จอมโจรคิด (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドโรมาจิKaitō Kiddoทับศัพท์: Kaito Kid) ; (อังกฤษ: Kid the Phantom Thief [5]) เป็นฉายาของตัวละครในมังงะเรื่อง จอมโจรอัจฉริยะ แต่งโดย โกโช อาโอยาม่า จอมโจรคิดเป็นที่รู้จักมากจากบทบาทในมังงะและอนิเมะเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ที่แต่งโดยผู้เขียนคนเดียวกัน จอมโจรคิดในปัจจุบันมีทั้งหมด 2 รุ่น โดยชื่อจริงของจอมโจรคิดรุ่นแรกคือ คุโรบะ โทอิจิ (ญี่ปุ่น: 黒羽 盗一โรมาจิKuroba Tōichi) แต่หลังจากโทอิจิเสียชีวิตจากการถูกสังหาร[6] บุตรชายของเขา คุโรบะ ไคโตะ (ญี่ปุ่น: 黒羽 快斗โรมาจิKuroba Kaito) ได้สืบทอดตำแหน่งจอมโจรคิดต่อเป็นรุ่นที่ 2 โดยหวังว่าจะพบเบาะแสของบุคคลที่สังหารพ่อของเขา[7] ซึ่งจอมโจรอัฉริยะเล่ม 5 ตอน มิดไนท์โครว์ อาจจะมีเบาะแสว่า คุโรบะโทอิยังนั้นยังไม่ตาย ในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงจอมโจรคิด จะหมายถึงจอมโจรคิดรุ่นที่ 2 คือ คุโรบะ ไคโตะ ยกเว้นจะมีการกล่าวว่าเป็นโทอิจิโดยเฉพาะ

คุโรบะ ไคโตะ
ตัวละครใน จอมโจรอัจฉริยะ และ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
ปรากฏครั้งแรกจอมโจรอัจฉริยะ เล่ม 1 "จอมโจรคืนชีพ" (2530)
สร้างโดยโกโช อาโอยามะ
ให้เสียงโดยญี่ปุ่น: ไทย:[2]
ประวัติ
ชื่อเล่นจอมโจร 1412, จอมโจรคิด, เรดแฮริงก์ (นามแฝงในสันนิบาตคนรักมายากล) [3]
เพศชาย
ญาติคุโรบะ โทอิจิ (พ่อ, คาดว่าเสียชีวิตแล้ว)
คุโรบะ จิคาเงะ (แม่)

การออกแบบตัวละคร แก้

ในจอมโจรอัจฉริยะเล่ม 4 ได้นำเสนอบทสัมภาษณ์ของโกโช อาโอยาม่า ผู้วาดจอมโจรคิด เขากล่าวว่าตัวละครที่วาดนี้เขาต้องการสื่อถึงภาพลักษณ์ของคนที่ "แว่บไปแว่บมา หาตัวจับยาก ห้าวหาญไม่มีใครเปรียบ หน้าตาหล่อเหลาเหมือนอาร์แซน ลูแปง และเป็นคนเจ้าเล่ห์" ตัวการ์ตูนนี้ให้ความสนุกในแบบของผู้ถูกล่าที่ต้องหนี [1] อย่างไรก็ตามเขายังกล่าวถึงการวาดชุดคลุมของไคโตะนั้นว่า "ลำบากเอาการ"

ประวัติ แก้

 
คุโรบะ โทอิจิ จอมโจรคิดรุ่นที่ 1 และพ่อของคุโรบะ ไคโตะ จอมโจรคิดคนปัจจุบัน

คุโรบะ โทอิจิ ซึ่งเป็นจอมโจรคิดรุ่นพ่อปรากฏตัวในฐานะนักมายากลและอาชญากรเมื่อ 8 ปีก่อนที่จะเกิดเรื่องในมังงะเรื่อง จอมโจรอัจฉริยะ โดยปรากฏตัวครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[8] พร้อมด้วยผู้ติดตามชื่อจิอิ โคโนะสึเกะ โทอิจิมีชื่อเสียงมากจนได้รับการขนานนามว่าเป็นนักมายากลมือหนึ่งของโลก[9] 10 ปีต่อมาหลังจากการปรากฏตัวครั้งแรก โทอิจิถูกสังหารระหว่างการแสดงโดยองค์กรองค์กรหนึ่งที่ต้องการชิง แพนโดร่า อัญมณีที่จะมีสีแดงและหลั่งน้ำตาในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง ที่เชื่อว่าผู้ที่ได้ดึ่มน้ำตาจากแพนโดร่าจะเป็นอมตะ[6][7] หลังจากนั้นเมื่อเริ่มเรื่องจอมโจรอัจฉริยะ จิอิ ซึ่งเป็นผู้ติดตามของโทอิจิได้ปลอมตัวเป็นจอมโจรคิดโดยหวังจะให้องค์กรที่สังหารโทอิจิปรากฏตัว โดยการปรากฏตัวในครั้งนี้เน้นการขโมยอัญมณีที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น เป็นหลัก ต่างจากครั้งอื่น ๆ ที่มีการขโมยอัญมณีนอกประเทศญี่ปุ่นด้วย[8] เป็นเวลาเดียวกับที่ คุโรบะ ไคโตะ ซึ่งเป็นบุตรของโทอิจิได้ค้นพบความจริงว่าพ่อของเขาเป็นจอมโจรคิดและถูกสังหารโดยองค์กรดังกล่าว ไคโตะจึงรับหน้าที่เป็นจอมโจรคิดเพื่อล่อให้องค์กรที่สังหารพ่อของเขาปรากฏตัวเพื่อสืบทอดหน้าที่ต่อจากจิอิ[6] และเพื่อป้องกันไม่ให้องค์กรชิงอัญมณีแพนโดร่าไปด้วย

