จุลจิตรกรรมภาพเหมือน

จุลจิตรกรรมภาพเหมือน (อังกฤษ: Portrait miniature) คือภาพเหมือนขนาดจิ๋วที่มักจะเขียนด้วยสีน้ำทึบหรือสีน้ำหรือเป็นกระเบื้องเคลือบ

“จุลจิตรกรรมภาพเหมือน” ของ เจน สมอลโดย ฮันส์ โฮลไบน์ ราว ค.ศ. 1540

จุลจิตรกรรมภาพเหมือนที่เริ่มมารุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุโรปและต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ต่อมา เป็นศิลปะอันมีค่าสำหรับการแนะนำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลกันได้ทำความรู้จักหรือเห็นหน้าเห็นตากัน ขุนนางที่เสนอการสมรสของบุตรีอาจจะส่งภาพเหมือนของบุตรีไปกับผู้เดินสาส์นไปให้ผู้หมายปองต่างๆ หรือ ทหารหรือกะลาสีก็อาจจะพกภาพเหมือนของบุคคลผู้เป็นที่รักติดตัวไปในระหว่างการเดินทาง หรือภรรยาอาจจะมีภาพเหมือนของสามีขณะที่สามีเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกล

จุลจิตรกรรมภาพเหมือนในสมัยแรกเป็นภาพที่เขียนด้วยสีน้ำบนหนังลูกสัตว์ (vellum) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 การเขียนด้วยกระเบื้องเคลือบที่เหมือนแก้วบนทองแดงก็กลายมาเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จุลจิตรกรรมภาพเหมือนจะเขียนด้วยสีน้ำบนงาช้าง ความที่มีขนาดเล็กราว 40 × 30 มิลลิเมตรทำให้จุลจิตรกรรมภาพเหมือนใช้เป็นของที่ระลึกส่วนตัว หรือ เป็นเครื่องประดับ หรือใช้ในการประดับฝาปิดตลับตกแต่ง

การวิวัฒนาการตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของดาแกโรไทป์และภาพถ่ายทำให้ความนิยมในการมีจุลจิตรกรรมภาพเหมือนลดน้อยลง

อังกฤษ แก้

คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แก้

 
ภาพเหมือนตนเองของฌอง โฟเคท์ (ค.ศ. 1450) ภาพเหมือนในยุคแรกของจุลจิตรกรรมภาพเหมือนอาจจะเป็นสมัยแรกของการเขียนภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการด้วยก็เป็นได้[1]
 
จุลจิตรกรรมภาพเหมือนของชายไม่ทราบนามโดยนิโคลัส ฮิลเลียร์ด, ค.ศ. 1572

จุลจิตรกรรมภาพเหมือนเริ่มขึ้นจากการเขียนจิตรกรรมหนังสือวิจิตร จุลจิตรกรรมภาพเหมือนที่มีชื่อเสียงในสมัยแรกๆ เขียนโดยจิตรกรผู้มีชื่อเสียงในการเขียนภาพสำหรับหนังสือวิจิตรเช่นฌอง โฟเคท์ หรือ ซิมง เบนิงผู้ที่มีบุตรีเลอวินา เทียร์ลิงค์ที่เขียนงานส่วนใหญ่ในรูปแบบของจุลจิตรกรรมภาพเหมือน ผู้ย้ายไปทำงานในเป็นจิตรกรประจำราชสำนักอังกฤษต่อจากฮันส์ โฮลไบน์ ฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของการเขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือน ที่ส่วนใหญ่ทำกันในราชสำนัก

