กุดชุมแพ" และ บ้านชุมแพ จนถึงปัจจุบัน อีกตำราบ้างก็ว่าชาวบ้านตัดลำไผ่มาทำเป็นแพประมาณ ๒๐-๓๐ ลำ ทำเป็น ๒ ชั้น ๓ ชั้น แพลำหนึ่งคนสามารถบรรทุกคนได้ ๓-๔ คน เอาล่องลงไปตามลำห้วยเพื่อหาปลา หลายคนทำหลายแพแล้วนำมาพักมาจอดซุมกันเป็นจุด (คือการจอดรวมแพเป็นจุด) นานเข้าจึงเรียก "กุดซุมแพ" แต่มีการเรียกเพี้ยนไปตามยุคสมัยภาษาไทยกลางเป็น "กุดชุมแพ" และ "บ้านชุมแพ"

เดิมบ้านชุมแพเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จึงมี ๓ วัด คือ วัดโพธิ์ธาตุ(วัดกลาง) วัดเหนือและวัดใต้ โดยวัดเหนือเดิมตั้งอยู่บริเวณการประปาส่วนภูมิภาค สาขาชุมแพและบริเวณใกล้เคียง โดยมี พระอาจารย์พุทธา พุทฺธเสฏฺโฐ นำพาชาวบ้านสร้างวัดซึ่งปัจจุบันได้รื้อถอนไปนานแล้ว ส่วนวัดใต้เดิมตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านชุมแพและบริเวณใกล้เคียง พระอาจารย์คล้อย (ฮ้อย) วินยธโร อาจารย์ซาจวงและพ่อพานสิงห์ นำพาชาวบ้านสร้างวัดซึ่งปัจจุบันยังคงหลงเหลือซากปลักหักพังโบราณสถานวัดใต้อยู่บริเวณด้านหลังโรงเรียนบ้านชุมแพ(ศาลปู่ขาว) ซึ่งอยู่ในการดูแลของกรมศิลปากรและโรงเรียนบ้านชุมแพในปัจจุบัน โดยพื้นที่โดยรอบบ้านชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ

ช่วงเวลานั้นมีหมู่บ้านใกล้เคียงไม่กี่หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านชุมแพ บ้านแห่ บ้านหัน และ บ้านไชยสอ

การกระจายหมู่บ้านของบ้านชุมแพ ประมาณปีชวด พุทธศักราช ๒๔๕๕ ในวันเพ็ญเดือน ๔ เวลาประมาณเที่ยงวัน ได้มีไฟไหม้ต้นกอไผ่บริเวณทิศใต้ของหนองอีเลิง ติดรังมดแดงใหญ่ลมพัดรังมดแดงไปติดปลายต้นไม้เชือกแห้ง บริเวณร้านซินไล่ฮะในปัจจุบัน ลมได้พัดเศษไฟไปตกหลังคาเรือนหลังคายุ้งฉางที่มุงหญ้าของนายสีหาค้งหลังแรก ทำให้ไฟลุกลามไปทางคุ้มเหนือตลอดจนไปถึงวัดเหนือและลุกลามไปทางคุ้มใต้ ชาวบ้านที่ถูกไฟไหม้บ้านเรือนเดือดร้อนมากเพราะไม่มีที่อยู่อาศัย การที่จะสร้างบ้านเรือนใหม่ต้องใช้ทรัพยากรและเวลานาน จึงแยกไปอยู่ตามไร่นาของใครของมัน บ้างผู้ที่มีนาอยู่ทางบ้านโคกก็ไปอยู่บ้านโคก ผู้มีนาอยู่ทางบ้านวังหูกวางก็ไปอยู่บ้านวังหูกวางผู้มีนาอยู่ทางบ้านหนองหว้าก็ไปอยู่บ้านหนองหว้า ผู้มีนาอยู่ทางบ้านหนองใสก็ไปอยู่บ้านหนองใส ผู้มีนาอยู่ทางบ้านนาโพธิ์ก็ไปอยู่บ้านนาโพธิ์ ชาวบ้านชุมแพได้แตกแยกกันไปที่หัวไร่ปลายนาของตน บ้างก็ไปอยู่กับหมู่บ้านอื่นๆ บ้างก็แยกอยู่รวมกลุ่มใกล้กันจนตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ อาทิเช่น บ้านกุดเข้ บ้านศรีมงคล บ้านหัวหนอง บ้านพรานราษฎร์ บ้านหนองตาไก้ บ้านแก้งยาว เป็นต้น

ประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๗๐ เริ่มมีครอบครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายมากขึ้นในบริเวณถนนราษฎร์บำรุง ทางทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น ปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างศูนย์ราชการต่างๆและโรงเรียนชุมแพ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาดเหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า

