คุมอง

บริษัท การศึกษาที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่น

คุมอง เป็นศูนย์กวดวิชาที่สอนทางด้านวิชาคณิตศาสตร์และภาษาที่มีเครือข่ายมากที่สุดในโลก[1] โดยในปี พ.ศ. 2552 มีนักเรียนคุมองทั่วโลกกว่า 4 ล้านคนและมีศูนย์คุมองอยู่ประมาณ 26,000 ศูนย์ใน 46 ประเทศ [2]

คุมอง
ประเภทบริษัทเอกชน
อุตสาหกรรมการศึกษา , สถาบันกวดวิชา
ก่อตั้งพ.ศ. 2501
ผู้ก่อตั้งToru Kumon Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่จังหวัดโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น , เมืองทีเน็ค รัฐนิวเจอร์ซีย์
เว็บไซต์http://th.kumonglobal.com/

ประวัติคุมอง

 
สำนักงานคุมอง ที่โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น

คุมอง (公文式) ถูกคิดค้นโดย โทรุ คุมอง (公文 公) ซึ่งต้องการช่วยลูกชายที่มีปัญหากับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เขาจึงคิดออกแบบแบบฝึกหัดมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกชายของเขาได้ทำ ซึ่งส่งผลให้ลูกชายของเขาที่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์ เช่น แคลคูลัส สมการอนุพันธ์ ได้[3]

ระบบการเรียนคุมอง

ระบบการเรียนแบบคุมองเป็นระบบการเรียนแบบเฉพาะตัว โดยมีการวิเคราะห์หาจุดเริ่มต้นในการเรียนที่เหมาะสมให้แก่นักเรียนแต่ละคน นักเรียนจะเริ่มเรียนจากระดับที่พวกเขาสามารถทำคะแนนได้เต็มจากการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบฝึกหัดออกแบบมาเพื่อให้นักเรียนสามารถแก้โจทย์ได้ด้วยตนเองเมื่อนักเรียนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามกำลังของตนเอง เขาจะสามารถทำแบบฝึกหัดที่มีเนื้อหาเทียบเท่าชั้นเรียนในโรงเรียนและสามารถเรียนเนื้อหาที่เกินชั้นเรียนในโรงเรียนได้ในที่สุด

หลักสูตรคุมอง

หลักสูตรทางคณิตศาสตร์จะเหมือนกันหมดทุกสาขาทั่วโลก [4] ทุกระดับจะมีแบบฝึกหัด 2 แผ่น โดยจะเริ่มทำก่อนที่ 1 แผ่น แต่ในระดับสูงขึ้นจะลดเหลือตามแผ่น(คำถามที่ใช้เวลาเยอะ) ดังต่อไปนี้

ระดับ ให้ทำครั้งละ (แผ่น)
7A-B ครั้งละ 10 แผ่น
C-I ครั้งละ 5 แผ่น
C-K ครั้งละ 4,3,3 แผ่น(แผ่นละ 4,3,3)
K-XS ครั้งละ 1-2 แผ่น
  • หมายเหตุ ขึ้นอยู่กับนักเรียนที่จะสามารถทำได้หรือครูประจำศูนย์เป็นผู้เลือก

