คิทแคท คือ ขนมหวานเวเฟอร์แบบแท่งเคลือบช็อคโกแลต คิดค้นโดยโรวน์ทรี ที่เมือง ยอร์ค ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันผลิตส่งไปทั่วโลกภายใต้บริษัท เนสท์เล่ (ซึ่งซื้อกิจการโรวน์ทรีตั้งแต่ปี 1988)[1] ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่มีการผลิตภายใต้ เฮอร์ชี่ คิทแคทหนึ่งบาร์ (หรือเรียกเป็นชิ้นก็ได้) ประกอบด้วยเวเฟอร์สามชั้น เคลือบชั้นนอกสุดด้วยช็อคโกแลต แต่ละบาร์สามารถหักออกเป็นเวเฟอร์แท่ง ๆ ได้ คิทแคทหนึ่งบาร์จะประกอบไปด้วยเวเฟอร์สองหรือสี่แท่ง ส่วนคิทแคทแบบชังกี้ บาร์สจะเป็นแบบชิ้นใหญ่ ๆ ชิ้นเดียวมีรอยแบ่งเป็นสามส่วน

คิทแคท
โลโก้ของคิทแคท

โลโก้คิทแคทของสหรัฐ

คิทแคทถูกแบ่งครึ่ง
ชนิดสินค้าConfectionery
เจ้าของปัจจุบันNestlé (Worldwide, except the USA)
The Hershey Company
(USA only, under licence)
ประเทศUnited Kingdom
เริ่มจำหน่าย1935
ตลาดWorld
เจ้าของเดิมRowntree (1935)
สำนวนติดปาก"Have a break...have a Kit Kat" (Worldwide)
"Break time, anytime" (US only)
เว็บไซต์kitkat.com (Worldwide) www.hersheys.com/kitkat (US only)

ประวัติ แก้

ในยุคศตวรรษที่ 18 คำว่า "คิทแคท (Kit Kat หรือ Kit Cat)" ใช้เป็นชื่อเรียกอาหารชนิดหนึ่ง แต่ก่อนเคยมีการประชุมทางการเมืองที่คิท-แคท คลับในลอนดอน แล้วมีการเสิร์ฟพายเนื้อแกะ เรียกเมนูนั้นว่า คิทแคท

ปี 1911 ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ"คิทแคท" เมื่อโรวน์ทรี บริษัททำขนมหวานตั้งอยู่เมืองยอร์ค ประเทศอังกฤษ ใช้ชื่อ "คิทแคท (Kit Kat และ Kit Cat)" ในตอนแรกชื่อนี้ยังไม่ได้ใช้กันเท่าไหร่นัก จนกระทั่งช่วงปี 1920 มีคิทแคทแบบแรกออกมา, เมื่อโรวน์ทรีเปิดตัวขนมกล่องช็อคโกแลต ตั้งชื่อว่า "คิทแคท" มีการผลิตจำหน่ายต่อเนื่องจนถึงช่วงปี 1930 โรวน์ทรีก็หันมาให้ความสนใจกับสินค้าผลิตภัณฑ์ "แบล็คเมจิค" และ "ไดอารี่ บ๊อกซ์ (Dairy Box)" แทน ด้วยการทำโปรโมชั่นสินค้าตัวนี้มาแทนที่คิทแคท ทำให้คิทแคทจำหน่ายได้น้อยลงมากจนต้องหยุดกระบวนการผลิตในที่สุด[2] คิทแคทบาร์แบบที่ประกอบไปด้วยเวเฟอร์สี่ชิ้นแบบดั้งเดิม เกิดขึ้นมาจากคนงานคนหนึ่งที่โรงงานโรวน์ทรีที่ยอร์คได้เขียนแสดงความคิดเห็นว่า อยากได้ขนมแบบที่ "สามารถพกใส่กระเป๋าไปที่ทำงานได้".[3] คิทแคทบาร์นี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 1935 ภายใต้ชื่อ "โรวน์ทรี ช็อคโกแลตกรุบกรอบ (โรวน์ทรี ช็อคโกแลต คริสป์)" (ราคา 2d) วางจำหน่ายที่ลอนดอนและทางใต้ของอังกฤษ[4]

