จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ บารอนแห่งเคนส์ ที่หนึ่ง[1] (อังกฤษ: John Maynard Keynes, 1st Baron Keynes; 5 มิถุนายน พ.ศ. 2426 – 21 เมษายน พ.ศ. 2489) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ เกิดที่ เคมบริดจ์, ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ผู้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian Economics) แนวความคิดทางเศรษศาสตร์ของเคนส์มีอิทธิพลต่อทฤษฎีเศรษศาสตร์มหภาคสมัยใหม่เป็นอย่างมาก รวมไปถึงนโยบายเศรษฐกิจที่รัฐบาลนำมาใช้ในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ เริ่มแรกเคนส์ศึกษาเรื่องสาเหตุของวัฏจักรธุรกิจ (อังกฤษ: business cycles) และเรียกร้องให้มีการใช้นโยบายทางการคลังและการเงินเพื่อผ่อนคลายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและตกต่ำ เคนส์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบิดาของเศรษฐศาสตร์มหภาคยุคใหม่และนับได้ว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดของศตวรรษที่ยี่สิบ

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์
เกิด5 มิถุนายน พ.ศ. 2426
เคมบริดจ์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต21 เมษายน พ.ศ. 2489 (62 ปี)
ทิลตัน, อีสต์ซัสเซกซ์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
ยุคเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์
แนวทางนักเศรษฐศาสตร์ชาวตะวันตก
สำนักเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์
ความสนใจหลัก
เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, ความน่าจะเป็น
แนวคิดเด่น
เศรษฐศาสตร์มหภาค, ผู้ก่อตั้งเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซี่ยน, ตัวค่าใช้จ่ายทวีคูณ, แบบจำลองอุปสงค์รวมและอุปทานรวม
ได้รับอิทธิพลจาก
  • คนุต วิกเซลล์, อาร์เธอร์ พิกกู, อัลเฟรด มาร์แชล, อดัม สมิธ, เดวิด ริคาร์โด้, เดนนิส โรเบิร์ตสัน, คาร์ล มาร์กซ์, โทมัส มัธทาส, ไมเคิล คาร์แล็กกี้, จอห์น สจ๊วต มิลล์
เป็นอิทธิพลต่อ
  • โทมัส เคนเน็ธ วิทเทกเกอร์, ไมเคิล คาร์แล็กกี้, ไซมอน คูสเน็ตส์, พอล แอนโทนี่ แซมมวลสัน, จอห์น ฮิคส์, G.L.S. Shackle, ซิลวิโอ้ เจเซลล์, วิลเลียม วิครี่ย์, จอห์น เคนเน็ธ กัลเบรธ

เคนส์ได้ทำงานที่หนังสือ อีโคโนมิคจอร์นัล เป็นที่แรก และได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์หลายฉบับ เช่น ทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างงาน, ดอกเบี้ย และเงินตรา (The General Theory of Employment, Interest and Money)

เขาเป็นผู้ที่สร้างผลงาน ซึ่งพลิกวงการเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก(คือ เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ในสมัยนั้น) ก็คือ การให้รัฐเข้าไปแทรกแซงและสนับสนุนให้ใช้นโยบายของรัฐ อันได้แก่ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง (Monetary Policy & Fiscal Policy) อันจะกระตุ้นให้เกิด อุปสงค์ที่มีประสิทธิผล (Effective Demand) แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กลไกตลาด ที่เป็นแนวความคิดของ อดัม สมิธ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความล้มเหลวได้

ประโยคสำคัญซึ่งท้าทายเศรษฐศาสตร์แบบเดิม คือประโยค "In the long run, we are all dead" (ในระยะยาว พวกเราก็ตายกันหมดแล้ว) ซึ่งสะท้อนเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการปรับตัวในระยะยาว

เหล่านักเศรษฐศาสตร์ต่างยกให้ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหลักของสาขาวิชา เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

ประวัติ ชีวิตสมรสของจอห์น แก้

บุคลิกลักษณะและชีวิตสมร แก้

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์เกิดที่ บ้านเลขที่ 6 ใน ถนนฮาร์เวย์, เคมบริดจ์,[2] เป็นบุตรชายของ จอห์น เนวิล เคนส์ เป็นอาจารย์สอนบรรยายทางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กับ ฟอลเรนซ์ เอด้า บราวน์ มีน้องชาย 1 คน ชื่อ กอลเฟย์ เคนส์ (พ.ศ. 2420 - 2525) เป็นหมอผ่าตัด และ น้องสาว 1 คน ชื่อ มาร์กาแร็ต เคนส์ (พ.ศ. 2433 - 2517) ซึ่งภายหลังได้สมรสกับ บุคคลที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาทางด้านจิตวิทยา ชื่อว่า อาร์ชิบาร์ด ฮิลล์

การศึกษา แก้

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ คิงส์ คอลเลจ เคมบริดจ์ ใน ปี พ.ศ. 2445 สาขาวิชา คณิตศาสตร์ แต่นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงอย่าง อัลเฟรด มาร์แชล ขอร้องให้เขามาเป็นนักเศรษฐศาสตร์[3] ซึ่งเวลานั้นเขาเป็นประธานชมรมลัทธิเสรีนิยมที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อยู่ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ ใน ปี พ.ศ. 2448 และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ใน ปี พ.ศ. 2451

การเสียชีวิต แก้

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เสียชีวิตด้วย โรคหัวใจ ที่บ้านพัก ใน ทิลตัน, อีสต์ ซุสเซ็ก ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2489 หลังจากนั้นอีก 3 ปี จอห์น เนวิล เคนส์ (พ.ศ. 2395 - 2492) ซึ่งเป็นบิดาของเคนส์ ได้เสียชีวิตลงในเวลาต่อมา

บุคลิกลักษณะและความเชื่อ แก้

มุมมองทางด้านศาสนา แก้

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์เคยรับใช้ที่โบสถ์ในช่วงวัยรุ่น[4] แต่หลังจากเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เขานับถือ ลัทธิ ที่เชื่อว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงการมีอยู่ของพระเจ้า จนกระทั่งเขาเสียชีวิต[5]

อ้างอิง แก้

  1. Jenkins, Nicholas. "John Maynard Keynes 1st Baron Keynes (I7810)". W. H. Auden – 'Family Ghosts'. Stanford University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-26. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
  2. "John Maynard Keynes". John Maynard Keynes. สืบค้นเมื่อ 2008-05-20.
  3. McGee, Matt (2005). Economic - In terms of The Good, The Bad and The Economist. IBID Press. p. 354. ISBN 1876659106.
  4. "The anti-Christian economics of John Maynard Keynes". U-Turn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-15. สืบค้นเมื่อ 2008-11-20.
  5. Lubenow, William C (1998). The Cambridge Apostles, 1820-1914. Cambridge University Press. ISBN 0521572134.

ดูเพิ่ม แก้