จิตรกรคนสำคัญของอังกฤษที่เขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือนก็ได้แก่นิโคลัส ฮิลเลียร์ด (ราว ค.ศ. 1537–ค.ศ. 1619) ที่มีลักษณะการเขียนแบบโบราณแต่มีความคำนึงถึงบุคลิกของผู้เป็นแบบ สีที่ใช้เป็นสีทึบแสง (opaque) และใช้สีทองในการเน้น และจะเป็นภาพที่ลงชื่อและมีคำขวัญเป็นภาษาลาตินบนภาพด้วย ฮิลเลียร์ดทำงานอยู่ระยะหนึ่งในฝรั่งเศสและอาจจะเป็นจิตรกรคนเดียวกับ นิโคลาส์ เบลเลียร์ต (Nicholas Belliart) ลอร์เรนซ์ ฮิลเลียร์ดดำเนินการเขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือนตามรอยบิดา เทคนิคการเขียนก็คล้ายคลึงกันกับที่บิดาใช้ แต่แรงกล้ากว่าและใช้สีที่มีอรรถรสมากกว่า

ต่อจากลอร์เรนซ์ ฮิลเลียร์ดก็เป็นไอแซ็ค ออลิเวอร์ และบุตรชาย ปีเตอร์ ออลิเวอร์ ไอแซ็ค ออลิเวอร์ เป็นลูกศิษย์ของฮิลเลียร์ด จิตรกรสองคนหลังนี้เพิ่มความอวบอิ่มบนใบหน้าให้แก่ผู้เป็นแบบ การลงชื่อจิตรกรใช้อักษรย่อ และไม่แต่จะเขียนภาพขนาดเล็กแต่ยังเขียนภาพที่ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกที่อาจจะมีขนาดถึง 250 × 230 มิลิเมตร นอกจากจะเขียนภาพเหมือนแล้วก็ยังสร้างงานก็อปปีที่ย่อส่วนจากงานของจิตรกรชั้นครูด้วย

จิตรกรผู้อื่นที่เขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือนในช่วงเดียวกันก็ได้แก่บาลทาซาร์ แฌร์บิเยร์, จอร์จ เจมสัน, เพเนโลพี เคลน และพี่น้อง ต่อมาก็มีจอห์น ฮอสคินส์ ที่ตามด้วยบุตรชายชื่อเดียวกัน

ซามูเอล คูเปอร์ (ค.ศ. 1609–ค.ศ. 1672) ผู้เป็นหลานและลูกศิษย์ของฮอสคินส์ผู้เป็นบิดาถือกันว่าเป็นจิตรกรผู้เขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือนที่มีชื่อเสียงที่สุดของอังกฤษ คูเปอร์ทำงานส่วนใหญ่ในปารีส และ ฮอลแลนด์ งานเขียนของคูเปอร์เป็นงานฝีมือดีที่มักจะเรียกกันว่าเป็นงานเขียนจากตัวจริงที่ย่อส่วน งานเขียนภาพเหมือนของเพียวริตันเป็นงานที่ดีเด่นที่เจาะลึกถึงสัจจะแห่งชีวิตและความสามารถในการเขียน คูเปอร์เขียนบนบัตร, หนังไก่ และ หนังลูกสัตว์ และครั้งสองครั้งบนกระดูกแกะ การใช้งาช้างมิได้ทำกันจนกระทั่งหลังจากสมัยของคูเปอร์ คูเปอร์มักจะลงชื่อเป็นอักษรย่อและมักจะบ่งปีที่เขียนไว้ด้วย

จิตรกรผู้อื่นในช่วงนี้ก็ได้แก่อเล็กซานเดอร์ คูเปอร์ (เสียชีวิต ค.ศ. 1660) ผู้เขียนภาพหลายภาพของพระราชโอรสและธิดาในพระมหากษัตริย์และพระราชินีแห่งโบฮีเมีย, เดวิด เดอ เกรนจ์ส (ค.ศ. 1611–ค.ศ. 1675); ริชาร์ด กิบสัน (ค.ศ. 1615–ค.ศ. 1690); ซูซานนา-เพนเนโลพี รอส และ ชาร์ลส์ บีล และ แมรี บีล หลังจากนั้นก็เป็นจิตรกรเช่นลอเรนซ์ ครอส (เสียชีวิต ค.ศ. 1724), แจร์วาส สเปนเซอร์ (เสียชีวิต ค.ศ. 1763), แบร์นาร์ด เลนส์ที่ 3, นาแธเนียล โฮลผู้อาวุโส และ เจอเรอไมห์ ไมเยอร์ สองท่านหลังมีความสำคัญต่อการก่อตั้งราชสถาบันศิลปะ