ในปี 1937 ผลิตภัณฑ์ "โรวน์ทรี ช็อคโกแลตกรุบกรอบ (โรวน์ทรี ช็อคโกแลต คริสป์)" ภายหลังเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า "คิทแคท ช็อคโกแลตกรุบกรอบ (คิทแคท ช็อคโกแลต คริสป์)" แทน ในปีเดียวกันนี้ 'คิทแคท (Kit Kat) ' เริ่มใช้กลยุทธในการโฆษณาโดยการเอาคำว่า "พัก (Break)" มาใช้[2] ในปี 1942 โทนสีและรสชาติเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเกิดสภาวะอาหารขาดแคลน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหาร รวมถึงรสชาติของ "คิทแคท" ก็เปลี่ยนจะ "เข้ม" กว่าเดิม ส่วนห่อผลิตภัณฑ์ใช้สีน้ำเงินแทน และไม่มีคำว่า "ช็อคโกแลตกรุบกรอบ (ช็อคโกแลต คริสป์)" แล้ว[5] หลังจากสงครามยุติ บนห่อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนมาใช้ชื่อ "คิทแคท (Kit Kat)" และกลับไปใช้สูตรที่ผสมนม รวมถึงสีห่อผลิตภัณฑ์ก็เป็นสีแดงเหมือนเดิม

 
4-finger Kit Kat

ช่วงปี 1940 หลังจากที่ประสบความสำเร็จในอังกฤษ ก็มีการส่งออกคิทแคทไปแคนาดา, แอฟริกาใต้, ไอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, และนิวซีแลนด์ ในปี 1958, โดนัลด์ กิลเลส (ผู้บริหารของเจดับบลิวที ออแลนด์) ได้คิดประโยคโฆษณาที่ติดหูมาก ซึ่งก็คือ "คิดจะพัก คิดถึงคิทแคท (Have a Break, Have a Kit Kat)" ในช่วงปี 1970 เมื่อโรวน์ทรีสร้างโรงงานกระจายสินค้าแห่งใหม่ที่เยอรมันเพื่อเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าออกสู่ยุโรปทั้งหมด นั่นหมายความว่า ธุรกิจของคิทแคทเติบโตขึ้นมาก รวมถึงมีการตกลงร่วมกันเพื่อขยายแบรนด์ไปสู่ตลาดของสหรัฐอเมริกาและจีนผ่านบริษัทเฮอร์ชี่และฟูจิยา ตามลำดับ[2] ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 1988 เนสท์เล่ได้สิทธิ์ของคิทแคทจากการซื้อโรวน์ทรีทั้งหมด ทำให้เนสท์เล่ได้เป็นผู้ควบคุมดูแลทุกอย่างของคิทแคท ยกเว้นคิทแคทในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น,[6] การผลิตและการกระจายสินค้าขยายโตขึ้นมากเพราะมีโรงงานในญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังเพิ่มการผลิตในมาเลเซีย อินเดีย และจีน[2]

ตั้งแต่ปี 1970 บริษัทเฮอร์ชี่มีสิทธิ์ในการผลิตคิทแคทบาร์ในสหรัฐอเมริกา เพราะเฮอร์ชี่บังคับใช้ข้อตกลงทางกฎหมายที่มีกับโรวน์ทรี ส่วนเนสท์เล่ ซึ่งเป็นบริษัทอเมริกันเหมือนกัน จำต้องยอมรับข้อบังคับทางกฎหมายเมื่อคราวที่ซื้อกิจการของโรวน์ทรีมาในปี 1988 ซึ่งในตอนนั้นมีการอนุญาตให้เฮอร์ชี่มีส่วนในลิขสิทธิ์ของคิทแคทจนกว่าจะมีการขายกิจการเฮอร์ชี่ ทั้งนี้คิทแคทเป็นหนึ่งในห้าอันดับสินค้าฮิตของเฮอร์ชี่ในส่วนตลาดของสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุนี้ทำให้คิทแคทไม่เป็นที่สนใจของการซื้อขายบริษัทในปี 2002[7][8]

