จุลพันธ์ โนนศรีชัย

จุลพันธ์ โนนศรีชัย เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา

จุลพันธ์ โนนศรีชัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (70 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา

ประวัติ แก้

จุลพันธ์ โนนศรีชัย เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 อาศัยอยู่ที่ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่[1] เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน) จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จุลพันธ์ ประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์บิ๊กไบท์ทำให้สูญเสียขาซ้าย และใช้ขาเทียมในการเดินปกติ

การทำงาน แก้

จุลพันธ์ โนนศรีชัย เคยทำงานในองค์การคลังสินค้า ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า และเขาทำธุรกิจเปิดร้านอาหาร รวมถึงการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์[2] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 52 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก เป็นลำดับสุดท้ายที่ได้รับเลือกตั้งจากจำนวน 50 ที่นั่งของพรรคอนาคตใหม่ ต่อมาเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค เขาจึงย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[3]

จุลพันธ์ ถูกกล่าวถึงทางสื่อมวลชนเมื่อมีภาพการสวมกางเกงขาขั้นเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร และต่อมาเขาเปิดเผยว่าได้ขออนุญาตประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เนื่องจากตนเป็นผู้พิการต้องใส่ขาเทียม และไม่สะดวก[4][5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติ จุลพันธ์ โนนศรีชัย
  2. จากชีวิตโลดโผนสู่เส้นทางการเมืองรัฐสภาของจุลพันธ์ โนนศรีชัย
  3. อดีต อนค.“จุลพันธ์ โนนศรีชัย” สังกัด ชทพ.เรียบร้อย หลังชำระค่าสมาชิก
  4. ส.ส. อนาคตใหม่ แจง "จุลพันธ์" สวมขาสั้นร่วมประชุมสภา
  5. ส.ส.สวมขาสั้นประชุมสภา แจง "ชวน" อนุญาตแล้ว
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