ส่วนผู้ทำงานกับตะกั่วดำ (plumbago) ก็ไม่ควรจะละเลย โดยเฉพาะเดวิด ลอกกาน, วิลเลียม เฟธอร์น, ทอมัส ฟอร์สเตอร์ และ จอห์น เฟเบอร์ ซีเนียร์

คริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แก้

 
จุลจิตรกรรมภาพเหมือนของสตรี โดยจอห์น สมาร์ท, สีน้ำบนงาช้าง, ค.ศ. 1782

ใน คริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็มีจิตรกรเขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือนด้วยกันหลายคนที่รวมทั้งริชาร์ด คอสเวย์ (ค.ศ. 1742–ค.ศ. 1821) ที่ถือกันว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญที่สุด งานที่ดีที่สุดทำราวค.ศ. 1799 งานที่ทำก็มักจะเขียนบนงาช้าง แต่บางครั้งก็ใช้กระดาษหรือหนังสัตว์ และเขียนภาพเต็มตัวหลายภาพเป็นภาพวาดลายเส้นด้วยดินสอบนกระดาษ ที่ใบหน้าและมือจะเป็นสีอ่อนลงเล็กน้อย ที่คอสเวย์เองเรียกว่า “stayned drawings” งานส่วนใหญ่ลงชื่อด้านหลังของภาพ และมีเพียงไม่กี่ภาพเท่านั้นที่มีอักษรย่อหน้าภาพ

จอร์จ เอเกิลฮาร์ท (ค.ศ. 1750–ค.ศ. 1829) เขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือนด้วยกันทั้งสินราว 4,900 ภาพที่เป็นภาพที่แรงและน่าประทับใจมากกว่างานของคอสเวย์ และมักจะลงชื่อว่า “E” หรือ “G.E. ” แอนดรูว์ พลิเมอร์ (ค.ศ. 1763–ค.ศ. 1837) เป็นลูกศิษย์ของคอสเวย์ ทั้งแอนดรูว์และน้องชายนาแธเนียล พลิเมอร์เขียนงานที่งดงามไว้หลายภาพ ความเรืองรองของสายตา, ลักษณะผม, การใช้สีอันเรืองรอง รวมกับการใช้ค่าต่างสีและการวาดที่ไม่เที่ยงตรงเป็นลักษณะงานเขียนของแอนดรูว์ พลิเมอร์ จอห์น สมาร์ท (ราว ค.ศ. 1740–ค.ศ. 1811) ก็เป็นอีกผู้หนี่งที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่เป็นงานละเอียดและมีพลัง มีผิวภาพนุ่มและการตกแต่งอย่างงดงาม แลแชอบใช้สีน้ำตาลเป็นฉากหลัง จิตรกรที่สำคัญผู้อื่นก็ได้แก่ริชาร์ด ครอส (ค.ศ. 1742-ค.ศ. 1810), โอเซียส ฮัมฟรีย์ (1742–1810), ซามูเอล เชลลีย์ (ราว ค.ศ. 1750–ค.ศ. 1808) ที่งานชิ้นดีๆ เป็นงานเขียนภาพหมู่ของคนสองหรือสามคน, วิลเลียม วูด (ค.ศ. 1768–ค.ศ. 1808), เฮนรี เอดริดจ์ (ค.ศ. 1769–ค.ศ. 1821), จอห์น โบเกิล และ เอ็ดเวิร์ด เดย์ การเขียนลักษณะนี้มีอิทธิพลเลยไปถึงอาณานิคมอเมริกันที่มีจิตรกรเช่นแมรี โรเบิร์ตส์ผู้เป็นจิตรกรสตรีคนแรงในสหรัฐอเมริกาที่เขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จอห์น ค็อกซ์ ดิลมัน เองเกิลฮาร์ท (ค.ศ. 1784-ค.ศ. 1862) หลานของจอร์จ; แอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน (ค.ศ. 1777–ค.ศ. 1845), จอร์จ โบมองท์ บารอนเนทที่ 7, วิลเลียม เบนส์, ทอมัส แฟรงค์ ฮีฟี และ แอนน์ มีก็เป็นผู้ที่ควรจะกล่าวถึง เซอร์ทอมัส ลอเรนซ์เขียนไว้สองสามภาพ และ เฮนรี เรเบิร์นเขียนในสมัยแรกของงานอาชีพ; แต่มาสิ้นสุดลงกับวิลเลียม รอสส์แต่หลังจากนั้นก็ยังมีงานของเอ็ดวิน เฮนรี แลนด์ซีเออร์, และภาพเขียนดอกไม้ขนาดเล็กโดยจอร์จ แลนซ์ และภาพหนึ่งโดยดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีการฟื้นฟูศิลปะการเขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือนขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงในสาขานี้ที่เป็นที่รู้จัก แอลิน วิลเลียมส์เป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรอังกฤษ, โยฮันน์ วอลเดอมาร์ ฟอน เรห์ลิง-ควิสต์การ์ดก็เป็นจิตรกรชาวเดนมาร์กที่มีชื่อเสียง และ เบสส์ นอร์ริสจิตรกรออสเตรียก็ควรจะได้รับการกล่าวถึง