ในปี 1996 ช็อคโกแลตบาร์หลากหลายรสชาติวางจำหน่าย "คิทแคทรสส้ม" รสชาติแรกที่ออกมา วางจำหน่ายครั้งแรกที่อังกฤษ ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้มีการคิดค้นรสชาติใหม่ ๆ ออกมาอีก เช่น รสมิ้นท์ และราสคาราเมล ในปี 1999 มีการเปิดตัว "คิทแคทชังกี้" เป็นที่นิยมมากไปทั่วโลก "คิทแคท" มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งช่วงทศวรรษที่ 20 เมื่อปี 2000 เนสท์เล่ได้ส่วนแบ่งของกิจการฟูจิย่าที่ญี่ปุ่น มีการขยายส่วนตลาดทั้งที่ญี่ปุ่น รัสสเซีย ตุรกี และเวเนซูเอล่า รวมถึงส่วนตลาดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก[2] ตลอดทั้งสิบปีนี้ 'คิทแคท' ออกรสชาติต่าง ๆ มามากมายเพื่อเจาะตลาดในแต่ละกลุ่มผู้บริโภค มีการฉลองครบรอบ 75 ปีเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ปี 2009

ช็อคโกแลตบาร์แบบดั้งเดิมประกอบด้วยเวเฟอร์สี่แท่ง แต่ละแท่งกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร (0.4 นิ้ว) ยาว 9 เซนติเมตร (3.5 นิ้ว) บาร์แบบเวเฟอร์สองแท่งเปิดตัวในช่วงปี 1930 และกลายเป็นรสชาติยอดนิยมตั้งแต่นั้นมา[4] ในปี 1999 "คิทแคท ชังกี้" (ที่อเมริกาใช้ชื่อ "บิ๊กแคท" หรือ "คิทแคท เอ็กตร้าคริสปี้") เป็นแท่งเวเฟอร์ขนาดใหญ่ กว้างประมาณ2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) คิทแคทบาร์จะประกอบด้วยเวเฟอร์กี่แท่งนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการในตลาด มีตั้งแต่ขนาดเล็กครึ่งหนึ่งของขนาดปกติ "คิทแคท เปอตี" ที่วางขายในญี่ปุ่น, ขนาดเวเฟอร์สามแท่งที่วางขายในอราเบีย, ขนาดสิบสองแท่งเวเฟอร์พอดีสำหรับทั้งครอบครัววางขายในออสเตรเลียและฝรั่งเศส คิทแคทบาร์ที่ออกจำหน่ายจะมีแบบแยกเป็นแพ็ค, แบบเป็นกล่อง, และแบบหลายแพ็ค ในไอร์แลนด์ อังกฤษและอเมริกามี คิทแคทไอศครีมวางจำหน่าย ส่วนที่ออสเตรเลียและมาเลเซีย มี"คิทแคท ดรัมสติ๊ก"

เมื่อปี 2010 เนสท์เล่ในเมืองยอร์คมีการเพิ่มไลน์การผลิตสินค้าใหม่ทุ่มงบ 5 ล้านปอนด์ ซึ่งสามารถผลิตคิทแคทบาร์เพิ่มได้มากกว่าพันล้านแท่งต่อปี[9]

คิทแคทดังไปทั่วโลก แก้

มีการผลิตคิทแคทโดยเนสท์เล่ใน 15 ประเทศทั่วโลก ดังนี้ บราซิล, อังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, แอฟริกาใต้, เยอรมัน, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, จีน, มาเลเซีย, อินเดีย, ตุรกี, อาหรับ เอมิเรตส์, และบัลแกเรีย ส่วนคิทแคทบาร์ในอเมริกาผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัทเฮอร์ชี่ ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งของเนสท์เล่ เนื่องจากเคยมีสัญญาที่ทำไว้กับโรวน์ทรีมาก่อน

