ค่ายบางกุ้ง เป็นค่ายทหารสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม ในสมัยปัจจุบัน

ค่ายบางกุ้ง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที
เมืองจังหวัดสมุทรสงคราม
ประเทศไทย

ที่ตั้ง แก้

ค่ายบางกุ้งตั้งอยู่ ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่บริเวณวัดบางกุ้ง มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่เศษ (ปัจจุบันวัดบางกุ้งมีเนื้อที่ประมาณ 19 ไร่ 42 ตารางวา)

  • ทิศเหนือ ติดคลองบ้านค่าย
  • ทิศใต้ ติดคลองแควอ้อม
  • ทิศตะวันตก ติดกับสวนมะพร้าว
  • ทิศทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำแม่กลอง

ประวัติ แก้

สมัยพระเจ้าเอกทัศ แก้

เดิมค่ายบางกุ้งเป็นค่ายทหารเรือในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ สมัยนั้นพระเจ้ามังระกรุงอังวะให้เกณฑ์กองทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาทั้ง 2 ทาง ให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพยกเข้าตีทางทิศใต้ ยกเข้าตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี เมืองหุยตองจา เมืองชุมพร เมืองกาญจนบุรี เมืองราชบุรี เพชรบุรี แล้วจึงยกกลับไปตั้งกองทัพต่อเรืออยู่ที่ดงรังหนองขาว เมืองกาญจนบุรี พระเจ้าเอกทัศทรงทราบข่าว โปรดให้เกณฑ์กองทัพออกต่อสู้ โดยกองทัพบกไปตั้งค่ายรับข้าศึกที่ตำบลตำหรุ เมืองราชบุรีแห่งหนึ่ง ให้กองทัพเรือยกมาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง เมืองสมุทรสงครามแห่งหนึ่ง ให้พระยารัตนาธิเบศยกมาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองธนบุรีอีกแห่งหนึ่ง

ใน พ.ศ. 2308 ทัพมังมหานรธาก็ยกทัพเรือเข้ามาตีค่ายทหารเรือบางกุ้งแตก แล้วจึงยกไปตีเมืองธนบุรี เมืองนนทบุรีแตกอีก แล้วยกเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ด้านหนึ่ง จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2310 แล้วตั้งให้นายทองอินทร์ คนไทยที่จงรักภักดีต่อพม่ารักษาเมืองธนบุรี และนายทองสุก นายกองคุมกองทัพพม่ารักษากรุงศรีอยุธยา ณ ค่ายโพธิ์สามต้น แล้วยกทัพหลวงกลับไป

สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี แก้

 
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ค่ายบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ครั้นเจ้าตากกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2310 โปรดให้คนจีนจาก ระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี รวบรวมพลพรรค มาตั้งเป็นกองทหารรักษา ค่ายบางกุ้ง ซึ่งยังไม่มีทหารรักษาหลังจากที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก ค่ายนี้จึงเรียกว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง"

ต่อมาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ซึ่งฝักใฝ่อยู่กับพม่าในสมัยนั้นไปทูลพระเจ้าอังวะถึงข่าวการตั้งตนเป็นใหญ่ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ามังระจึงให้มีท้องตราสั่งแมงกี้มารหญ่า เจ้าเมืองทวาย คุมกำลังให้มาตรวจตราดูสถานการณ์ในอาณาจักรอยุธยาเดิม พระยาทวายจึงส่งโปมังเป็นกองทัพหน้าคุมพล 3,000 นาย เข้ามาทางเมืองไทรโยค เมื่อฤดูแล้งปลายปี พ.ศ. 2310 ครั้นถึงบางกุ้งเห็นค่ายทหารจีนของพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งอยู่ พระยาทวายก็ให้กองทัพล้อมไว้ กรมการเมืองสมุทรสงครามบอกเข้ามายังกรุงธนบุรี

ตามพงศาวดารกรุงธนบุรี กล่าวว่า พระเจ้าตากสินทรงทราบข่าวข้าศึกด้วยความยินดียิ่ง โปรดให้พระยามหามนตรี (บุญมา) จัดกองทัพเรือ 100 ลำเศษ พร้อมด้วยศาสตราวุธมายังค่ายบางกุ้ง พระยามหามนตรีคาดการณ์ว่า ค่ายบางกุ้งล่อแหลมกำลังจะแตกอยู่แล้ว จึงรีบเดินทัพเข้าโจมตีพม่าที่ล้อมค่ายบางกุ้งโดยฉับพลัน ในตอนเรียกประชุมนายทัพนายกองเพื่อปลุกใจและบงการเข้าตีนั้นได้เน้นว่า "ถ้าช้าไปอีกวันเดียวค่ายบางกุ้งจะแตกและขวัญทหารไทยจะไม่มีวันฟื้นคืนได้ การรบทุกครั้งการแพ้อยู่ที่ขวัญและกำลังใจ ถ้าไทยแพ้อีกในครั้งนี้ พม่าจะฮึกเหิม พวกไทยจะครั้นคร้ามและกู้ชาติไม่สำเร็จ การรักษาค่ายบางกุ้งไว้ให้ได้ในครั้งนี้ ได้ชื่อว่าท่านทั้งหลายได้ช่วยขวัญของไทยในการรบครั้งต่อไป"[ต้องการอ้างอิง]

การรบครั้งนี้ตะลุมบอนกันด้วยอาวุธสั้น ออกพระยามหามนตรีควงดาบสิงห์สุวรรณาวุธ ซึ่งทำด้ามและฝักกนกหัวสิงห์ใหม่ไล่ฆ่าฟันข้าศึกแตกกระจาย แมงกี้มารหญ่าแม่ทัพพม่า ครั่นคร้ามพระมหามนตรีจึงเลี่ยงเชิงดูศึกได้ยินเสียงในค่ายที่ล้อมไว้จุดประทัด ตีม้าล่อเปิดประตูค่าย ส่งกำลำดีกระทุ้งออกมา ทำให้พม่าอยู่ในศึกกระหนาบ ซ้ำยังเห็นผงคลีมืดครึ้มได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวทัพหนุนเนื่องของไทยอีก แน่ใจว่าทัพหลวงของไทยติดตามมาก็ยิ่งเสียขวัญ ฝ่ายไทยกลับฮึกเหิมไล่ฟันแทงข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก ที่เหลือก็พากันแตกหนี เจ้าเมืองทวายเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้จึงสั่งทัพถอยรวบรวมไพร่พลกลับไปเมืองทวายทางด่านเจ้าขว้าว กองทัพไทยได้เรือรบศัตรูทั้งหมด และได้เครื่องศาสตราวุธตลอดจนเสบียงอาหารเป็นอันมาก

ดูเพิ่ม แก้