จอห์น แวนบรูห์[1] หรือ เซอร์จอห์น แวนบรูห์ (อังกฤษ: John Vanbrugh) (24 มกราคม ค.ศ. 1664? – 26 มีนาคม ค.ศ. 1726) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษ และนักเขียนบทละคร (dramatist) งานชิ้นเอกของแวนบรูห์ก็เห็นจะเป็น วังเบล็นไฮม์ และ ปราสาทฮาวเวิร์ด งานอื่นก็ได้แก่บทละครฟื้นฟูราชวงศ์ (Restoration comedy) ซึ่งเป็นบทละครชวนหัวที่แรงๆ สองเรื่อง -- “คืนตัว” (The Relapse) ในปี ค.ศ. 1696 และเรื่อง “ภรรยาผู้ถูกยุ” (The Provoked Wife) ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งเป็นละครที่เล่นกันบ่อยแต่เป็นบทละครที่ทำให้มีความขัดแย้งกันมากเมื่อออกมาใหม่ๆ

เซอร์จอห์น แวนบรูห์โดยเจฟฟรี เนลเลอร์ (Godfrey Kneller)

แวนบรูห์ค่อนข้างจะเป็นผู้มีหัวรุนแรง เมื่อหนุ่มๆ แวนบรูห์ก็เป็นสมาชิกพรรควิกและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโค่นราชบัลลังก์ของ, he was part of the scheme to overthrow สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และสนับสนุนการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เพื่อพิทักษ์ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยของอังกฤษ และมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองจนถูกจับเป็นนักโทษการเมืองที่ถูกจำขังที่คุกบาสตีย์ในปารีส ส่วนทางด้านการเขียนบทละครแวนบรูห์มักจะเขียนบทละครแบบเสียดสี เช่นบทละครฟื้นฟูราชวงศ์ และเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 นอกจากจะเป็นงานเขียนที่ออกจะเปิดเผยในเรื่องทางเพศแล้วก็ยังสื่อความหมายในการป้องกันสิทธิสตรีในการแต่งงานอีกด้วย ซึ่งก็ถูกโจมตีทั้งสองประเด็นและเป็นผู้ที่ถูกวิจารณ์ในค่านิยมโดย เจอเรอมี คอลลีเออร์ (Jeremy Collier) ในหนังสือ “ความคิดเห็นสั้นเกี่ยวกับความขาดศีลธรรมและความหยาบคายในวงการละครอังกฤษ” (Short View of the Immorality and Profaneness of the English Stage) ทางด้านสถาปัตยกรรมแวนบรูห์เป็นผู้นำในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มารู้จักกันในนาม “สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ” งานของแวนบรูห์ทางสถาปัตยกรรมก็เป็นการแสดงออกอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับความคิดเห็นทางการเมือง

อ้างอิง แก้

  1. Britannica online encyclopedia: Sir John Vanbrugh (British dramatist and architect)[1]

ดูเพิ่ม แก้