ในปี 2003 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของคิทแคทบาร์ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมขนมอื่น ๆ ทั่วไป ความนิยมของการทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ และกระแสการทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นที่นิยมกันทั่วโลก อีกทั้งยังมี สินค้าคู่แข่งจาก แคดเบอรี่ ชื่อว่า ไดรี่ มิ้ลค์ มาแบ่งส่วนในตลาดด้วย ทำให้ยอดจำหน่ายของคิทแคทลดลงอย่างมากในอังกฤษ เป็นผลให้ร่วงลงมาจากการครองแชมป์อันดับหนึ่งตลอดที่ผ่านมา[10][11] ภายหลังจึงมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ ๆ รสชาติหลากหลาย และวางจำหน่ายจำนวนจำกัด หมายความว่าสินค้าชนิดนี้จะหาซื้อได้เพียงแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ สองสามเดือนเท่านั้น เพราะฉะนั้นสินค้าชนิดนี้จะไม่มีผลกระทบต่อการวางจำหน่ายสินค้าแบบธรรมดา[12] กลยุทธนี้ค่อย ๆ ช่วยให้คิทแคทได้ส่วนแบ่งในตลาดกลับมา[13] หลาย ๆ บริษัทเช่น เนสท์เล่, เฮอร์ชี่, มาร์ส และอื่น ๆ ก็ใช้กลยุทธเดียวกันนี้ และประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน[14][15]

จากนั้นเรื่อยมา จะได้เห็นคิทแคท (และขนมอื่น ๆ ) ในรสชาติและรูปแบบต่าง ๆ บางรสชาติก็เป็นที่นิยมมาก บางรสชาติก็ไม่ประสบความสำเร็จ, ในขณะเดียวกัน สินค้าไม่ได้ตอบโจทย์ผู้บริโภคเท่าไหร่นัก ทำให้เนสท์เล่คิดค้นสินค้าใหม่ ๆ ออกมาอีกครั้ง[ต้องการอ้างอิง]

ช่วงปลายปี 2005, คริส ไวท์ กรรมการผู้จัดการของเนสท์เลล่ โรวน์ทรี ตัดสินใจลาออกทันที เนื่องจากกลยุทธทางการตลาดของเขาอาจส่งผลกระทบทางด้านลบกับสินค้าคิทแคทและขนมอื่น ๆ ในระยะยาว[16] ในเดือนกันยายน ปี 2006 เนสท์เล่ออกมาประกาศว่า จะมีการลดจำนวนแรงงานในเมืองยอร์คลง 25% และย้ายฐานการผลิตสินค้า สมาร์ทตี้ ไปเยอรมันแทน ด้วยเหตุผลที่ว่า จะใช้โรงงานในยอร์คเป็นฐานผลิตคิทแคทเท่านั้น[17]

พบว่า แบบช็อคโกแลตดาร์ค (แบบเข้มข้นไม่ผสมน้ำตาล)เป็นที่นิยมมากในตลาด เพราะมีประโยชน์สุขภาพ ในเดือนกันยายน ปี 2006 คิทแคทมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ทั้งหมด และเปิดตัวสินค้าคิทแคทบาร์เวเฟอร์สี่แท่งแบบเข้มข้น ซึ่งในอังกฤษจะวางจำหน่ายแบบถาวรไม่จำกัดระยะเวลา, [ต้องการอ้างอิง] ส่วนที่อเมริกา เฮอร์ชี่วางจำหน่ายแบบจำนวนจำกัด ซึ่งได้รับความนิยมมาก จึงมีการผลิตออกมาขายเป็นช่วง ๆ [18]

ปัจจุบัน (ยังไม่ทราบระยะเวลาที่แน่ชัด) เนสท์เล่ได้คิดค้นคิทแคทแบบเวเฟอร์สองแท่ง กลิ่นและรสแบบธรรมชาติ และคิทแคทรสนี้เป็นรสชาติแรกที่เหมาะสำหรับผู้ทานมังสวิรัติ[ต้องการอ้างอิง]