พุทธศักราช ๒๔๘๖ เดิมบ้านชุมแพ หมู่ที่ ๑ ตำบลชุมแพ อยู่ในการปกครองของอำเภอภูเวียง ตำบลชุมแพได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองชุมแพในปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ สมัยที่ขุนบุญบาลบำรุงเป็นกำนันตำบลชุมแพ

พุทธศักราช ๒๔๙๖ สมัยนายมุข ประเสริฐวงษ์ เป็นนายอำเภอชุมแพ ได้ขอแบ่งแยกตำบลชุมแพออกเป็น ๒ ตำบล โดยเอาถนนมะลิวัลย์เป็นเส้นแบ่งเขต ด้านทิศเหนือถนนเป็นตำบลหนองไผ่ มี ๑๔ หมู่บ้าน มีนายพูน ธรรมกุล เป็นกำนันคนแรก(ในสมัยนั้น) ด้านทิศใต้ถนนเป็นตำบลชุมแพ ประกอบด้วย ๑๗ หมู่บ้าน มีนายเต้า เพชรผล เป็นกำนัน(ในสมัยนั้น)

พุทธศักราช ๒๕๑๓ บ้านชุมแพ หมู่ที่ ๑ ทางคุ้มใต้และคุ้มกลางได้แยกออกไปเป็น ชุมชนบ้านกุดชุมแพ และ ชุมชนบ้านพรานราษฎร์ หมู่ที่ ๑๐ โดยมีผู้ใหญ่บ้านกุดชุมแพคนแรก คือ นายบิน มิตะปิต

ปัจจุบัน บ้านชุมแพเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก ''หมู่บ้านเล็กๆ'' เติบโตไปเป็น หมู่บ้านขนาดใหญ่ ก่อนจะกลายเป็นชุมชนเมือง เป็นตำบล และ ปัจจุบันเป็น ''อำเภอเมืองชุมแพ'' ไม่แน่ในอนาคตอาจจะเป็น เทศบาลนครชุมแพ

แหล่งน้ำสายสำคัญ

แก้
 
ลำห้วยกุดชุมแพ


๑) ห้วยกุดชุมแพ

เป็นลำห้วยที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นลำน้ำต้นกำเนิดหมู่บ้านและชื่อหมู่บ้าน ชื่อตำบล รวมถึงชื่ออำเภอ "ชุมแพ" มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ลำห้วยกุดชุมแพมีต้นน้ำอยู่ที่หัวกุดตระกร้า (บริเวณหลังบ้านของนายสำเนา ฝ่ายลุย { ประธานชุมชนบ้านชุมแพ หมู่ที่ ๑ } บริเวณหัวกุดตะกร้าพื้นที่โดยรอบเป็นพลาญหินใหญ่ คาดว่าเคยเป็นปากปล่องภูเขาไฟเมื่อหลายร้อยล้านปีที่แล้ว ในอดีตชาวบ้านในพื้นที่มักนำวัวนำควายไปกินหญ้าบริเวณพลาญหินเพราะว่าหญ้าที่เกิดในบริเวณหินขึ้นสวยและได้นำวัวนำควายลงไปอาบน้ำเล่นน้ำบริเวณกุดตระกร้า สายน้ำไหลลงทางฝั่งทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ไหลลงไปจรดห้วยกุดตาไท เดิมลำห้วยกุดชุมแพเป็นลำห้วยขนาดใหญ่ ร่มรื่น หล่อเลี้ยงชาวบ้านชุมแพมาตั้งแต่สมัยอดีต ชาวบ้านทั้งคุ้มเหนือคุ้มกลางคุ้มใต้ อาศัยใช้สอยน้ำอุปโภคบริโภค ชาวบ้านจะไปตักน้ำที่ท่าน้ำทางฝั่งหลังโรงเรียนบ้านชุมแพในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นท่าหินแห่ บ้างก็ใช้กะคุหรือใช้กะปิ๊บบรรจุน้ำขนใส่รถน้ำบ้างก็หาบ เข้าบ้านใครบ้านมัน ตามประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกล่าวไว้ว่า "มีลำน้ำกว้างใหญ่แห่งหนึ่งอยู่ฝั่งทิศตะวันตกของหมู่บ้าน น้ำใสไหลเย็นและน้ำลึก ริมตลิ่งทั้งสองฝั่งมีต้นไผ่ขึ้นหนาแน่น มีจระเข้ชุกชุม โดยรอบเป็นพื้นที่ป่าทึบ สมัยก่อนนั้นชาวบ้านจะจับปลาด้วยหอกแหลมหลาวไม่มีแหน้ำลึกเพราะไม่สะดวกในการจับปลา ชาวบ้านต้องตัดลำไผ่นำมาทำเป็นแพหลายๆลำแล้วตีวงล้อมเข้าหากันเป็นกลุ่ม ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า "ซุมแพ" (คือการรวมแพเข้าหากัน) นานเข้าจึงเรียกลำห้วยนี้ว่า กุดซุมแพ แต่มีการเรียกเพี้ยนไปตามยุคสมัยภาษาไทยกลางเป็น "กุดชุมแพ" และ บ้านชุมแพ จนถึงปัจจุบัน อีกตำราบ้างก็ว่าชาวบ้านตัดลำไผ่มาทำเป็นแพประมาณ ๒๐-๓๐ ลำ ทำเป็น ๒ ชั้น ๓ ชั้น แพลำหนึ่งคนสามารถบรรทุกคนได้ ๓-๔ คน เอาล่องลงไปตามลำห้วยเพื่อหาปลา หลายคนทำหลายแพแล้วนำมาพักมาจอดซุมกันเป็นจุด (คือการจอดรวมแพเป็นจุด) นานเข้าจึงเรียก "กุดซุมแพ" แต่มีการเรียกเพี้ยนไปตามยุคสมัยภาษาไทยกลางเป็น "กุดชุมแพ" และ "บ้านชุมแพ" จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันลำห้วยกุดชุมแพบางจุดบางพื้นที่แคบลงจากเดิมเนื่องจากบางจุดได้ทับถมดินลงทั้งเพื่อผลประโยชน์ของส่วนตัวของตัวเองหรือถมเพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ {ลำห้วยกุดชุมแพในปัจจุบันสามารถใช้ทำการเกษตรได้แต่ไม่สามารถนำมาบริโภคได้แล้ว เนื่องจากน้ำเกิดการเน่าเสียไม่ได้รับการบำบัด และ ส่งกลิ่นเหม็น ปัจจุบันใช้เป็นที่รองรับและระบายน้ำเสียของเมือง}