จอมโจรคิดไม่ว่าในรุ่นพ่อหรือรุ่นลูก ต่างก็ปรากฏตัวในยอดนักสืบจิ๋วโคนันเช่นกัน ทั้งในร่างบุคคลธรรมดาหรือจอมโจรคิด โดยคุโรบะ โทอิจิ เคยปรากฏตัวครั้งหนึ่งกับยูกิโกะและไคโตะในฉากรำลึกถึงอดีตในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ส่วนคุโรบะ ไคโตะ ปรากฏตัวครั้งแรกในตอน "โคนัน VS จอมโจรคิด" และต่อมาก็ได้กลายเป็นตัวละครหนึ่งในเรื่องนั้น รวมถึงตัวละครเสริมผู้ขัดขวางจอมโจรคิด เช่น สารวัตรนากาโมริ กินโซ ฮาคุบะ ซางุรุ[10] ก็ได้กลายเป็นตัวละครในเรื่องนั้นด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันตัวละครจากยอดนักสืบจิ๋วโคนันก็เคยปะทะกับจอมโจรคิดมาแล้ว เช่น ในคดีแบล็กสตาร์ในจอมโจรอัจฉริยะ คุโด้ ชินอิจิ เคยปะทะกับคุโรบะ ไคโตะมาแล้ว และเชื่อกันว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเหตุที่ทำให้จอมโจรคิดและโคนันทราบตัวจริงซึ่งกันและกัน [11]

ที่มาของชื่อ แก้

 
รหัสอาชญากรซึ่งถูกเขียนอย่างหวัด

แม้ว่าจอมโจรคิดจะมีฉายามากมาย เช่น ลูแปงแห่งเฮเซ นักมายากลใต้แสงจันทร์ เป็นต้น แต่ชื่อเรียกที่เป็นทางการตามที่ทั้ง ตำรวจสากล FBI และ CIA ตั้งไว้เป็นชื่อรหัส (Code Name) ที่เรียกว่า 1412 เดิมข้อมูลนี้ถูกเก็บไว้เป็นความลับแต่ก็รั่วไหลออกมา[8] อย่างไรก็ดีชื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นชื่อที่เกิดจากการตั้งขึ้นของคุโด้ ยูซากุ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโทอิจิ ตอนที่ยูซากุเป็นผู้ล่าและโทอิจิเป็นจอมโจรคิด และสนใจเรื่องจอมโจร 1412 ที่สามารถปั่นหัวตำรวจได้ทั่วโลก ครั้งหนึ่งยูซากุหยิบหนังสือพิมพ์ที่มีเรื่องจอมโจรคิดมาอ่านดู แต่นักข่าวเขียนเลข 1412 เป็นหวัดๆ ทำให้เขาอ่านแบบเล่นคำ ปรากฏว่าสามารถอ่านได้เป็นตัวอักษร KID ยูซากุจึงตั้งชื่อของจอมโจรคนนี้ว่า "คิด"[8]

ข้อมูลจำเพาะ แก้

ในคดี "ของขวัญจากอาคาโกะ" (จอมโจรอัจฉริยะ เล่ม 3) ฮาคุบะ ซางุรุ ได้เปิดเผยข้อมูลจำเพาะที่เกิดจากการเก็บรวบรวมได้ว่าจอมโจรคิดสูง 174 เซนติเมตร หนัก 58 กิโลกรัม อายุ 15-17 ปี หมู่เลือด B เชื้อสายญี่ปุ่น ผมดำ ตาซ้ายขวา 2.0[12] ระดับ ไอคิว 400 เล่นกีฬาเก่งโดยเฉพาะสกีแต่ไม่ถนัดสเก็ตน้ำแข็ง[10] เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปเปรียบเทียบพบว่าตรงกับคุโรบะ ไคโตะ ทำให้ฮาคุบะกล่าวว่าจอมโจรคิดกับไคโตะเป็นบุคคลเดียวกัน[12] แม้ตัวไคโตะจะปฏิเสธว่าไม่ใช่คิดก็ตาม นอกจากนี้ในเนื้อเรื่องพบว่าคิดชอบไอศกรีมช็อกโกแลต[13]แต่กลัวปลา[6]

ความสามารถและอุปกรณ์พิเศษ แก้

ความสามารถหลักของจอมโจรคิดไม่ว่าจะเป็นรุ่นพ่อหรือลูกคือการที่คิดสามารถปลอมตัวเป็นคนที่ไม่รู้จักและรู้จักได้เนียนมาก แม้กระทั่งเสียงก็สามารถปลอมได้โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องแปลงเสียง[8] ในยอดนักสืบจิ๋วโคนันมีการกล่าวว่า ยูกิโกะซึ่งเป็นแม่ของชินอิจิได้ฝากตัวกับโทอิจิ [14]ซึ่งครั้งนั้นทำให้ยูกิโกะรู้จักกับ ชารอน วินยาร์ด และทำให้เกิดเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างขึ้น ด้วยความได้เปรียบนี้ทำให้คิดสามารถตรวจสอบสถานที่ตั้งของอัญมณีก่อนที่จะโจรกรรมได้โดยง่าย หรือในบางครั้งก็ทำการโจรกรรมทั้งที่ปลอมตัวอยู่ก็มีให้เห็น

อย่างไรก็ดี คิดก็ยังใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยในการโจรกรรมด้วย เช่นใช้นกพิราบที่ติดกับดักฟังเสียงเพื่อช่วยในการดักฟังข้อมูลจากระยะไกล โดยใช้แว่นตาขาเดียว ใช้แฮงไกลเดอร์ในการหลบหนี ใช้ปืนที่ยิงออกมาเป็นรูปไพ่เพื่อป้องกันตัว ซึ่งเมื่อยิงออกไปไพ่กลายเป็นระเบิดควัน[15] โดยไม่ใช้ปืนจริงเป็นอันขาด[9] และใช้ผู้ช่วยในบางกรณี ดังจะสังเกตได้จากในอนิเมะเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ตอนที่ 387 ซึ่งโคนันกล่าวว่าคิดมีผู้ช่วยแสดงกลเดินบนอากาศ[16] และต่อมาก็ได้รับการยืนยันเมื่อปรากฏว่าคิดได้จับเอาพวกของตนที่แฝงตัวเป็นนักข่าวหลบหนีไปด้วยกันในคดีเล่ม 61[17] แต่ถึงจะใช้อุปกรณ์ดีเพียงใดก็ตาม ก็ปรากฏในเนื้อเรื่องว่าคิดได้รับบาดเจ็บบ้างเช่นกันไม่ว่าจะเป็นจากผู้ขัดขวางเช่นโคนัน หรือบุคคลที่สามที่ไม่พอใจ เป็นต้น[18]