แบบผลิตภัณฑ์ แก้

แต่เดิมช็อคโกแลตบาร์ของโรวน์ทรีใช้บรรจุภัณฑ์สีแดง แต่ในช่วง 1945–1947 เปลี่ยนมาใช้สีฟ้าแทน เนื่องจากเป็นช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง วิกฤตขาดแคลนนมมาก การเคลือบเวเฟอร์ด้วยช็อคโกแลตนมจึงต้องหยุดการผลิตไว้ก่อน เปลี่ยนมาใช้ช็อคโกแลตดาร์ค (ช็อคโกแลตเข้มข้นไม่ผสมนม) แทน

ตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกช่วง 1970 การโฆษณารวมถึงบรรจุภัณฑ์คิทแคทของเฮอร์ชี่มนสหรัฐอเมริกาแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง ในปี 2002 คิทแคทของเฮอร์ชี่เปลี่ยนมาใช้สัญลักษณ์วงรีเอียงตามแบบที่เนสท์เล่ใช้วางจำหน่ายไปทั่วโลก สัญลักษณ์นั้นเป็นวงรีสีแดง ส่วนตัวอักษรใช้สีขาว ส่วนสินค้า "คิทแคทชังกี้" ที่อเมริกา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "บิ๊กแคท".

ในอังกฤษ จะใช้บรรจุภัณฑ์เป็นฟอยล์สีเงินแล้วห่ออีกชั้นด้วยกระดาษสีแดว ซึ่งในปี 2001 มีการนำพลาสติกแบบห่อคลุมทั้งชิ้นมาใช้แทน[19]

ในนอร์เวย์ มีผลิตภัณฑ์คล้ายกันผลิตโดย คราฟท์ ฟู้ด วางจำหน่ายสินค้าโดยใช้ชื่อ ควิ๊ก ลั้นช์ (Kvikk Lunsj) ; ซึ่งควิ๊ก ลั้นช์ขนาดใหญ่ที่สุด จะเหมือนกับคิทแคทชังกี้เลย

การตลาดและรายการส่งเสริมการขาย แก้

หลังจากเปิดตัวในช่วง 1930s โรวน์ทรี ช็อคโกแลต คริสป์ ใช้คำโฆษณาว่า "คิทแคทรองท้องอิ่มอร่อย" และ "กินคู่กับชาต้องกินคิทแคท" ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คิทแคทใช้เหตุการณ์สงครามนี้มาใช้ตั้งสโลแกนว่า "คิทแคทเพิ่มพลัง" ในช่วงปลายของยุค 1940 มีสินค้า 'คิตตี้ เดอะ แคท' ซึ่งเน้นนำเสนอในคุณภาพรส "ครีมนมเข้มข้น" ของช็อคโกแลตบาร์, มีการทำโฆษณาเน้นไปที่เสียง 'เป๊าะ' เวลาหักแท่งเวเฟอร์ รวมถึงภาพหักแท่งเวเฟอร์คิทแคท ในปี 1951 มีโปสเตอร์คิทแคทครั้งแรก และปี 1969 มีการโฆษณาในโทรทัศน์สีครั้งแรก

ตั้งแต่ปี 1958 คิทแคทใช้สโลแกนว่า "คิดจะพัก คิดถึงคิทแคท" อย่างไรก็ตาม ในปี 1995 เนสท์เล่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้า "คิดจะพัก" บางส่วน หลังจากกรณีขัดแย้งทางกฎหมายกับคู่แข่ง มาร์ส, ศาลยุติธรรมยุโรป ตัดสินเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2005 ส่งคดีความกลับไปยังศาลยุติธรรมอังกฤษ[20]

ช่วงต้นของยุค 1980 สหรัฐอเมริกาใช้สโลแกนสั้น ๆ ว่า "อร่อยจนต้องคำราม" โฆษณาในโทรทัศน์ที่เป็นที่รู้จักคือโฆษณาชุดที่ร้านขายขนม ซึ่งมีชายคนหนึ่งกัดเวเฟอร์คิทแคท แล้วคำรามออกมาดัง ๆ เหมือนสิงโตจนทำให้ร้านทั้งร้านเหมือนโดนแผ่นดินไหว สโลแกนอีกอันหนึ่ง คือ "เติมเต็มความต้องการ" ในโฆษณานั้นเป็นฉากที่ชายคนหนึ่งทยอยหยิบขนมออกมาจากกระเป๋าแต่ไม่ถูกใจสักอย่าง จนกระทั่งหยิบเจอคิทแคท

