จันทนา โอบายวาทย์

จันทนา โอบายวาทย์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา(23 สิงหาคม 2473 - 26 ธันวาคม 2566) เป็นนักร้องหญิงเพลงไทย-สากล ยุคบุกเบิกของวงกรมโฆษณาการ หรือ วงดนตรีสุนทราภรณ์ เจ้าของน้ำเสียงสดใสกังวาล

จันทนา โอบายวาทย์
จันทนา โอบายวาทย์
จันทนา โอบายวาทย์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด23 สิงหาคม พ.ศ. 2473
บ้านสามเสน ข้างวังศุโขทัย
เสียชีวิต26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (93 ปี)
คู่สมรสพลตำรวจตรีทักษ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา (2495 - 2542) (47 ปี)
บุตร2 คน
อาชีพนักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2491 - 2566 (75 ปี)
ผลงานเด่นโคมสวรรค์, คู่เสน่หา, กลิ่นดอกไม้, คลื่นกระทบฝั่ง, เกาะในฝัน, ลอยลำสำราญ, สงครามเพศ
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง

ประวัติ แก้

จันทนา ปัทมสิงห์ หรือ จันทนา โอบายวาทย์ ชื่อเล่น จัน เกิดเมื่อ วันศุกร์ ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2473 ที่บ้านสามเสน ข้างวังศุโขทัย เป็นบุตรของ นาวาอากาศตรีเทียม โอบายวาทย์ (บิดา) และ นางสายไหม (สังเกตการณ์) โอบายวาทย์ (มารดา) บิดาเป็นผู้ควบคุมวงดนตรีกองทัพเรือ มีพี่น้อง 8 คน ทั้งกับมารดาเดียวกันและต่างมารดา คือ

  1. ทับทิม โอบายวาทย์
  2. ร้อยโท ดร.วาสนา เจริญลาภ โอบายวาทย์
  3. อัจฉราพรรณ ศรีเพ็ชรพันธุ์
  4. จันทนา ปัทมสิงห์ , โอบายวาทย์
  5. ประทุม แก้วสุวรรณ
  6. นาวาอากาศเอก(พิเศษ)สมโภชน์ โอบายวาทย์
  7. สุวคนธ์ ธรรมสโรช
  8. ศุภกิจ โอบายวาทย์

การศึกษา แก้

จบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีวัดระฆัง และโรงเรียนนาฏศิลป์ แผนกนาฏดุริยางค์ กรมศิลปากร

ในช่วงที่เรียนอยู่โรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ทำให้ฝึกฝนทักษะการขับร้อง และการรำ ขณะเดียวกันก็ได้มีโอกาศร้องเพลงออกอากาศทางวิทยุศาลาแดงอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้จันทนายังเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับ จุรี โอศิริ และนภา หวังในธรรม

เส้นทางนักร้อง แก้

ทั้งพ่อและลุงของจันทนาต่างเป็นนักดนตรี โดยพ่อเป็นผู้ควบคุมวงดรตรีของกองทัพเรือ ส่วนลุงอยู่ประจำวงดนตรีของกรมตำรวจ ครั้งยังเด็กจึงทำให้ได้มีโอกาสติดตามไปดูการบรรเลงกับคุณพ่อ ทำได้รับการปลูกฝังและเกิดความรักในเสียงเพลง แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางด้านนี้ เพราะติดในเรื่องของการเรียนหนังสือ

เมื่อโตขึ้นประกอบกับเป็นช่วงที่จบการศึกษาจากโรงเรียนศิลปากร ก็ไปศึกษาต่อทางด้านภาษาที่ สถานสอนภาษาAUA เรียนอยู่ได้ปีกว่า ในตอนนั้นทางกรมโฆษณาการขาดนักร้องผู้หญิง เนื่องจากสุปาณี พุกสมบุญ ได้ลาออกจากกรมโฆษณาการ ทางครูเอื้อ สุนทรสนาน จึงให้ พนิดา สุนทรสนาน (หลานครูเอื้อ) มาตามจันทนา ไปร่วมวงด้วย เพราะครูเอื้อทราบดีว่าช่วงที่จันทนาเรียนที่โรงเรียนศิลปากร มีการฝึกขับร้องเพลงอยู่ประจำ จึงไม่ต้องฝึกสามารถขับร้องกับวงได้เลย และทางคุณพ่อเองก็อนุญาต ตัวของจันทนาเองยังมีฐานะเป็นญาติคนหนึ่งของ ครูเอื้อ อีกด้วย

ปีพ.ศ. 2491 จันทนาได้เข้าเป็นนักร้องวงกรมโฆษณาการไล่เลี่ยกับ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี และ จุรี โอศิริ ระหว่างที่ร้องเพลงอยู่ในวงกรมโฆษณาการ จะสนิทกับนักร้องรุ่นพี่อย่าง มัณฑนา โมรากุล เพราะเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่คอยสอนให้คำชี้แนะต่าง ๆ ซึ่งนับถือเป็นเหมือนพี่สาวแท้ ๆ และมักจะไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ส่วนอีกท่านที่จันทนารักและเคารพเปรียบเสมือนพ่ออีกคน ก็คือ ครูสริ ยงยุทธ เวลามีเพลงใหม่ ๆ มาให้ร้องก็จะต้องมาฝึกร้องต่อเพลงกับครูสริ[1]