นอกจากความสามารถในการโจรกรรม คิดยังมีความสามารถในการสืบสวนเช่นกัน ดังจะเห็นได้ในมูฟวี่ตอน บทเพลงมรณะแด่เหล่านักสืบ ที่คิดไปช่วยโคนันและเฮย์จิสึบสวนอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วจึงไปปิดบัญชีกับนายมิยามะซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นผู้สนับสนุนตัวการขโมยรถขนเงินที่คิดบังเอิญไปเห็นเหตุการณ์ ซึ่งผู้ที่ขโมยนั้นก็คือรุ่นน้องที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยทางทะเลโยโกะฮะมะ ที่เดียวกับตัวประธานมิยามะนั่นเอง[19]

ลักษณะการโจรกรรม แก้

 
สัญลักษณ์ของจอมโจรคิดที่ส่งมาจากสาส์นเตือน

ก่อนทำการโจรกรรม จอมโจรคิดจะส่งสาส์นเตือนถึงเหยื่อหรือตำรวจก่อน โดยสาส์นมีรูปแบบเป็นข้อความที่ต้องไขปริศนาอีกที รวมถึงมีรูปหน้าของจอมโจรคิด ซึ่งจอมโจรคิดจะวาดใหม่ทุกครั้งที่โจรกรรม[20] เมื่อส่งสาส์นเตือนและตรวจสอบสถานที่โจรกรรมในบางครั้งเสร็จแล้ว จึงทำการโจรกรรมตามวิธีที่เขียนไว้ในสาส์นเตือน เช่น ทำการปลอมตัวเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือตัวเหยื่อเพื่อตบตาตำรวจ และนำของหนีไป ทำให้เกิดความสับสนระหว่างของจริงและของปลอม แล้วชิงของจริงหนีไป เป็นต้น โดยในระหว่างการโจรกรรมคิดจะไม่ฆ่าคน ไม่ใช่ปืนจริง[9] แต่จะขโมยของไปเพียงอย่างเดียว และไม่ลักพาตัวคนเป็นอันขาด[21] โดยปกติแล้วในระหว่างการหลบหนีหรือการโจรกรรมนั้น คิดจะสวมชุดสูทสีขาวที่ทำจากผ้าไหม มีผ้าคลุมข้างหลังและหมวกสีขาว เนคไทสีแดง เสื้อเชื้ตตัวในสีน้ำเงิน และแว่นตาขาเดียว แต่ในบางครั้งเขาก็มิได้สวมชุดนี้อันเนื่องจากการปลอมตัวและเหตุผลอื่น ๆ เช่น เพื่อมิให้ถูกสังเกตได้โดยง่ายหากมีการใช้อุบายขโมยหรือหลบหนี[17] เป็นต้น

ตามรายงานของตำรวจก่อนที่คิดจะลงมือโจรกรรมไข่อิมพีเรียล อีสเตอร์ในมูฟวี่ตอนที่ 3 ปริศนาพ่อมดคนสุดท้ายแห่งศตวรรษ จอมโจรคิดก่อคดีรวมทั้งสิ้น 134 คดี โดย 15 คดีในจำนวนคดีทั้งหมดเป็นคดีที่เกิดขึ้น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมัน และประเทศอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 12 ประเทศ รวมอัญมณีที่ขโมยไปได้ 152 รายการ คิดเป็นมูลค่า 38,725 ล้านเยน[18]

แต่ตามความเป็นจริงแล้ว จอมโจรคิดนั้นไม่ใช่เป็นคนที่เห็นแก่เงิน เขาได้ขโมยของไปแล้วก็จริงแต่มักจะนำมาคืนเสมอโดยไม่ใช้สอยเลยแม้แต่น้อย คุโรบะ โทอิจิ รุ่นแรกนั้นได้หาเงินตนเองด้วยการเป็นนักมายากลที่มีชื่อเสียง แต่ไม่รู้ว่ามาเป็นจอมโจรคิดได้อย่างไร คนที่รู้ก็มีแต่คุโรบะ ชิคาเงะ ผู้เป็นภรรยาของโทอิจิและแม่ของไคโตะและคูณปู่อิจิ คนแก่ที่รับใช้โทอิจิเท่านั่น ส่วนคุโรบะ ไคโตะ รุ่นที่ 2 ต้องการตามหาเพชรแพนโดร่าเท่านั้น เพื่อสืบหาบุคคลที่สังหารพ่อของเขาและองค์กรปริศนาที่ต้องการแพนโดร่า บางครั้งไคโตะขโมยของมาได้สำเร็จได้แต่มักจะหลุดมือไปด้วยเหตุผลบางประการ เช่น โดนเอโดงาวะ โคนันหรือสารวัตรนากาโมริที่เป็นคู่ปรับคอยไล่ล่าอยู่ แต่เขาก็ไม่สนใจและพูดได้ประโยดหนึ่งว่า "ของสิ่งนั้น ไม่ใช่ของสิ่งที่ฉันต้องการหรอก"

ความสัมพันธ์กับตัวละครอื่น แก้

ในจอมโจรอัจฉริยะ แก้

จอมโจรคิดมีความสัมพันธ์กับบุคคลในจอมโจรอัจฉริยะหลายคน ตั้งแต่รุ่นแรกของจอมโจรคิด (โทอิจิ) ซึ่งสารวัตรนาคาโมริ กินโซ ผู้รับผิดชอบคดีจอมโจรคิด เคยกล่าวว่าจอมโจรคิดเป็นเป้าหมายในชีวิตของเขาเลยทีเดียว[6] ความสัมพันธ์นั้นสืบทอดมาสู่รุ่นลูกเช่นเดียวกัน เนื่องจากไคโตะเป็นเพื่อนของลูกสาวของสารวัตรนาคาโมริที่ชื่ออาโอโกะ สารวัตรกับไคโตะจึงสนิทสนมกันพอสมควร [22] ทำให้สารวัตรกับไคโตะเป็นผู้ล่ากับผู้ถูกล่าไปในตัว โดยไคโตะก็ยังสามารถหนีได้ทุกครั้งเหมือนครั้งที่พ่อเขาเคยทำ สำหรับความสัมพันธ์กับเพื่อนในห้องเรียนของจอมโจรคิด มีดังนี้

กับนาคาโมริ อาโอโกะ

อาโอโกะชอบไคโตะอยู่[23] แต่ก็ไม่รู้ว่าจอมโจรคิดก็คือคุโรบะ ไคโตะ ที่เป็นเพื่อนและคู่ปรับในห้องเรียนเดียวกันของเธอนั่น ในขณะที่ตัวคุโรบะ ไคโตะเองก็ชอบอาโอโกะอยู่เช่นกันแต่ไม่แสดงออก