๒) ห้วยใหญ่

เป็นลำห้วยที่อยู่ถัดจากลำห้วยกุดชุมแพไปฝั่งทิศตะวันตก ๓๐๐ เมตร โดยรับน้ำจากห้วยวังหูกวางและห้วยกุดตั้ง ไหลมารวมกันบริเวณถนนมะลิวัลย์ใกล้กันกับห้างสรรพสินค้า(แม็คโคร)และไหลไปจรดห้วยกุดเชือกและห้วยกุดชุมแพ เดิมเป็นลำห้วยขนาดเล็ก (เป็นเพียงทางน้ำประมาณ ๓-๕ เมตร) ที่มีคันนากั้น ๒ ฝั่ง จะมีน้ำก็ต่อเมื่อเป็นฤดูน้ำหลาก แต่ภายหลังได้ขุดลอกเป็นคลองยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร เพื่อให้ชาวบ้านเกษตรกรในพื้นที่สามารถใช้สอยน้ำเพื่อทำการเกษตรได้และยังเป็นอีกหนึ่งลำน้ำที่รองรับการระบายน้ำในเมืองด้วย {ลำห้วยใหญ่เป็นสายน้ำที่ทางชุมชนได้เลือกเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพิธีนิมนต์พระอุปคุตเถระและอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมืองของวัดโพธิ์ธาตุ ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๕-๒๕๖๖ โดยอัญเชิญบริเวณริบตลิ่งติดกับถนนทุ่งวารีตรงข้ามกับบ้านของคุณยายแดง เหล็กเจริญ}

๓) ห้วยกุดเข้

เป็นลำห้วยที่อยู่ถัดจากลำห้วยใหญ่ไปทางทิศตะวันตก ๓๐๐ เมตร โดยมีต้นน้ำที่บ้านยอดห้วย (บ้านโสกตาแดง) โดยไหลลงทางทิศตะวันออกของบ้านยอดห้วยและบ้านกุดเข้ไหลข้ามถนนมะลิวัลย์มาบริเวณหลังศูนย์จำหน่ายวัสดุต่อเติมบ้าน(โกลบอลเฮ้าส์) และไหลลงไปสุดที่นาของ นางทองเหลือง ต่อมาพื้นที่ทำการเกษตรบริเวณนั้นประสบปัญหาน้ำท่วมนาเป็นประจำทุกปีในฤดูน้ำหลาก ภายหลังจึงได้มีการขุดลอกคลองใหม่ห่างจากลำห้วยกุดเข้เดิมทางใต้ ๓๐๐ เมตร บริเวณติดกับถนนทุ่งวารี โดยขุดลอกคลองใหม่ยาวประมาณ ๕๐๐ เมตร ไหลไปจรดห้วยใหญ่ ทำให้ชาวบ้านเกษตรกรในพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์จากลำห้วยเพื่อทำการเกษตรและสามารถระบายน้ำหากฤดูน้ำหลากมาถึง