คริสต์ศตวรรษที่ 20 แก้

แม้ว่าความนิยมของจุลจิตรกรรมภาพเหมือนจะลดลงในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่จิตรกรบางคนก็ยังคงรับงานเขียนอยู่ ที่ได้แก่เอดา เอดา เนเมิด คาสเตอร์ตันผู้ที่ได้รับเชิญให้ร่วมแสดงผลงานทีงานนิทรรศการที่ปารีส เนเมิด คาสเตอร์ตันใช้แผ่นงาแทนที่จะเป็นผ้าใบในการเขียนงานซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันในบรรดาจิตรกรที่เขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือน

ฝรั่งเศส แก้

ในบรรดาจิตรกรรุ่นแรกๆ ก็ได้แก่ฌอง คลูเอต์ (เสียชีวิตราว ค.ศ.1540), ลูกชาย ฟรองซัวส์ คลูเอต์, ฌอง โฟเคท์, ฌอง แปร์ริอาล และผู้อื่น แต่ในบรรดางานของจิตรกรเหล่านี้ก็แทบไม่มีภาพที่หลงเหลืออยู่ให้เห็นกันในปัจจุบัน งานเขียนภาพเหมือนเจ็ดภาพในงานเขียนต้นฉบับที่หอสมุดการสงครามแห่งฝรั่งเศสแห่งชาติกล่าวกันว่าอาจจะเป็นงานเขียของคลูเอต์คนใดคนหนึ่ง จิตรกรอื่นก็ได้แก่มาร์แชล เดอ บริสซัค หลังจากนั้นก็เป็นเรอนาร์ด เดอ แซงต์-อังเดร (ค.ศ. 1613–ค.ศ. 1677) และ ฌอง โคเตลล์; เอเตียง ปิคาร์ต และต่อมานิโคลาส์ เดอ ลาร์ฌิลลิเยร์, ฟรองซัวส์ บูแชร์, ฌอง-มาร์ค นัตติเยร์ และฌอง-แชร์แมง ดรูเอส์ แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ได้แก่ปีเตอร์ อดอล์ฟ ฮอลล์แห่งสวีเดน, ฟรองซัวส์ ดูมองต์แห่งฝรั่งเศส และฟรีดริช-ไฮน์ริค ฟืเกอร์แห่งออสเตรีย ภาพเขียนขนาดเล็กที่เขียนโดยตระกูลบลาเรนแบร์กก็ถือกันว่าอยู่ในกลุ่มจุลจิตรกรรมภาพเหมือน และต่อมาโดยศิลปินฝรั่งเศสเช่นปิแยร์-ปอล ปรูดง และ คอนสแตนซ์ ไมเยอร์