โฆษณาชุด "คลาสสิค" ของอเมริกาคือ "ขอพักซักนิด" เพลงคิทแคท จิงเกิ้ล (ใช้มาตั้งแต่ปี 1986) โดย เคน ชั้ดแมน (คำร้อง) และ ไมเคิล เอ เลอวีน (ทำนอง) แต่งให้กับ ดีดีบี แอดเวอไทซิ่ง เอเจนซี่ เวอร์ชันแรกร้องโดย แคร์รี่ อันเดอร์วู้ด, ฌอน โคลวิน, ร่วมกับนักร้องสตูดิโอ พวกเขาได้แสดงในโฆษณาด้วย งานวิจัยของมหาวิทยาลัยซินซินเนติ นักวิจัยชื่อ เจมส์ เอ เคลลาริส ถือให้เพลงจิงเกิ้ลนี้เป็นหนึ่งในสิบอันดับ "เสียงติดหู" (ทำนองเพลงที่เล่นซ้ำ ๆ วนในหัว) โฆษณาจิงเกิ้ลอีกเวอร์ชันหนึ่ง "โรงงาน" โดยว่าจ้างให้ แอนดริว ดับบลิว เค แต่งทำนองใหม่ให้เข้ากับสโลแกน "ขอพักซักนิด" โฆษณาชิ้นนี้มีการเต้นตามที่ต่าง ๆ ในที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม เพลงในชุด "คลาสสิค" ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งเมื่อปี 2004

ในปี 1987 โฆษณาคิทแคทในอังกฤษ[4] เป็นแพนด้ายักษ์ในสวนสัตว์ สื่อว่า "พักซักนิด", ได้อันดับที่ 30 ในการจัดอันดับ "100 สุดยอดโฆษณา" ของช่อง 4 ในปี 2000 ต่อมาเมื่อปี 2004 เนสท์เล่ในอังกฤษเปลี่ยนสโลแกนเป็น "ให้เป็นช่วงเวลาพักที่ดีที่สุด".[21] แต่สโลแกนนี้ไม่เป็นที่นิยมนัก เนสท์เล่โรวน์ทรีจึงรีบเปลี่ยนกลับมาใช้สโลแกนเดิม

ช่วงปลายปี 2004 ถึง 2006 เนสท์เล่โรวน์ทรีเป็นผู้สนับสนุนหลักให้กับสโมสรฟุตบอลอังกฤษยอร์ค ซิตี้ เอฟ.ซี. เป็นผลให้สโมสรเปลี่ยนชื่อจาก สนามกีฬาบูธแฮม เป็น สนามกีฬาคิทแคท[22]

ในปี 2012 ที่อังกฤษและไอร์แลนด์ทำการตลาดสินค้าชังกี้คิทแคทหลายรสชาติ และมีการให้ผู้บริโภคออกเสียงว่าชอบรสชาติไหนมากที่สุดจากรสช็อคโกแลตขาว, แบบเคลือบช็อคโกแลตสองชั้น, รสเนยถั่ว, และรสส้ม โดยสรุปรสเนยถั่วมาเป็นอันดับหนึ่งด้วยเสียงมากถึง 47% ในปี 2013 ก็มีการออกเสียงแบบนี้อีกโดยเลือกจากรสมิ้นท์, มะพร้าว, ถั่วเฮเซลและช็อคโกแลตฟัดจ์

ความเชื่อมโยงกับแอนดรอยด์ แก้

เมื่อเดือนกันยายน 2013 มีประกาศออกมาว่า ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เวอร์ชัน 4.4 ของ กูเกิ้ล จะใช้ชื่อว่า "คิทแคท"[23] ทางกูเกิ้ลได้ขอลิขสิทธิ์มาจากเนสท์เล่โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ [24] มีรายการส่งเสริมการขายแอนดรอยด์คิทแคทบาร์ซึ่งออกแบบมาพิเศษเพื่องานนี้โดยเฉพาะวางจำหน่ายในหลาย ๆ ประเทศสามารถใช้ชิงโชคลุ้นรับเน็กซัส 7 และกูเกิ้ล เพลย์สโตร์เครดิต

