จินเจอร์เอล (อังกฤษ: ginger ale) เป็นเครื่องดื่มอัดลมรสขิง ใช้ดื่มโดยตรงหรือใช้ผสมร่วมกับเครื่องดื่มซึ่งส่วนมากมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบหลัก จินเจอร์เอลมีสองประเภทหลักคือ แบบดั้งเดิมมีสีเข้ม (ทอง) ซึ่งคิดค้นโดยโทมัส โจเซฟ แคนเทรล แพทย์ชาวไอริช และแบบดราย (เรียกอีกอย่างว่าแบบ เพล) ที่มีสีซีดกว่าและมีรสขิงอ่อนกว่ามาก คิดค้นโดยจอห์น แมคลาฟกลิน ชาวแคนาดา

จินเจอร์เอล
จินเจอร์เอลแบบดั้งเดิม
ประเภทเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์
ภูมิภาคต้นกำเนิดไอร์แลนด์เหนือ และแคนาดา
เปิดตัว1851 (ดั้งเดิม) and 1904 (ดราย)
สีทอง
รสชาติขิง

ประวัติ แก้

โทมัส โจเซฟ แคนเทรล (Thomas Joseph Cantrell) เภสัชกรและศัลยแพทย์ชาวไอริชได้ผลิตจินเจอร์เอลแห่งแรกในเมืองเบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์ในช่วงทศวรรษที่ 1850 เป็นจินเจอร์เอลแบบดั้งเดิมที่มีสีเหลืองเข้มหรือสีทองจากการหมักขิง โดยทั่วไปมักมีรสออกหวานและกลิ่นขิงที่เข้มข้น ซึ่งแคนเทรลทำการตลาดและจำหน่ายผ่านแกรททันแอนด์คัมพะนี[1] ผู้ผลิตเครื่องดื่มในท้องถิ่น โดยสลักสโลแกน "ผู้ผลิตดั้งเดิมของจินเจอร์เอล" ("The Original Makers of Ginger Ale") ไว้บนขวด[2]

จินเจอร์เอลแบบดรายคิดค้นโดยจอห์น แมคลาฟลิน (John J. McLaughlin) นักเคมีและเภสัชกรชาวแคนาดา[3] หลังจากก่อตั้งโรงงานผลิตน้ำโซดาบรรจุขวดในปี 1890 แมคลาฟลินเริ่มพัฒนาสารหอมสกัดเพื่อเติมลงในน้ำในปี 1904 ในปีนั้นเขาจัดจำหน่ายเครื่องดื่มชนิดใหม่ "เพลดรายจินเจอร์เอล" (Pale Dry Ginger Ale) เครื่องดื่มอัดลมที่จดสิทธิบัตรต่อมาในปี 1907 ในชื่อ "แคนาดาดรายจินเจอร์เอล" (Canada Dry Ginger Ale) จากความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ของแคนาดาดรายได้รับการยอมรับจากการตั้งให้เป็นเครื่องดื่มประจำเรือนรับรองของผู้สำเร็จราชการแคนาดา จินเจอร์เอลแบบดรายยังได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาในช่วงยุคห้ามการจำหน่ายสุรา โดยใช้เป็นส่วนผสมแทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[ต้องการอ้างอิง]

ชนิดและการผลิต แก้

แบบหมัก แก้

จินเจอร์เอลแบบหมักหรือแบบดั้งเดิม (หมักลอยผิว) หมักจากการเพาะจุลินทรีย์ต้นเชื้อ ซึ่งได้แก่ ยีสต์ (หัวเชื้อ หรือเรียก ลูกแป้ง) หรือจินเจอร์บั๊ก (ขิงที่หมักก่อนหน้า) เข้ากับเหง้าขิงสด และเติมน้ำ น้ำตาล โดยอาจแต่งรสชาติอื่น ๆ

จินเจอร์บั๊กคือ ส่วนผสมของขิงสับและน้ำตาลที่ใช้ในการขยายพันธุ์ยีสต์และแบคทีเรียที่พบในผิวของขิง อาจใช้แทนยีสต์เชิงพาณิชย์ได้[4] น้ำตาลไม่ได้เติมเพียงเพื่อความหวาน แต่เติมเพื่อให้เกิดการหมักอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากปริมาณน้ำตาลธรรมชาติของขิงที่ต่ำ (มีน้ำตาล 1.7 กรัม ต่อขิง 100 กรัม) ไม่เพียงพอต่อการหมัก[5] เช่นเดียวกับเครื่องดื่มหมักอื่น ๆ น้ำตาลที่หมักด้วยยีสต์จะถูกเปลี่ยนให้เป็นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์[6] ทั้งสองอย่างนี้จะถูกกักเก็บไว้ระหว่างการหมักภายในภาชนะที่ปิดสนิท

แบบเติมคาร์บอนไดออกไซด์ แก้

นอกจากการหมักแล้ว โดยทั่วไปผู้ผลิตจินเจอร์เอลส่วนใหญ่มักเติมคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปเช่น เติมน้ำโซดา แล้วนำไปแช่เย็นเพื่อให้คาร์บอนไดออกไซด์ดูดซึมเข้าไปในเอลมากขึ้น[7] จากนั้นอาจเติมสารสประกอบที่เป็นด่าง (อัลคาไลน์) ได้แก่ โซเดียมไบคาร์บอเนต เพื่อปรับพีเอช (ลดความเป้นกรด) สุดท้ายอัดคาร์บอนไดออกไซด์อีกครั้งในปริมาณที่เกินกว่าต้องการเล็กน้อย เพื่อเผื่อในการะเหยออกขณะบรรจุลงถังเก็บและเมื่อผ่านเครื่องบรรจุขวด[7]

