จันทรุปราคาเต็มดวง มิถุนายน พ.ศ. 2554

จันทรุปราคาเต็มดวง
16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปรากฏการณ์อุปราคาเมื่อมองจาก แทนซาเนีย

ภาพแสดงลำดับปรากฏการณ์โดยดวงจันทร์ค่อยๆโคจรเข้าไปในเงาของโลก
แกมม่า 0.0897
ระยะเวลา (ชั่วโมง:นาที:วินาที)
คราสเต็มดวง 01:40:52
บางส่วน 3:39:58
เงามัว 5:39:10
สัมผัส (UTC) (15 มิถุนายน 2554)
P1 17:23:05
U1 18:22:37
U2 19:22:11
ลึกที่สุด 20:12:37
U3 21:03:22
U4 22:02:35
P4 23:02:15

การเดินทางของดวงจันทร์ขณะเดินทางอยู่ใน กลุ่มดาวคนแบกงู (ทางเหนือของ กลุ่มดาวแมงป่อง)

จันทรุปราคาเต็มดวง มิถุนายน พ.ศ. 2554 เกิดระหว่างเวลา 01.22.37 น. ถึง 04.03.22 น. ของวันที่ 16 มิถุนายน ตามเวลาในประเทศไทย สามารถสังเกตได้ในทวีปเอเชีย, ทวีปออสเตรเลีย, ทวีปยุโรป, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้

การเกิด แก้

เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 โดยครั้งต่อไปจะเกิดในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ขณะเกิดจันทรุปราคา แก้

ในช่วงที่เกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะโคจรอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ระหว่างกลางกลุ่มดาวแมงป่องกับกลุ่มดาวคนยิงธนู และถ้าหากอยู่ในที่มืดและไม่มีแสงไฟรบกวน อาจเห็นทางช้างเผือกหลังดวงจันทร์ขณะเกิดจัทรุปราคาเต็มดวงได้

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง แก้

  • สุริยุปราคาบางส่วน 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ไม่สามารถเห็นได้ในประเทศไทย

การสังเกต แก้

จันทรุปราคาบางส่วนเริ่มขึ้นเวลา 01:23 น. เป็นจังหวะที่เริ่มเห็นขอบดวงจันทร์แหว่ง ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าทิศใต้ เยื้องไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดาวเสาร์ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวใกล้จะตกลับขอบฟ้าหรือตกลับขอบฟ้าไปแล้วสำหรับบางพื้นที่ เมื่อเวลาผ่านไป ดวงจันทร์จะเข้าไปในเงามืดลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ เวลาเกือบตี 2 จะเห็นดวงจันทร์ถูกบังครึ่งดวง จากนั้นเริ่มบังหมดทั้งดวงในเวลา 02:22 น.

เวลา 03:13 น. ดวงจันทร์เข้าใกล้ศูนย์กลางเงาโลกมากที่สุด จากนั้นเวลา 04:03 น. เป็นเวลาที่จันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดลง รวมเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงยาวนานถึง 1 ชั่วโมง 40 นาที ขณะสิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

การสังเกตในประเทศไทย แก้

เนื่องจากในช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ตรงกับฤดูฝนของประเทศไทยพอดีทำให้ตลอดปรากฏการณ์มีเมฆปกคลุมอยู่บนท้องฟ้าจะมีเพียงบางพื้นที่เท่านั้นที่สังเกตเห็นได้

อ้างอิง แก้