แฟร์เทรด (การค้าโดยชอบธรรม) แก้

เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2009 มีการประกาศว่า คิทแคทแบบบาร์เวเฟอร์สี่แท่งนั้นจะผลิตโดยใช้ช็อคโกแลตแฟร์เทรด (สินค้าที่มาจากผู้ผลิตประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก) (อย่างน้อยก็ในอังกฤษและไอร์แลนด์) จะเริ่มตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นไป[25] และจะใช้ผลิตคิทแคทบาร์เวเฟอร์ทั้งหมดภายในเดือนมกราคม 2010[26]

ตั๋วทองนำโชค แก้

ช่วงสามอาทิตย์แรกของการฉายบิ๊กบราเธอร์ส ปีที 7, ทางช่อง 4 ร่วมกับเนสท์เล่นำเสนอรายการส่งเสริมการขายคิทแคท ซึ่งก็คือ "ตั๋วทอง" 100 ใบที่ปะปนอยู่ในคิทแคทที่วางจำหน่าย ลักษณะเดียวกับวิธีในเรื่อง ชาร์ลีกับโรงงานช็อคโกแลต ผู้ที่พบตั๋วทองนี้จะได้รับโอกาสเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในรายการบิ๊ก บราเธอร์ส โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการออดิชั่นตามแบบปกติ

ผู้ที่พบตั๋วทองทั้งหมดได้รับเชิญเข้าร่วมรายการ โดยที่ ไอสเลเน ฮอร์แกน-วอลเลซ หยิบลูกบอลชื่อ ซูซี่ เวอริโค หนึ่งในผู้พบตั๋วทองออกมาจากเครื่องสุ่มคัดเลือก เธอจึงได้เป็นหนึ่งในผู้แข่งขัน

แต่การชิงโชคครั้งนี้เป็นที่ไม่พอใจเท่าไหร่นัก องค์กรควบคุมสื่อโฆษณากล่าวว่า ในโฆษณาควรมีการแจ้งเงื่อนไขข้อกำหนดและข้อตกลงของการจับรางวัลอย่างชัดเจน และควรมีกรรมการควบคุมดูแลตลอดการจับรางวัล[27]

ความหลากหลาย แก้

รสชาติต่าง ๆ แก้

คิทแคทมีหลายรสชาติมากมาย แต่บางรสวางจำหน่ายจำนวนจำกัดเท่านั้น ตัวอย่างเช่น คิทแคทในช่วงเทศกาลสำคัญอย่างวันวาเลนไทน์[ต้องการอ้างอิง] ที่ญี่ปุ่น นับตั้งแต่ปี 2000 เนสท์เล่ได้จำหน่ายคิทแคทมากกว่า 200 รสแล้ว[28] เช่น จิงเจอร์ เอล ((ขิง), ซอสถั่วเหลือง, เครม บรูเล่ย์ (คัสตาร์ด), ชาเขียว, และกล้วย[29] แต่ละรสที่คิดค้นขึ้นมานั้นทำเพื่อเอาใจลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น [30] โดยชื่อคิทแคทในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า "คิตโตะ แคทซึ" ซึ่งมีความหมายว่า "จะต้องชนะอย่างแน่นอน" ผู้คนจึงนิยมซื้อให้กันเป็นของขวัญนำโชค[28]