กับฮาคุบะ ซางุรุ

ฮาคุบะซึ่งเป็นนักสืบที่ไปศึกษายังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[10] เป็นคู่ปรับกับจอมโจรคิดในด้านการโจรกรรมที่ฮาคุบะพยายามจะจับตัวคิดให้ได้ แต่ก็ถูกคิดซ้อนแผนกลับบ้างหรือขัดขวางบ้าง ไม่เพียงแต่ด้านโจรกรรมเท่านั้น ฮาคุบะพยายามจะเอาชนะใจอาโอโกะให้ได้ ถึงขนาดว่าคิดต้องพยายามขัดขวางไม่ให้แผนที่ฮาคุบะวางไว้สำเร็จ[24] ฮาคุบะเป็นอีกคนที่รู้ตัวจริงของคิดจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเด็กนักเรียนของประเทศญี่ปุ่น[12]

กับโคอิสึมิ อาคาโกะ

ตามเนื้อเรื่อง มีการบรรยายลักษณะของอาคาโกะว่า อาคาโกะเป็นผู้หญิงที่สวยจนทำให้ชายอื่นหลงเสน่ห์ได้หมด ยกเว้นจอมโจรคิด อาคาโกะซึ่งเป็นแม่มดจึงพยายามหาทางที่จะทำให้คิดมาสยบแทบเท้าให้ได้ แต่ไม่ว่าวิธีไหน ๆ ก็ไม่สำเร็จ[12] อย่างไรก็ดีเธอเองเคยบอกว่าเธอชอบจอมโจรคิด และในบางครั้งก็ช่วยจอมโจรคิด เช่นในคดีแบล็กสตาร์[11]แต่ถูกขัดจังหวะเสียก่อนด้วยเหตุผลเรื่องการห้ามใช้มนตราในที่สาธารณะ

ในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน แก้

จอมโจรคิดมีความสัมพันธ์กับครอบครัวคุโด้ ตั้งแต่จอมโจรคิดรุ่นโทอิจิ โดยคุโด้ ยูซากุ เป็นผู้ตั้งฉายา KID ให้กับโทอิจิ สาเหตุมาจากกระดาษที่เขียนหมายเลข1412(รหัสที่FBIใช้เรียกจอมโจรคิด)เกิดเปียก ทำให้เพี้ยนไปเป็นคำว่า KID และ คุโด้ ยูกิโกะ เรียนการปลอมตัวกับโทอิจิมาพร้อม ๆ กับ ชารอน วินยาร์ด [14] สำหรับ คุโด้ ชินอิจิ นั้นเคยถูกท้าทายปริศนาจากโทอิจิในสมัยเด็กมาแล้ว[25]

กับ เอโดงาวะ โคนัน

ความสัมพันธ์นั้นยังคงสืบต่อมาถึงจอมโจรคิดรุ่นปัจจุบัน แต่เน้นไปที่เอโดกาวะ โคนันมากกว่า เนื่องจากโคนันเคยเผชิญหน้ากับจอมโจรคิดมาแล้วในตอนแบล็กสตาร์[11] การเผชิญหน้าแต่ละครั้งระหว่างคิดกับโคนันจึงเป็นไปในทางที่โคนันพยายามขัดขวางไม่ให้แผนการโจรกรรมสำเร็จ หรือเพียงแต่ปรากฏตัวเฉย ๆ โดยมีการพูดคุยบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นการที่โคนันจะอธิบายถึงกลของคิดโดยอาจมีการเย้ยหยันกันเล็กน้อย และแม้กระทั่งการช่วยกันเพื่อให้พ้นจากวิกฤตก็มีให้เห็น ซึ่งโคนันเองก็รู้ดีว่าคิดไม่ใช่คนเลว แต่ด้วยหน้าที่ของนักสืบและความท้าทายจึงมักเข้าขัดขวางและพยายามจับกุมคิดให้ได้ (แต่อย่างไรก็ตามด้วยความสามารถในการสืบแกะรอยและขัดขวางจอมโจรคิดของโคนันทำให้มีผู้จำนวนมากยอมรับนับถือจนได้แต่งตั้งฉายาว่า '''คิดคิลเลอร์''')

ในบางคดีที่คิดช่วยเหลือคนรอบข้างเช่นพวกแก๊งนักสืบจิ๋ว โคนันก็ทำปิดตาไม่รู้ไม่เห็นปล่อยคิดไป หรือในเดอะมูฟวี่ ที่โคนันประจันหน้ากับคิดบนตึกระฟ้า ขณะที่โคนันหลบไพ่ของคิดก็พลัดตกลงไป คิดจึงกางแฮงไกลเดอร์บินลงไปช่วยอย่างไม่ลังเล หรืออีกครั้งหนึ่งคือการช่วยขับเครื่องบินที่ต้องลงจอดทันทีก่อนที่จะตกร่วมกับโคนันในเดอะมูฟวี่8 มนตราแห่งรัตติกาลสีเงิน และยังลงจากเครื่องไปก่อนเพื่อล่อให้ตำรวจตามมา โดยใช้แสงไฟรถตำรวจสีแดงแทนแสงรันเวย์ฉุกเฉิน ทำให้เครื่องบินที่มีผู้โดยสารนับร้อยลงจอดได้อย่างปลอดภัย ที่เด่นชัดที่สุดคือในเดอะมูฟวี่14 ปริศนามรณะเหนือน่านฟ้า เมื่อโคนันถูกผู้ก่อการร้ายโยนลงไปจากเรือเหาะ คิดได้กระโดดลงไปช่วยและยังร่วมมือกับโคนันปลอมเป็นคุโด้ ชินอิจิเพื่อขอขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตำรวจกลับขึ้นไปบนเรือเหาะ

คิดเองรู้จักตัวจริงของโคนันว่าคือคุโด้ ชินอิจิ ทั้งยังมีหน้าตาคล้ายกันมากจนเหมือนฝาแฝด ทั้งความฉลาดเฉลียว ทักษะและไหวพริบการเอาตัวรอดก็ใกล้เคียงกัน ดังนั้นการปลอมตัวเป็นชินอิจิโดยไม่ต้องสวมหน้ากากจึงเป็นข้อได้เปรียบมากหากคิดต้องการหลบเลี่ยงการพิสูจน์ว่าเป็นตัวจริงหรือปลอมจากคนที่เข้ามาดึงหน้า อีกทั้งยังได้รับความเชื่อถือจากใครหลายๆคนเสียอีก

ความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างจอมโจรคิดกับตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน คือความสัมพันธ์กับตระกูลสึสึกิ ตามท้องเรื่องปรากฏว่าจอมโจรคิดโจรกรรมสมบัติที่อยู่ในความครอบครองของตระกูลไปหลายครั้ง เช่น อัญมณีแบล็กสตาร์ ไข่อิมพีเรียลอีสเตอร์ของฟาเบลเจ และรองเท้า "เล็บสีม่วง" เป็นต้น สึสึกิ โซโนโกะ ซึ่งเป็นบุตรสาวในตระกูลสึสึกิเองมีความคลั่งไคล้ในจอมโจรคิดเป็นอย่างมาก และมักจะเชียร์จอมโจรคิดให้ประสบความสำเร็จในการโจรกรรมอยู่ร่ำไป[26] เป็นต้น

อีกคนหนึ่งที่จอมโจรคิดมีความสัมพันธ์ด้วยคือที่ปรึกษาประจำบริษัทสึสึกิ สึสึกิ จิโรคิจิ ผู้เป็นลุงของโซโนโกะ ซึ่งได้เดินทางไปรอบโลกเพื่อหาสมบัติทั่วโลกและรางวัลต่างๆ เขาได้โกรธแค้นจอมโจรคิดเพราะเนื่องจากเขาชอบให้ตนเองเป็นข่าวหน้าหนึ่งเสมอ แต่หนังสือพิมพ์ก็ได้พิมพ์ข่าวที่มีจอมโจรคิด แม้แต่หน้าสองก็มี ทำให้จิโรคิจิตัดสินใจว่าจะจับคิดให้ได้ โดยใช้สมบัติต่างๆที่หามาได้เป็นเหยื่อล่อ และส่งสารไปยังจอมโจรคิดเพื่อท้าทายเสมอ [27] แต่จอมโจรคิดก็ไม่ได้นำไปจริง ๆ เพียงแต่มาตามคำท้าเพียงหอมปากหอมคอเท่านั้น ส่วนในกรณีของไข่ฟาเบลเจ จอมโจรคิดได้ขโมยเพื่อจะนำกลับไปคืนเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งก็คือหลานสาวของผู้สร้างไข่กลขึ้นมา แต่ก็ถูกสกอร์เปียนทำร้ายไปเสียก่อน[18] แต่ครั้งหนึ่งจิโรคิจิได้แอบส่งสารขอความช่วยเหลือไปยังจอมโจรคิด เพราะลูแปงหมาเลี้ยงของเขาได้ถูกขังไว้ในตู้เซฟที่ที่แข็งแกร่งที่สุดยากนักที่จะไขออกได้ จอมโจรคิดก็ยอมช่วยเหลือจนสามารถไขตู้เซฟพร้อมช่วยลูแปงได้ในที่สุด

ผลกระทบต่อยอดนักสืบจิ๋วโคนัน แก้

เดิมทีแล้วอาโอยาม่าวาดการ์ตูนเรื่องจอมโจรอัจฉริยะและไยบะมาพร้อม ๆ กัน ลงพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นซันเดย์และได้รับความนิยมทั้งคู่ จนกระทั่งมีครั้งหนึ่งในจอมโจรอัจฉริยะที่ได้มีการนำจอมโจรคิดมาเขียนร่วมกับไยบะ และลงตีพิมพ์ในจอมโจรอัจฉริยะฉบับรวมเล่มเล่ม 3[28] อย่างไรก็ดีเมื่ออาโอยาม่ามาวาดเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนันซึ่งก็ได้รับความนิยมในทันทีที่มีการวางตลาด อาโอยาม่าก็จำเป็นต้องหยุดเขียนเรื่องจอมโจรอัจฉริยะ แต่อาโอยาม่าก็มิได้ปล่อยให้จอมโจรคิดหายไปจากมังงะแต่อย่างใด จอมโจรคิดได้กลับมาปรากฏตัวในโคนันเล่ม 16 โดยเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างโคนันกับจอมโจรคิด ครั้งนั้นเองมีการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ได้ถูกเปิดเผยในจอมโจรอัจฉริยะ [8] เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของชื่อ ซึ่งในประเทศไทยปรากฏว่ามีผู้ติดตามเรื่องตั้งข้อสังเกตเมื่อได้อ่านยอดนักสืบจิ๋วโคนันเล่ม 55 ว่าที่มาของชื่อของจอมโจรคิดไม่ตรงกัน จนสามารถพิสูจน์ได้ว่าอาจเป็นการแปลผิดของสำนักพิมพ์[29] หลังจากเล่ม 16 ก็ยังมีการปรากฏตัวของจอมโจรคิดในยอดนักสืบจิ๋วโคนันอยู่เรื่อย ๆ ในขณะที่อาโอยาม่าก็เขียนจอมโจรอัจฉริยะซึ่งเป็นเรื่องหลักของจอมโจรคิดต่อด้วยเช่นกัน แต่ก็เขียนได้อีกแค่เล่มเดียวก็ต้องไปเขียนในยอดนักสืบจิ๋วโคนันต่อ อย่างไรก็ดีทางผู้สร้างอนิเมะของยอดนักสืบจิ๋วโคนันก็ได้นำเรื่องในจอมโจรอัจฉริยะมาดัดแปลงและทำเป็นเรื่องของยอดนักสืบจิ๋วโคนันแทน โดยต่อไปนี้คือรายการปรากฏตัวส่วนหนึ่งของจอมโจรคิดในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน

หมายเหตุ ชื่อตอนที่กำกับด้วยภาษาญี่ปุ่น ยังไม่มีการแปลอย่างเป็นทางการที่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์

