จตุพล ภูอภิรมย์

จตุพล ภูอภิรมย์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2524) ชื่อเล่น ตุ๊ เป็นอดีตนักแสดงชายชาวไทย

จตุพล ภูอภิรมย์
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดจตุพล ภูอภิรมย์
เกิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
จังหวัดชัยนาท ประเทศไทย
เสียชีวิต20 มีนาคม พ.ศ. 2524 (29 ปี)[1]
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2520–2524
ผลงานเด่นทองพูน โคกโพ - ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520)
ดร.อนิรุทธิ์ - เมียหลวง (2521)
ทศ - สัญชาตญาณโหด (2522)
ซมพลา - เงาะป่า (2523)
พัน น้ำสุพรรณ - ยอดรักผู้กอง (2524)
รางวัล
พระสุรัสวดีตุ๊กตาเงินนักแสดงหน้าใหม่
พ.ศ. 2520 - ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2522 - สัญชาตญาณโหด
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2523 - เงาะป่า

จตุพลได้รับรางวัลตุ๊กตาเงิน สาขานักแสดงหน้าใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2520 จากเรื่อง ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น และได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง เงาะป่า ประจำปี พ.ศ. 2523

ประวัติ แก้

จตุพล ภูอภิรมย์ ภูมิลำเนา เกิดที่ จังหวัดชัยนาท เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง แล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดียเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าสู่วงการจากการเป็นนายแบบโฆษณายาสีฟันใกล้ชิด เมื่อ พ.ศ. 2518-2519 และได้งานแสดงละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม [2]

จตุพล ภูอภิรมย์ แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่อง ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520) กำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล โดยได้แสดงบทบาทที่เดิมสรพงศ์ ชาตรี จะเป็นผู้เล่น แต่บังเอิญไม่มีคิวแสดงว่าง จากภาพยนตร์เรื่องนี้จตุพลได้รับรางวัลตุ๊กตาเงิน ในสาขานักแสดงดาวรุ่ง [3]

การเสียชีวิต แก้

จตุพล ภูอภิรมย์ มีผลงานแสดงภาพยนตร์ประมาณ 25 เรื่อง ก่อนจะเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2524 เนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยภาพยนตร์เรื่อง "เงาะป่า" กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และเปี๊ยก โปสเตอร์ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2523 แต่จตุพลไม่ได้รับรางวัล เนื่องจากประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิตเสียก่อน[4] ต่อมาได้นักแสดงรุ่นน้องที่มีหน้าตาคล้ายกัน อโนเชาว์ ยอดบุตร มารับช่วงแทน[5]

ผลงานภาพยนตร์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ชีวประวัติจาก thaifilm.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  2. "ประวัติ จตุพล ภูอภิรมย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  3. หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พ.ศ. 2549. หน้า 328. ISBN 974-94228-8-0
  4. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  5. นาทีสุดท้าย หลังนอนป่วย 35 ปี ของ "อโนเชาว์ ยอดบุตร" ข่าวคมชัดลึก สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562

แหล่งข้อมูลอื่น แก้