 
พ.ศ. 2459 โฆษณาโทรอนโตสตาร์สำหรับเบียร์ขิงแห้งของแคนาดา 1916 Toronto Star ad for Canada Dry ginger ale

จินเจอร์เอลที่ขายโดยทั่วไปมักผสมด้วยน้ำอัดลม น้ำตาลหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรักโทสสูง และรสขิงเทียมหรือขิงธรรมชาติ ส่วนผสมของขิงหรือรสขิงที่เติมลงไปมักได้รับการระบุบนฉลากว่า "กลิ่นธรรมชาติ" หรือ "แต่งกลิ่นธรรมชาติ" เพื่อรักษาความลับของส่วนผสมซึ่งมักเป็นส่วนผสมที่ซับซ้อนของเครื่องเทศ ผลไม้ และรสชาติอื่น ๆ[ต้องการอ้างอิง]

การใช้ประโยชน์ แก้

เป็นเครื่องดื่ม แก้

จินเจอร์เอลได้รับความนิยมในเป็นดื่มเป็นน้ำอัดลม และการใช้ผสมเป็นมิกเซอร์ในค็อกเทลและพั้นช์ บางครั้งใช้เป็นเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์แทนการดื่มแชมเปญหรือเบียร์สำหรับผู้ไม่ดื่มเหล้าหรือใช้ประกอบการแสดงเนื่องมีสีและฟองที่คล้าย ๆ กัน

เป็นเครื่องบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แก้

ในประเทศทางตะวันตก มักใช้จินเจอร์เอลเป็นยาประจำบ้านสําหรับบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย[8] และอาการเมารถ[9] เฉกเช่นผลิตภัณฑ์จากขิงอื่น ๆ รวมทั้งเครื่องดื่มอัดลมอื่นที่ไม่ได้ปรุงแต่งด้วยขิง นอกจากนี้ยังใช้จินเจอร์เอลเพื่อบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ[10]

จินเจอร์เอลและจินเจอร์เบียร์ แก้

จินเจอร์เอลและจินเจอร์เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่คล้ายกัน แต่ต่างกันอย่างชัดเจนในขั้นตอนการผลิต จินเจอร์เบียร์ได้รับการผลิตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในประเทศอังกฤษ ประมาณ 50 ปีก่อนหน้าการผลิตจินเจอร์เอลที่เริ่มในประเทศไอร์แลนด์

จินเจอร์เอลนั้นโปร่งใส ในขณะที่จินเจอร์เบียร์ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเข้มข้นกว่านั้นมักค่อนข้างขุ่นทึบจากสิ่งตกค้างจากการต้มเบียร์ จินเจอร์เบียร์แบบดั้งเดิมมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบร้อยละ 11 และจินเจอร์เบียร์ในปัจจุบันมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.5 ในขณะที่จินเจอร์เอลในปัจจุบันไม่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่เลย[11]

จินเจอร์เบียร์ทำจากขิง น้ำมะนาว และน้ำตาล แล้วหมักด้วยเชื้อหมัก โดยมากคือแลกโตบาซิลลัส ซึ่งผลของการหมักที่ได้มักเป็นของเหลวที่ขุ่น ทึบ รสที่กระด้างกว่าและเผ็ดกว่า เทียบกับจินเจอร์เอลซึ่งมีรสบางเบาออกหวาน[12]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "THE SPARKLING HISTORY OF CANTRELL & COCHRANE". Let's Look Again. November 2016. สืบค้นเมื่อ October 19, 2018.
  2. "Federation of Historical Bottle Collectors" (PDF). FOHBC. สืบค้นเมื่อ 2013-10-03.
  3. "Canadian food firsts". Canadian Geographic. มกราคม–กุมภาพันธ์ 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 24, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 31, 2012.
  4. Graham, Colleen. "Make a Ginger Bug for Healthy Homemade Sodas". The Spruce Eats. Dotdash. สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.
  5. "Food Composition Databases Show Foods -- Ginger root, raw". ndb.nal.usda.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
  6. "How to Make Alcoholic Ginger Ale". Homebrewing Learn Center (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-06-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-09. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
  7. 7.0 7.1 "How soft drink is made - production process, making, history, used, product, industry, machine". www.madehow.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
  8. Geographic, National (2014). National Geographic Complete Guide to Natural Home Remedies: 1,025 Easy Ways to Live Longer, Feel Better, and Enrich Your Life (ภาษาอังกฤษ). National Geographic Books. p. 28. ISBN 9781426212604.
  9. Naranjo, Ralph (2014-09-12). The Art of Seamanship: Evolving Skills, Exploring Oceans, and Handling Wind, Waves, and Weather (ภาษาอังกฤษ). McGraw Hill Professional. pp. 66–67. ISBN 9780071791588.
  10. "Ginger for Sore Throat: Benefits, Uses, and Recipe". Healthline (ภาษาอังกฤษ). August 10, 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-08-18.
  11. "What's the Difference Between Ginger Beer and Ginger Ale?". Town & Country (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-02-13. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
  12. "Ginger Beer vs Ginger Ale: Which One Should You Use?". Advanced Mixology. สืบค้นเมื่อ 2019-08-18.