การปรากฏตัวอนิเมะและเดอะมูฟวี่ แก้

ตอนที่ (ญี่ปุ่น) ตอนที่ (ไทย) วันที่ออกอากาศ (ญี่ปุ่น) ชื่อตอน เทียบกับตอนในมังงะยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
76 78-79 22 กันยายน พ.ศ. 2540 โคนัน VS จอมโจรคิด (ตอนพิเศษ 1 ชั่วโมง) เล่ม 16 ไฟล์ 6-9 (ตอนที่ 156-159) [8]
132-134 142-144 25 มกราคม, 1 กุมภาพันธ์ และ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 คดีฆาตกรรมคนรักมายากล เล่ม 20 ไฟล์ 2-6 (ตอนที่ 192-196) [30]
มูฟวี่ 3 17 เมษายน พ.ศ. 2542 ปริศนาพ่อมดคนสุดท้ายแห่งศตวรรษ (The Last Wizard of the Century) [18] -
219 235-238 8 มกราคม พ.ศ. 2544 รวมพลยอดนักสืบ คุโด้ชินอิจิ ปะทะจอมโจรคิด (ตอนพิเศษ 2 ชั่วโมง) จอมโจรอัจฉริยะเล่ม 4 ตอน "แบล็กสตาร์" ในช่วงต้น และยอดนักสืบจิ๋วโคนันเล่ม 30 ไฟล์ 4-7 (ตอนที่ 299-302) [11]
356 386-387 12 เมษายน พ.ศ. 2547 มายากลกลางหาวของจอมโจรคิด (ตอนพิเศษ 1 ชั่วโมง) เล่ม 44 ไฟล์ 7-10 (ตอนที่ 453-456) [16]
มูฟวี่ 8 17 เมษายน พ.ศ. 2547 มนตราแห่งรัตติกาลสีเงิน (Magician of the Silver Sky) [15] -
394-396 428-430 18 เมษายน, 25 เมษายน และ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 การผจญภัยในบ้านร้างแสนพิลึก (ญี่ปุ่น: 奇抜な屋敷の大冒険โรมาจิKibatsu na Yashiki no Daibouken) เล่ม 46 ไฟล์ 7-10 (ตอนที่ 475-478) [31]
มูฟวี่ 10 15 เมษายน พ.ศ. 2549 บทเพลงมรณะแด่เหล่านักสืบ (The Private Eyes' Requiem) [19] -
469-470 509-510 16 เมษายน และ 23 เมษายน พ.ศ. 2550 4 ภาพเขียนชื่อดังกับจอมโจรคิด (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドと4名画โรมาจิKaitō Kiddo to yon Meiga) เล่ม 53 ไฟล์ 1-4 (ตอนที่ 544-547) [20]
472-473 512-513 14 พฤษภาคม และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 การผจญภัยของชินอิจิน้อย (ญี่ปุ่น: 工藤新一少年の冒険โรมาจิKudō Shinichi Shōnen no Bōken) เล่ม 55 ไฟล์ 6-9 (ตอนที่ 570-573) [25] [14]
515 562-563 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กลเคลื่อนย้ายในพริบตาของจอมโจรคิด (ตอนพิเศษ 1 ชั่วโมง) (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドの瞬間移動魔術โรมาจิKaitō Kiddo no Terepōtēshon Majikku) เล่ม 61 ไฟล์ 1-4 (ตอนที่ 631-634) [17]
537-538 588-589 13 มิถุนายน และ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552 จอมโจรคิดปะทะตู้นิรภัยที่แข็งแกร่งที่สุด (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドVS最強金庫โรมาจิKaitō Kiddo VS Saikyō Kinko) เล่ม 64 ไฟล์ 11 (ตอนที่ 675) เล่ม 65 ไฟล์ 1-2 (ตอนที่ 676-677)
มูฟวี่ 14 17 เมษายน พ.ศ. 2553 ปริศนามรณะเหนือน่านฟ้า (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 天空の難破船 (ロスト・シップ) Meitantei Conan Tenkuu no Rosuto Shippu (LOST SHIP)) -
Magic Kaito EP1 17 เมษายน พ.ศ. 2553 Rebirth of the Phantom Thief (ญี่ปุ่น: 蘇る怪盗 Yomigaeru Kaitou)) จอมโจรอัจฉริยะ เล่ม 1 ตอนแรก
586-587 637-638 4 กันยายน และ 11 กันยายน พ.ศ. 2553 เขากิเลนที่หายไปในความมืด กับ จอมโจรคิด ปะทะ ภูตทั้ง 4 แห่งชมรมนักสืบ หรือ จอมโจรคิด ปะทะ ขบวนการนักสืบ (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドVS四神探偵団 Kaitō kiddo VS shi kami tantei-dan) เล่ม 68 ไฟล์ 5-8 (ตอนที่ 712-715)
627-628 678-679 20 สิงหาคม และ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 โคนัน จอมโจรคิด กับศึกชิงสมบัติซากาโมโตะ เรียวมะ (ญี่ปุ่น: コナンキッドの龍馬お宝攻防戦 Konan Kiddo no Ryouma otakara koubousen) เล่ม 70 ไฟล์ 2-4 (ตอนที่ 731-733)
701-704 753-756 13 กรกฎาคม 20 กรกฎาคม 27 กรกฎาคม และ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รถด่วนสีดำ The Jet-Black Mystery Train (ญี่ปุ่น: 漆黒の特急 Shikkoku no misuterītorein) เล่ม 78 ไฟล์ 1-7 (ตอนที่ 818-824)
724-725 776-777 4 มกราคม และ 11 มกราคม พ.ศ. 2557 จอมโจรคิดกับนางเงือกขี้อาย Kaitou Kid and the Blush Mermaid (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドと赤面の人魚 Kaitō kiddo to sekimen no ningyo) เล่ม 78 ไฟล์ 11 (ตอนที่ 828) เล่ม 79 ไฟล์ 1-2 (ตอนที่ 829-830)
746-747 799-800 12 กรกฎาคม และ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 จอมโจรคิดปะทะเคียวโงคุ มาโคโตะ (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドVS京極真 Kaitō Kiddo VS Kyōgoku Makoto) เล่ม 81 ไฟล์ 11 (ตอนที่ 861) เล่มที่ 82 ไฟล์ 1-2 (ตอนที่ 862-863)
มูฟวี่ 19 18 เมษายน พ.ศ. 2558 ปริศนาทานตะวันมรณะ Detective Conan: Sunflowers of Inferno (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 業火の向日葵 Meitantei Konan: Gōka no Himawari ?) -
887-888 942-943 6 มกราคม และ 13 มกราคม พ.ศ. 2561 จอมโจรคิดกับกล่องปริศนา (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドの絡繰箱 Kaitō Kiddo no Karakuri-bako) เล่ม 91 ไฟล์ 4-6 (ตอนที่ 963-965)
มูฟวี่ 23 12 เมษายน พ.ศ. 2562 ศึกชิงอัญมณีสีคราม Detective Conan: The Fist of Blue Sapphire (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 紺青の拳 Meitantei Conan: Konjō no Fisuto) -
983-984 1040-1041 3 ตุลาคม และ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563 จอมโจรคิด ปะทะ โคเมย์ : เป้าหมายคือริมฝีปาก (ญี่ปุ่น: キッドVS高明 ー狙われた唇 Kiddo VS Takaaki ̄ nerawareta kuchibiru) เล่ม 96 ไฟล์ 4-7
1105-1106 1163-1164 2 ธันวาคม และ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 "คิด ปะทะ อามุโร่ กับมงกุฎราชินี (ตอนแรก)" Kid vs. Amuro: The Queen's Bangs

