จักษุ (ศาสนาพุทธ)

จักษุ หรือ จักขุ ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายสองประการ คือ

  1. มังสจักขุ ได้แก่ นัยน์ตาเนื้อใช้มองดูสิ่งต่างๆได้ เช่น นัยน์ตาของสัตว์ทั้งหลาย
  2. ปัญญาจักขุ ได้แก่ ความสามารถในการรู้เรื่องต่างๆ ด้วยปัญญา คือ เป็นการรู้ได้ทางใจ ไม่ใช่รู้ได้ด้วยนัยน์ตา

ปัญญาจักขุ แก้

ในทางพระพุทธศาสนาแสดงไว้เป็นห้าชนิด คือ

  1. พุทธจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่หยั่งรู้ในอัธยาศัยของสัตว์โลกทั้งปวงได้ เรียกว่า อาสยานุสยญาณ
    และญาณปัญญาที่สามารถรู้ นามอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ว่ายิ่งหรือหย่อนเพียงใด ที่เรียกว่า อินทรียปโรปริยัตติญาณ
  2. สมันตจักขุ หมายถึง ญาณที่สามารถรอบรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งบัญญัติและปรมัตถธรรม ที่เรียกว่า สัพพัญญุตญาณ
  3. ญาณจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่ทำให้สิ้นอาสวกิเลส เรียกว่า อรหัตมรรคญาณ หรือ อาสวักขยญาณ
  4. ธรรมจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระอริยบุคคลเบื้องต่ำทั้งสาม คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
  5. ทิพพจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกลแสนไกล ได้อย่างละเอียด ด้วยอำนาจของ สมาธิจิต ที่เรียกว่า อภิญญาสมาธิ

ปัญญาจักขุห้าประการนี้ สมันตจักขุ พุทธจักขุ ย่อมมีได้แต่เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนปัญญาจักขุที่เหลืออีกสามประการ ย่อมเกิดแก่ พระอริยบุคคลอื่นๆ หรือฌานลาภีบุคคล ที่ได้ทิพพจักขุญาณ ตามสมควรแก่ญาณ และบุคคล

ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ รวมเป็น ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขุ ๖

จักขุ ๕ ยังหมายถึง พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้แก่ มังสจักขุ ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ พุทธจักขุ สมันตจักขุ

ในประวัติของอริยบุคคล ธรรมจักขุ ใช้คำว่า "ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน"บ้าง "ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน" บ้าง

ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ บรรยายไว้ว่า ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นตามความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ธรรมจักษุโดทั่วไป เช่นที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะ เมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรค หรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือ ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน

อ้างอิง แก้