เนื้อหาในระดับต่างๆ

  • 7A = การนับจำนวนที่ไม่เกิน 10
  • 6A = การนับจำนวนที่ไม่เกิน 30
  • 5A = การฝึกลากเส้นและเขียนตัวเลข
  • 4A = การเขียนตัวเลข การจัดกลุ่ม
  • 3A = บทนำเกี่ยวกับการบวก
  • 2A = การบวกและการลบขั้นต้น
  • A = การบวกและการลบในแนวนอน
  • B = การบวกและการลบในแนวตั้ง
  • C = สูตรคูณ การคูณและการหารในขั้นต้น
  • D = การคูณและการหาร บทนำเกี่ยวกับเศษส่วน
  • E = การคำนวณเศษส่วนขั้นพื้นฐาน ทศนิยม
  • F = เศษส่วน ทศนิยม การบวก ลบ คูณ หาร
  • G = จำนวนบวก และ จำนวนลบ พีชคณิตเบื้องต้น สมการ
  • H = สมการเชิงเส้น 2, 3 หรือ 4 ตัวแปร ฟังก์ชันเชิงเส้น
  • I = การแยกตัวประกอบ สมการกำลังสอง
  • J = การแยกตัวประกอบขั้นสูง ทฤษฎีบทเศษเหลือ
  • K = ฟังก์ชันกำลังสอง กำลังสาม และกำลังสี่ ฟังก์ชันเศษส่วน ฟังก์ชันอตรรกยะ ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล
  • L = ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันมอดุลัส แคลคูลัส (ลิมิต อนุพันธ์ อินทิกรัล และการประยุกต์)
  • M = ฟังก์ชันตรีโกณมิติ สมการและอสมการตรีโกณมิติ เส้นตรงและวงกลม
  • N = ทางเดินของจุด อสมการกำลังสอง ลำดับและอนุกรม ลิมิตและอนุพันธ์
  • O = อนุพันธ์ขั้นสูงและการประยุกต์แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ อินทิกรัลและการประยุกต์ของอินทิกรัล สมการเชิงอนุพันธ์
  • P = XT
  • Q =XV

ระดับ O ถือว่าเป็นระดับสุดท้าย ซึ่งเมื่อเรียนจบระดับนี้แล้ว สามารถเรียนระดับ P(XT) ซึ่งเป็นโปรแกรมทางเลือกได้(คุมองในไทยมีระดับ X บางแห่งแล้ว)

  • XT = ทฤษฎีบทไซน์และโคไซน์ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทไซน์และโคไซน์
  • XV = เวกเตอร์สองมิติ พิกัดและเวกเตอร์ในสามมิติ ผลคูณภายในของเวกเตอร์ การประยุกต์ความรู้เรื่องของเวกเตอร์ เวกเตอร์และรูปทรง สมการเส้นตรง สมการของระนาบ และสมการของรูปทรงสามมิติ
  • XM = เมทริกซ์ การส่ง การแปลง
  • XP = การเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ ทฤษฎีบททวินาม ความน่าจะเป็น
  • XS = การหาค่ากลางและความความแปรปรวน การหาความน่าจะเป็นด้วยฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็น
  • ระดับ XT และ XV เคยเป็นระดับ P กับ Q มาก่อน

ความแตกต่างของวิชาในคุมองรอบโลก

ในวิชาทางด้านภาษาของคุมองทั่วโลกนั้น หลักสูตรของคุมองในแต่ละประเทศมีความหลากหลายและแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรวิชาภาษาจีนในคุมองไต้หวันนั้น ก็มีความแตกต่างจากวิชาภาษาจีนในฮ่องกง และ ประเทศสิงคโปร์ และ หลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษในประเทศสหรัฐอเมริกา, ประเทศแคนาดา และ ประเทศฟิลิปปินส์ก็มีความแตกต่างจากหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษในประเทศอังกฤษ อีกด้วย นอกจากนี้ ในคุมองประเทศเกาหลีใต้ ยังมีสอนวิชาที่แตกต่างและไม่ปรากฏในประเทศอื่นๆ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์, การคัดลายมือ, ภาษาเกาหลี,วิชาอักษรจีน และวิชาที่เพิ่งเข้ามาใหม่วิชาภาษาไทย

อ้างอิง

  1. คุมองคืออะไร เก็บถาวร 2009-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 19 เม.ย. 2552
  2. "Entrepreneur ranks Kumon No. 1 for eighth year". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-21. สืบค้นเมื่อ 2009-02-27.
  3. ประวัติความเป็นมา เก็บถาวร 2009-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูล วันที่ 19 เม.ย. 2552
  4. "แบบฝึกหัดคุมองวิชาคณิตศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-19.