คุยเรื่องหมวดหมู่:การถ่ายภาพ

Xerography แก้

ปี พ.ศ. 2478 นักฟิสิกส์ชื่อเชสเตอร์ เอฟ.คาร์ลสัน ได้จดสิทธิบัตรกระบวนการทำสำเนาอย่างง่าย ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมงามในสำนักงานไปมาก คาร์ลสันเริ่มต้นจากการคิดค้นทำแบบพิมพ์สีเขียวและเอกสารอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ค้นพบวิธีทำสำเนาอย่างหยาบโดยใช้ประจุไฟฟ้า (คล้ายกับไฟฟ้าสถิต) กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า Xerography ซึ่งมาจากภาษา กรีกสองคำ คือ Xerox และ graphics ซึ่งแปลว่า แห้ง และ พิมพ์ ตามลำดับ ดังนั้น Xerography จึงหมายถึงการพิมพ์แห้ง

กระบวนการถ่ายเอกสาร

1.  เริ่มต้นจากดรัมซึ่งเคลือบด้วยสารซีลีเนียมหมุนไปโดยรอบ ภายใต้ขั้วไฟฟ้าแรงดันสูง (7,000 โวลต์) สารซีลีเนียมบนผิวดรัมจะเกิดมีประจุ ไฟฟ้าบวก

2.  ต่อมา เลนส์และกระจกเงาจะฉายภาพจากเอกสารต้นฉบับลงบนดรัมที่กำลังหมุน ส่วนขาวของเอกสารต้นฉบับจะทำให้ประจุไฟฟ้าบนดรัมหายไป แต่ส่วนดำของเอกสารต้นฉบับไม่ทำลายประจุไฟฟ้า ดังนั้น ดรัมจึงมีประจุไฟฟ้าบวกเหลืออยู่ตามแนวเส้นสีดำบนเอกสารต้นฉบับ

3.  ประจุไฟฟ้าบวกบนดรัมที่เหลืออยู่จะมีลักษณะเหมือนกับเงาในกระจกของต้นฉบับ ผงหมึกซึ่งมีประจุไฟฟ้าลบจะเข้าเกาะบริเวณที่มีประจุไฟฟ้าบวกบนดรัม 

4.  หลังจากนั้น แผ่นกระดาษซึ่งมีประจุไฟฟ้าบวกจะกลิ้งไปบนดรัมที่กำลังหมุนและดูดผงหมึกบนดรัมมาไว้บนกระดาษ ภาพที่ได้จึงมีลักษณะเหมือนกับต้นฉบับ 

5.  ขั้นตอนสุดท้าย ความร้อนจะทำให้ผงหมึกอ่อนตัวและหลอมติดกับเนื้อกระดาษ ได้เป็นสำเนาที่ถาวรออกจากเครื่องถ่ายเอกสาร 


เครื่องถ่ายเอกสารระบบไฟฟ้าสถิต

เครื่องถ่ายเอกสารระบบไฟฟ้าสถิต เป็นกระบวนการถ่ายเอกสารแบบใช้กระดาษเคลือบ ซึ่งใช้ประจุไฟฟ้าลบในการถ่ายทอดภาพจากต้นฉบับ เช่นเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารแบบใช้กระดาษธรรมดา แต่กระบวนการของระบบไฟฟ้าสถิต ใช้วัสดุและเทคนิคคล้ายกับการอัดรูปถ่าย กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยการทำให้กระดาษเคลือบมีประจุไฟฟ้าลบ แล้วปล่อยให้กระดาษเคลือบสัมผัส กับลำแสงที่สะท้อนมาจากต้นฉบับ จากนั้นผ่านกระดาษลงในสารละลายออกและเป่าให้แห้งด้วยอากาศร้อนก่อนออกจากเครื่อง กระดาษเคลือบเป็นกระดาษที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษ หน้ากระดาษด้านที่สัมผัสกับแสงเคลือบด้วยซิงค์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่มีความไวต่อแสง ส่วนด้านหลังกระดาษเคลือบด้วยสารละลายเรซินซึ่งจะอุดรูพรุนของกระดาษ ทำให้กระดาษ ไม่ดูดซับของเหลวเมื่อถูกจุ่มลงในสารละลาย เนื่องจากกระดาษมีความไวต่อแสง ดังนั้น จึงต้องป้องกันไม่ให้ถูกแสง นอกจากในช่วงเวลาที่ถ่ายเอกสารเท่านั้น

เครื่องถ่ายเอกสารระบบสอดสี

เครื่องถ่ายเอกสารนี้ สามารถให้ภาพสีบนกระดาษธรรมดา โดยการผสมกันของผงหมึกแม่สี 3 สี คือ สีเหลือง (Yellow), สีฟ้า (Cyan), และสีแดง (Magenta) การผสมกันของ ผงหมึกแม่สีทั้งสามสี จะได้สีเขียว (Green), สีแดง (Red), สีน้ำเงิน(Blue) และสีดำ (Black) เพิ่มขึ้นมา รวมเป็นสีทั้ง หมด 7 สีด้วยกัน กระบวนการถ่ายเอกสารมีความเร็วมาก การถ่ายเอกสารที่ใช้สีครบเต็มอัตรา ใช้เวลาประมาณ 33 วินาที สำหรับแผ่นแรกและหากใช้ต้นฉบับเดิม แผ่นต่อ ๆ มาจะใช้เวลาแผ่นละประมาณ 18 วินาทีเท่านั้น และหากเลือกจำนวนสีน้อยลง กระบวนการถ่ายเอกสารก็จะยิ่งใช้เวลาน้อยกว่าเดิมอีก บนแผงหน้าปัด ของเครื่องถ่ายเอกสารจะมีปุ่มสำหรับเลือกจำนวนสีและความเข้มที่ต้องการ

แหล่งอ้างอิง ฟิสิกส์ราชมงคล ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล


โดย นายอภิชาติ สะอาดถิ่น รหัสนักศึกษา 490458 สาขาศิลปภาพถ่าย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

กลับไปที่หน้า "การถ่ายภาพ"