๔) ห้วยอิเบ้า

เป็นลำห้วยที่อยู่ห่างจากตัวหมู่บ้านชุมแพประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร และ อยู่ห่างกับห้วยกุดเข้ใหม่ ๓๕๐ เมตร เปรียบเสมือนเขตแดนทำการเกษตรระหว่าง ชาวบ้านชุมแพ-ชาวบ้านแห่ เดิมเป็นลำห้วย มีต้นไม้ขึ้นริมตลิ่งหนาแน่น ชาวบ้านทางคุ้มเหนือมักนำวัวนำควายไปกินหญ้าบริเวณใกล้กับห้วยอิเบ้า วัวควายมักลงไปเล่นน้ำเป็นประจำ ห้วยอิเบ้าเป็นอีกหนึ่งสายน้ำที่ไม่ได้มีการขุดลอกคลองใหม่เหมือนกับห้วยกุดชุมแพ ถือว่าเป็นลำห้วยมีมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่มีขนาดเล็กกว่ากุดชุมแพ

๕) หนองอีเลิง

ทางฝั่งทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีหนองน้ำขนาดใหญ่ น้ำใสและมีบัวขึ้นชุกชุม ใช้เป็นสถานที่จัดเทศกาลต่างๆในหมู่บ้าน เช่น เทศกาลลอยกระทง การจัดการแข่งขันพายเรือเนื่องในวันออกพรรษา การจัดมหรสพหมอลำกลอน หมอลำเพลิน รำวงย้อนยุค ชกมวย ฉายหนังกลางแปลง และอื่นๆ ชาวบ้านเรียกว่า หนองอีเลิง เหตุผลที่เรียกหนองอีเลิงก็เพราะว่า หนองน้ำมีลักษณะเป็นเลิ้งตามธรรมชาติทางฝั่งทิศตะวันออกเป็นป่าทึบ (ภาษาพื้นบ้านเรียก "อี่เลี้ง" หรือ อีเลิง ในปัจจุบัน เพี้ยนไปตามยุคตามสมัย) ปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ สมัยขุนราชาเป็นกำนันตำบลชุมแพ ได้เกณฑ์ชาวบ้านปิดกั้นเป็นคันคูกักเก็บไว้บริโภคใช้สอย โดยนักธรณีวิทยาเคยมาสำรวจ พบว่าหนองอีเลิงและหนองน้ำในบริเวณใกล้เคียงเคยเป็นหลุมเกลือตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปัจจุบันหนองอีเลิงมีพื้นที่คับแคบลงเนื่องจากได้ทับถมเป็นพื้นที่ใช้สอยสาธารณะทางฝั่งทิศตะวันตกและทิศเหนือ

๖) คูโสก (โสกน้ำใส)

ทางฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดกลาง มักมีนกเป็ดน้ำอาศัยชุกชุมมากมาย มีลักษณะเป็นโสกร่องน้ำใส เมื่อในยามหน้าแล้งน้ำลด พบว่าคูโสกยังมีหลุมน้ำลึกลงไปอีกชั้น เหมือนเป็นคูน้ำ ๒-๓ ชั้น พอหมู่บ้านชุมแพขยายไปยังทิศเหนือมากขึ้น บ้านเรือนก็หนาแน่นขึ้น ชาวบ้านทางคุ้มเหนือขาดน้ำใช้สอยจึงได้ไปตักน้ำที่คูโสกใช้อุปโภคบริโภค สมัยคุณราชาเป็นกำนันตำบลชุมแพได้เกณฑ์ชาวบ้านปิดกั้นเป็นคันคูน้ำน้ำกักเก็บไว้อุปโภคบริโภค สมัยแต่ก่อนรอบบริเวณคูโสกมีลักษณะเป็นป่าทึบไม่มีบ้านคนเหมือนทุกวันนี้ และ หนองคูโสกมีลักษณะกว้างกว่านี้


จะเห็นได้ว่าสายน้ำส่วนใหญ่ในพื้นที่ เช่น ห้วยใหญ่ ห้วยกุดเข้ ฯลฯ เป็นสายน้ำที่ได้ขุดลอกคลองใหม่ทั้งสิ้น มีเพียงห้วยกุดชุมแพและห้วยอิเบ้าเท่านั้นที่มีสภาพเป็นลำห้วยมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เนื่องจากผู้คนในอดีตมักตั้งที่อยู่อาศัยใกล้บริเวณแหล่งน้ำ และนี่คงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ปู่ตาบรรพบุรุษได้ตัดสินใจมาตั้งบ้านตั้งถิ่นฐานบริเวณติดกับลำห้วยกุดชุมแพ เนื่องจากพื้นที่โดยรอบเหมาะสำหรับการตั้งบ้านตั้งถิ่นฐาน เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มีน้ำใช้สอยอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี ภูมิประเทศเป็นดอนลูกคลื่นลอนลาดและพื้นที่ราบ ทางฝั่งทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ต่ำเหมาะสำหรับทำเกษตรกรรม ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือใกล้กับภูเวียง