แต่จิตรกรชาวฝรั่งเศสที่เป็นที่นิยมก็ได้แก่ฌอง-แบ็พทิสต์ ฌาคส์ โอกุสแตง (ค.ศ. 1759–ค.ศ. 1832) and ฌอง-แบ็พทิสต์ อิซาเบย์ [ค.ศ. 1767–ค.ศ. 1855) ผู้เขียนภาพเหมือนของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และข้าราชสำนัก

สเปน แก้

 
“Bacchante” จุลจิตรกรรมบนงาช้างฌอง-แบ็พทิสต์ ฌาคส์ โอกุสแตง, ค.ศ. 1799

ฟรันซิสโก โกยาก็เขียนจุลจิตรกรรมภาพเหมือนสองสามภาพ

วัสดุ แก้

จุลจิตรกรรมภาพเหมือนจะเขียนด้วยสีน้ำมัน, สีน้ำ และ กระเบื้องเคลือบ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสีน้ำ จุลจิตรกรรมภาพเหมือนของดัตช์และเยอรมันจะเขียนด้วยสีน้ำมันและตามกฎแล้วจะเขียนบนทองแดง วัสดุเดียวกันนี้พบในภาพที่เขียนโดยจิตรกรอิตาลีโดยเฉพาะโดยตระกูลการเขียนโบโลนยา ซามูเอล คูเปอร์เองก็ดูเหมือนจะเขียนด้วยสีน้ำมันบนทองแดงอยู่สองสามภาพ


ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1650 เป็นต้นมางานจุลจิตรกรรมที่ฝีมือดีๆ จะเป็นภาพที่เป็นกระเบื้องเคลือบ (vitreous enamel) ฌอง เปติโตต์ (ค.ศ. 1607–ค.ศ. 1691) เป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงทางด้านนี้ที่ทำงานเขียนให้แก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ต่อมาบุตรชายก็สร้างงานในแนวเดียวกัน ศิลปินผู้อื่นที่ทำกระเบื้องเคลือบก็ได้แก่คริสเตียน ฟรีดริช ซิงเคอ (เสียชีวิต ค.ศ. 1767), ไฮน์ริค เฮอร์เทอร์ (ค.ศ. 1734–ค.ศ. 1799), เดวิด ลิโอต์, พอล พริเออร์ และโยฮันน์ เมลไควร์ ดิงลินเจอร์ ศิลปินกลุ่มนี้ถ้าไม่เป็นชาวฝรั่งเศสก็เป็นชาวสวิส แต่หลายคนก็ได้เดินทางไปอังกฤษไปทำงานที่นั่นอยู่ระยะหนึ่ง ส่วนศิลปินผู้ที่ทำกระเบื้องเคลือบของอังกฤษคนสำคัญก็ได้แก่เฮนรี โบน (ค.ศ. 1755–ค.ศ. 1839) ที่มีงานเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมของBuckingham Palace

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 การเขียนด้วยสีน้ำบนงาช้างก็กลายเป็นมาตรฐานการเขียนจิตรกรรมประเภทนี้ การใช้งาช้างเริ่มทำกันเป็นครั้งแรกราว ค.ศ. 1700 ราวปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ จุลจิตรกรรมก่อนหน้านั้นเขียนบนหนังหรือกระดาษหรือไพ่

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. As distinct from self-portraits "inserted" into religious or other scenes. Jan van Eyck painted a self-portrait (National Gallery, London that is widely believed to be a self-portrait and is dated 1433.
  • Foskett, Daphne (1987). Miniatures: Dictionary and Guide. London: Antique Collectors' Club. ISBN 1851490639.
  • Coombs, Katherine (1998). The Portrait Miniature in England. London: Victoria and Albert Museum. ISBN 1851772073.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จุลจิตรกรรมภาพเหมือน