"Kiddo Vāsasu Amuro Kuīnzu Bangu" (キッドVS安室 王妃の前髪クイーンズ・バング)

มังงะ เล่มที่ 101 ไฟล์ 7-9
ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน VS จอมโจรคิด 2-7 กุมภาพันธ์ และ มีนาคม พ.ศ.2567 Magic Kid VS Detective Conan ภาพยนตร์พิเศษเพื่อการโปรโมทภาพยนตร์มูฟวี่ 27
มูฟวี่ 27 24 เมษายน พ.ศ.2567 ดาวนำทางล้านดอลลาร์ The Million Dollar Signpost (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 100万ドルの五稜星 Meitantei Konan Hyaku Man-doru no Michishirube)

การปรากฏตัวในโอวีเอ แก้

ตอนที่ ชื่อไทย ชื่อญี่ปุ่น ตอนที่ตรงกับมังงะจอมโจรอัจฉริยะ
1 โคนันปะทะคิดปะทะไยบะ - ศึกแตกหักชิงดาบล้ำค่า (ญี่ปุ่น: コナンvsキッドvsヤイバ 宝刀争奪大決戦!!โรมาจิKonan tai Kiddo tai Yaiba Hōtō Soudatsu Daikessen) เล่ม 3 ตอนพิเศษ "ไยบะ VS ไคโตะ" (ดัดแปลงเนื้อหา) [28]
4 โคนัน คิดและคริสตัลมาเธอร์ (ญี่ปุ่น: コナンとキッドとクリスタル·マザーโรมาจิKonan to Kiddo to Kurisutaru Mazā) เล่ม 4 ตอน "คริสตัลมาเธอร์" [32]
6 ไล่ล่าหาอัญมณี! โคนันกับเฮย์จิปะทะคิด (ญี่ปุ่น: 消えたダイヤを追え!コナン·平次vsキッドโรมาจิKieta Daiya o Oe! Konan, Heiji vs Kiddo) -

สินค้าอื่น ๆ แก้

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าจอมโจรคิดเป็นที่รู้จักในบทบาทการปรากฏตัวในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน สินค้าที่ทำออกมาที่เกี่ยวกับจอมโจรคิดจึงเป็นสินค้าของยอดนักสืบจิ๋วโคนันแทบทั้งสิ้น ตัวอย่างสินค้าที่ทำออกมาและมีจอมโจรคิดออกมาด้วย เช่น

  • ปฏิทินยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ประจำ พ.ศ. 2552 สำหรับปฏิทินประจำ พ.ศ. 2552 นั้น จอมโจรคิดจะปรากฏตัวในแผ่นของเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน[33]
  • หนังสือเล่มพิเศษของโชเน็นซันเดย์ 2 เล่ม เนื้อหาเกี่ยวกับจอมโจรคิดและโคนัน ได้แก่
    • ดีเทคทีฟโคนัน VS คิดเดอะแฟนธอมธีฟ (ญี่ปุ่น: 名探偵コナンVS怪盗キッド 完全版โรมาจิMeitantei Konan VS Kaitou Kiddo Kanzenban) [34]
    • เมทันเตโคนัน ไทเค็ทสึ ไคโตคิดโดะเฮ็น (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 対決怪盗キッド編โรมาจิMeitantei Konan Taiketsu Kaitou kiddo hen) [35]
  • กรมไปรษณีย์ญี่ปุ่นเคยจัดทำชุดแสตมป์ "ANIME HERO-HEROIN SERIES" ซึ่งเป็นแสตมป์ที่ระลึกอนิเมะ และมังงะ ที่ได้รับความนิยมสูงมาหลายชุด โดบชุดที่เกี่ยวกับยอดนักสืบจิ๋วโคนันและจอมโจรคิด ได้แก่ชุดที่ 4 และชุดที่ 10 โดยชุดที่ 4 ภาพของจอมโจรคิดจะเป็นภาพขณะเผชิญหน้ากับโคนันครั้งแรกในยอดนักสืบจิ๋วโคนันมาบรรจุลงในแสตมป์ [36] และในชุดที่ 10 ที่วางจำหน่ายในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นแสตมป์แนวคิด "สี่ฤดู" เป็นภาพจอมโจรคิดกับโคนัน โดยมีแฮงไกเดอร์ของจอมโจรคิดบินตัดพระจันทร์[37][38]
  • บริษัทบันไดเคยผลิตฟิกเกอร์รูปจอมโจรคิดออกมาวางจำหน่าย ในฐานะส่วนหนึ่งของฟิกเกอร์ขนาดเล็กของยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[39]
  • นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่เกี่ยวกับจอมโจรคิดอีกหลายหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นไฟฉาย[40] โปสเตอร์ เป็นต้น

ข้อสังเกตด้านที่มาของชื่อในประเทศไทย แก้

มีผู้ติดตามเรื่องในประเทศไทยส่วนหนึ่งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับที่มาของจอมโจรคิด ตามที่ปรากฏในมังงะเล่ม 16 และเล่ม 55 ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เนื่องจากที่มาของชื่อ "คิด" ที่คุโด้ ยูซากุเป็นคนตั้งตามที่ระบุไว้ในทั้งสองเล่มระบุไม่ตรงกัน โดยในเล่มที่ 16 ดอกเตอร์อากาสะกล่าวว่า "เขา (ยูซากุ) บังเอิญทำเหล้าหกใส่ตัว 1412 เลยอ่านใหม่ได้ว่า เค ไอ ดี KID (คิด)" [8] ในขณะที่เล่มที่ 55 มีการยกคำพูดของคุโด้ ยูกิโกะที่พูดกับโคนันทางโทรศัพท์ว่า "เขา (ยูซากุ) บอกว่านักหนังสือพิมพ์เขียน 1412 หวัด ๆ เขาก็เลยอ่านมันว่าคิด" ผู้ติดตามเรื่องกลุ่มหนึ่งได้สอบทานกับต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น และ Case Closed ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับสหรัฐอเมริกา และพบว่าที่มาของชื่อ "คิด" ที่ถูกต้องคือที่มาที่ว่านักหนังสือพิมพ์เขียนหวัดจึงอ่านว่าคิด ดังที่ระบุไว้ในเล่ม 55 [4] เนื่องจากปรากฏในต้นฉบับทั้งสองว่า

