ค็อมพยูเทอร์ชปีเลอมูเซอุม เบอร์ลิน

ค็อมพยูเทอร์ชปีเลอมูเซอุม (เยอรมัน: Computerspielemuseum; แปลว่า พิพิธภัณฑ์เกมคอมพิวเตอร์) เป็นพิพิธภัณฑ์วิดีโอเกม ตั้งขึ้นที่เบอร์ลินในปี 1997 ก่อนจะปิดให้บริการงานจัดแสดงถาวรในปี 2000 และกลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ออนไลน์โดยสมบูรณ์ กระทั่งปี 2011 ได้เปิดตัวนิทรรศการถาวรอีกครั้งในเขตฟรีดริชส์ไฮน์ของเบอร์ลิน ตั้งอยู่ริมถนนคาร์ล มาคส์

ค็อมพยูเทอร์ชปีเลอมูเซอุม เบอร์ลิน
ค็อมพยูเทอร์ชปีเลอมูเซอุมเมื่อปี 2013
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 1997 (1997) (เปิดใหม่ในปี ค.ศ. 2011 (2011))
ยุติค.ศ. 2000 (2000) (นิทรรศการเดิม)
ที่ตั้งถนนคาร์ล มาคส์ ฟรีดริชส์ไฮน์ เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
พิกัดภูมิศาสตร์52°31′03″N 13°26′31″E / 52.5176°N 13.4419°E / 52.5176; 13.4419
ประเภทพิพิธภัณฑ์วิดีโอเกม
ขนาดผลงาน>37,000 ชิ้น
เจ้าของสมาคมเสริมกำลังเพื่อกิจการเยาวชนและสังคม
เว็บไซต์www.computerspielemuseum.de

นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 1997 พิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงนิทรรศการในระดับชาติและนานาชาติถึง 30 ครั้ง ซึ่งรวมถึงโครงการ "pong.mythos" ที่ได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิวัฒนธรรมสหพันธ์เยอรมัน และถือเป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์เกมคอมพิวเตอร์ ในระยะเวลา 5 ปี มียอดผู้เข้าชมนิทรรศการดังกล่าว 470,000 คน ของสะสมของพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยอุปกรณ์สำรองข้อมูลจำนวน 25,000 ชิ้นที่มีเกม, นิตยสารเทคนิค 12,000 ชิ้น และเครื่องเล่นเกมต่าง ๆ ทั้งเกมอาเขต, คอมพิวเตอร์ครัวเรือน, ระบบคอนโซล ไปจนถึงเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงวิดีโอ โปสเตอร์ คู่มือ พิพิธภัณฑ์ถือว่ามีของสะสมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อความบันเทิงมากที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป[1] ของสะสมทั้งหมดเป็นของสมาคมเสริมกำลังเพื่อกิจการเยาวชนและสังคม ตัวพิพิธภัณฑ์ดำเนินงานโดยบริษัท เกมส์เฮาส์ จำกัด อาคารนิทรรศการถาวรหลังใหม่ริมถนนคาร์ล มาคส์ ก่อสร้างด้วยเงินทุนจากกองทุนหวยเยอรมันและจากโครงการลงทุนทางวัฒนธรรมของกรมกิจการวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานจัดแสดงแบบโต้ตอบมากกว่า 300 ชิ้น ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของการเล่นเกมคอมพิวเตอร์[1] หนึ่งในส่วนสำคัญของงานจัดแสดงคือวิดีโอเกมอาเขตของจริงจากคริสต์ทศวรรษ 1980 ระบบคอนโซลเกมต่าง ๆ ที่จัดแสดงมีตั้งแต่แม็กนาว็อกซ์ออดิสซีย์ฉบับดั้งเดิมจากปี 1972 ไปจนถึงของใช้ในบ้านอย่างเกมของนินเทนโดและเครื่องเล่นทุกรุ่นจากกลุ่มเพลย์สเตชัน ส่วนจัดแสดงหนึ่งของพิพิธภัณฑ์มีชื่อว่า "เพนสเตชัน" (PainStation; เป็นคำล้อของเพลย์สเตชัน รวมกับคำว่า pain ซึ่งแปลว่าความเจ็บปวด) ที่ซึ่งผู้แพ้ในเกมจะต้องถูกลงโทษทางกาย เช่นด้วยความร้อนหรือด้วยไฟฟ้าช็อตเบา ๆ[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Ungerleider, Neal (28 January 2011). "World's Largest Video Game Exhibition Opens in Berlin". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 14 August 2021.
  2. amusingplanet.com 15 May 2011 Worlds's Largest Video Game Museum

แหล่งข้อมูลอื่น แก้