ชีวิตส่วนตัว แก้

จันทนา สมรสกับ ทักษ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2495 มีบุตรธิดา 2 คน คือ พรรณราย ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา และ ดนัย ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา มีหลานย่า 3 คน คือ วทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา พิชญา และ นัยน์ชนก ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา

เมื่อสมรสไปแล้วก็ได้ลาออกจากงานร้องเพลงโดยเด็ดขาด และรับเชิญมาร้องเพลงเฉพาะในโอกาสสำคัญๆ เช่น ในวาระครบรอบวันเกิดของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ตั้งแต่ 20, 25, 30, 45, 50 และ 60 ปี เป็นต้น หลังจากที่สามีเสียชีวิตจันทนาก็พำนักอยู่ ณ บ้านถนนสุขุมวิท ซอย 39 และได้รับเชิญไปร้องเพลงบ้างในบางโอกาส[2]

จันทนา ถึงแก่กรรมอย่างสงบที่บ้านพัก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 สิริอายุ 93 ปี

ผลงานเพลง แก้

แม้จันทนา จะเข้ามาอยู่กับวงสุนทราภรณ์ระยะเวลาไม่นานมากนัก แต่ก็มีผลงานบันทึกเสียงทั้งเพลงเดี่ยว เพลงคู่ เพลงหมู่ เพลงปลุกใจ และเพลงรำวง ไว้จำนวนมาก อาทิ

  • กลิ่นดอกไม้
  • เกาะในฝัน
  • เกาะสวรรค์
  • คลั่งแซมบ้า
  • คลื่นกระทบฝั่ง
  • คู่เสน่หา (ร้องคู่ ครูเอื้อ สุนทรสนาน)
  • โคมสวรรค์
  • ใจหนอใจ
  • ฉันอยากจะลอง
  • ฉันไม่ลอง (ร้องคู่ ชวลี)
  • ดาวเด่นฟ้า
  • เธอกับฉัน
  • ผู้ชายนี่ร้ายนัก (ร้องคู่ ชวลี)
  • มาลีมีขาย
  • มารักกันเถอะ (ร้องนำหมู่กับ ชวลี)
  • รักมันจั๊กกะจี้
  • รักไม่ลง
  • ไร่นามาลีสตรี
  • ลาขอลา (คู่สุปาณี ชวลี เพ็ญศรี) ร้องสด
  • ลอยลำสำราญ (ร้องประสานครูเอื้อ,มัณฑนา)
  • สงครามเพศ (ร้องคู่มัณฑนา โมรากุล)
  • สุดเหวี่ยง
  • เส่เหลเมา
  • หาดแสนสุข (ต้นฉบับสุปาณี) ขับร้องสด
  • หนูเล็ก
  • เหมันต์สวิง
  • อกฉัน
  • อำนาจตาเธอ
  • รำวงเลือกคู่ (นำหมู่คู่กับ วินัย)
  • รำวงอรทัย (นำหมู่คู่กับ วินัย, ครูเอื้อ)
  • รำวงปิดทองพระ (นำหมู่คู่กับ วินัย, ครูเอื้อ)
  • รำวงไทย (ร้องนำหมู่กับ วินัย, ครูเอื้อ)
  • รำวงพระปฐมเจดีย์ (ร้องนำหมู่กับ ครูเอื้อ)
  • รำวงชาวทะเล (ร้องนำหมู่กับ วินัย, ครูเอื้อ, ชวลี)
  • รำวงรำเถิดโหวย (ร้องนำหมู่กับวินัย)
  • รำวงตบแผละ (ร้องนำหมู่กับ วินัย, ครูเอื้อ)
  • รำวงหญิงไทยใจงามดวงจันทร์ขวัญฟ้า (นำหมู่กับ วินัย)
  • รำวงข้าวใหม่ปลามัน (นำหมู่กับวินัย,ครูเอื้อ,เพ็ญศรี)
  • รำวงลอยเรือ (นำหมู่กับวินัย,ครูเอื้อ,เพ็ญศรี)
  • รำวงยามเย็น (ร้องประสาน)
  • สวัสดีปีใหม่ (ร้องประสาน)
  • รำวงลอยกระทง (ร้องประสาน)
  • เริงสุข (ร้องประสาน)
  • เกาะสวาท (ลูกคู่)
  • วังน้ำวน (ลูกคู่)
  • ถ้ารักกันลั่นเปรี้ยง (ลูกคู่)

เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. 001-รายการบทเพลงแห่งความทรงจำ - สัมภาษณ์จันทนา โอบายาวาทย์ - 11-05-2557, สืบค้นเมื่อ 2021-06-04
  2. "จันทนา โอบายะวาทย์ อดีตดาวประดับวงดนตรี สุนทราภรณ์ จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". oknation.nationtv.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.