1412のナンバーを洒落てこう読んだのじゃ
(1412 no Number wo sharetekou kouyon danoja)

— ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 16

He took the number 1412 and redesigned it to look like K-I-D

— Case Closed เล่ม 16 [41]

ในต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยคำว่าชาเรรุ (ญี่ปุ่น: 洒落るโรมาจิShareru) ที่แปลว่าเล่นคำ ซึ่งในต้นฉบับของ Case Closed ใช้คำว่า Redesign ซึ่งตรงกับความหมายเดิมในภาษาญี่ปุ่น แต่ผู้แปลภาษาไทยแยกคำนี้ออกเป็นสองคำ โดยแยกเป็นคำว่า สะเกะ (ญี่ปุ่น: โรมาจิSake) ที่แปลว่าเหล้าและ โอชิรุ (ญี่ปุ่น: 落ちるโรมาจิOchiru) ที่แปลว่าตก, หล่น ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไป[29]

บรรณานุกรม แก้

  1. 1.0 1.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2550). "เล่ม 4 ช่วงการ์ตูนแถม & บทความ". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  2. เหมียวเลเซอร์. "รายชื่อผู้ให้เสียงพากย์ไทย ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน". ไทยบันเทิง. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 25410072). "เล่ม 20 ไฟล์ 2 (หนีเถอะ)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 M. Chif, Icka!. "Magic Kaito Major Characters". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-10. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2544). "เล่ม 30 ไฟล์ 4 (ชุมนุม)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2531). "เล่ม 1 ตอน "จอมโจรคืนชีพ"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  7. 7.0 7.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "บลูเบิร์ธเดย์"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2540). "เล่ม 16 ไฟล์ 6 (คู่ปรับ)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2550). "เล่ม 4 ตอน "เรดเทียร์"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "ยอดนักสืบมาแล้ว!!"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2550). "เล่ม 4 ตอน "แบล็กสตาร์"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "ของขวัญจากอาคาโกะ"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  13. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 2 ตอนผลงานชิ้นพิเศษ "เซียนปะทะนักมายากล"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  14. 14.0 14.1 14.2 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2549). "เล่ม 55 ไฟล์ 9 (ตะวันตกดิน ๆ)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  15. 15.0 15.1 ยามาโมโตะ ยาสุอิจิโร่, โคอุจิ คาซึนาริ, โกโช อาโอยาม่า. "มนตราแห่งรัตติกาลสีเงิน". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่. ภาคที่ 8 (ออกฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547)
  16. 16.0 16.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2547). "เล่ม 44 ไฟล์ 10 (หลบหนี)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  17. 17.0 17.1 17.2 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2551). "เล่ม 61 ไฟล์ 4 (Zero)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 โคดามะ คาเน็ทสึกุ, โคอุจิ คาซึนาริ, โกโช อาโอยาม่า. "ปริศนาพ่อมดคนสุดท้ายแห่งศตวรรษ". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่. ภาคที่ 3 (ออกฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2542)
  19. 19.0 19.1 ยามาโมโต้ ไทอิจิโร่, โคอุจิ คาซึนาริ, โกโช อาโอยาม่า. "บทเพลงมรณะแด่เหล่านักสืบ". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่. ภาคที่ 10 (ออกฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2542)
  20. 20.0 20.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2549). "เล่ม 53 ไฟล์ 2 (สุวรรณฉาย)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  21. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2531). "เล่ม 2 ตอน "นายกรัฐมนตรีที่ไร้ความรับผิดชอบที่สุดในญี่ปุ่น"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  22. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2531). "เล่ม 1 ตอน "วันวุ่น ๆ ของจอมโจรคิด"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  23. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "กรีนดรีม"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  24. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "โจรใกล้ตัว"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  25. 25.0 25.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2549). "เล่ม 55 ไฟล์ 6 (ใต้เงาจันทร์)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  26. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2551). "เล่ม 61 ไฟล์ 2 (เคลื่อนย้ายในพริบตา)". ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  27. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2547). "เล่ม 44 ไฟล์ 7 (มหัศจรรย์)". ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  28. 28.0 28.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอนพิเศษ "ไยบะ VS ไคโตะ!"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  29. 29.0 29.1 "มีคำถามจากโคนันเล่มล่าสุด (55) หน่อยค่ะ >//<". CJRTeashop.net. 29 มีนาคม 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-04. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2541). "เล่ม 20 ไฟล์ 6 (ทางเวหา)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  31. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2547). "เล่ม 46 ไฟล์ 10 (ไม่มีวันตาย)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  32. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2550). "เล่ม 4 ตอน "คริสตัลมาเธอร์" (ดัดแปลงเนื้อหา)". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  33. "名探偵コナン 2009年カレンダー (カレンダー)" (ภาษาญี่ปุ่น). แอมะซอนญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "小学館:コミック 『名探偵コナンVS怪盗キッド 完全版』" (ภาษาญี่ปุ่น). โชงะกุกังสกายการ์เดน. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  35. "小学館:コミック 『名探偵コナン 対決怪盗キッド編』" (ภาษาญี่ปุ่น). โชงะกุกังสกายการ์เดน. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  36. "Detective Fiction on Stamps: Detective Conan 1 (Japan)". Trussel.com. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. "Detective Fiction on Stamps: Detective Conan 2 (Japan)". Trussel.com. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "特殊切手 アニメ・ヒーロー・ヒロインシリーズ〈第10集〉「名探偵コナン」の発行" (ภาษาญี่ปุ่น). Japanpost.jp. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. "名探偵コナン | バンダイ | 商品情報詳細" (ภาษาญี่ปุ่น). Bandai.co.jp Catalogue.
  40. "(名探偵コナン)光る!LED" (ภาษาญี่ปุ่น). rakuten.co.jp. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. อาโอยาม่า, โกโช (20 มีนาคม พ.ศ. 2550). "เล่ม 16 ไฟล์ 6 (Annihilation)". Case Closed Vol. 16. VIZ Media LLC. ISBN 978-142-150-881-8. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้