นอกจากคิทแคทรสช็อคโกแลตแบบเดิมแล้ว มีการวางจำหน่ายคิทแคทรสส้มที่อังกฤษในปี 1996 และที่ไอร์แลนด์ในปี 1998 ตามมาด้วยคิทแคทดาร์ค (แบบเข้มข้น) และคิทแคทมิ้นท์ในปี 1997[ต้องการอ้างอิง] ในอังกฤษมีการจำหน่ายทั้งสามรสชาติแบบแพ็คห่อใหญ่ที่ภายในบรรจุบาร์เวเฟอร์คู่หลาย ๆ ชิ้น ซึ่งรสพิเศษสามรสนี้ไม่ได้ผลิตจำนวนจำกัด สามารถหาซื้อได้ทั่วไปเหมือนกับคิทแคทแบบดั้งเดิม, คิทแคทไว้ท์ (คิทแคทช็อคโกแลตขาว), และตั้งแต่ปี 2012 มีวางจำหน่ายรสคุ้กกี้แอนด์ครีมด้วย

มีสินค้าพิเศษมากมายขึ้นตั้งแต่สินค้าทั่ว ๆ ไป (เช่น แก้วมัค, ปากกา, ถุงมือเตาอบและผ้าเช็ดมือ) จนถึงสินค้าเฉพาะอย่างเช่นเสื้อโค้ทของสุนัขตัวเล็ก ไม่นานมานี้ที่ญี่ปุ่น[เมื่อไร?] คิทแคทได้วางจำหน่ายรวมกับซีดีซิงเกิล และยังมีคิทแคทคริสปี้โมโนกาตาริแบบแพ็คคู่ที่จำหน่ายมาพร้อมกับหนังสือรวมเรื่องสั้นทั้งหก หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องที่เขียนโดย โคจิ ซูซูกิ (ผู้เขียนนิยายชุดเรื่อง ริง ไซเคิล ซึ่งมีวางจำหน่ายในจำนวนจำกัด นอกจากนั้น คิทแคทในญี่ปุ่นยังมีวางจำหน่ายในขวดโหลด้วย (จำหน่ายที่ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ)

รูปร่างขนม แก้

 
Kit Kat varieties: Pop Choc, regular and Chunky (or Big Kat)

คิทแคทแบบดั้งเดิมมีรูปร่างเป็นแท่งบาร์ จะมีแบบบาร์เล็ก ๆ เป็นเวเฟอร์คู่ หรือขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกนิดก็จะเป็นแบบบาร์เวเฟอร์สี่แท่ง หรืออาจจะเป็นบาร์เวเฟอร์สามแท่ง ซึ่งแต่ละขนาดจะมีบรรจุภัณฑ์และคุณค่าทางโภชนาการที่ต่างกันออกไป

คิทแคทขนาดมาตรฐานนั้น มีหลายขนาด ขนาดใหญ่ที่สุดเรียก 'บาร์คิงไซส์' ซึ่งประกอบด้วยเวเฟอร์ห้าหรือแปดแท่ง คิทแคทแบบเวเฟอร์ชิ้นเดียวขนาดใหญ่ เรียกว่า "ชังกี้ คิทแคท" เปิดตัวที่อังกฤษในปี 1998 และมีทำออกมาจำหน่ายหลากหลายรสชาติ

นอกจากนั้นยังมี "ช็อคแอนด์โก (Choc'n'Go)" วางจำหน่ายที่ฝรั่งเศสซึ่งเป็นการห่อแยกเวเฟอร์แต่ละแท่งไม่เหมือนแบบธรรมดา, คิทแคทแบบเวเฟอร์สิบสองแท่ง "แฟมิลี่ บล็อก" มีวางจำหน่ายที่นิวซีแลนด์ , ที่ออสเตรเลียมีคิทแคทแบบ "ป๊อปช็อค" เป็นเวเฟอร์ก้อนกลมขนาดพอดีคำ, และยังมีอีกหลายแบบ เช่น "คิวส์" คิทแคทก้อนสี่เหลี่ยมลูกบาศก์เล็ก ๆ , "เซ้นส์" คิทแคทสอดไส้ถั่วเคลือบน้ำตาล , โยเกิร์ตผสมราดหน้าด้วยคิทแคท และ ไอศกรีมโคนคิทแคท

ช่วงปี 1980 มีการจำหน่ายคิทแคทบาร์แบบเวเฟอร์ห้าแท่งเล็ก ๆ ผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่อังกฤษ[31]

ในปี 2014 ที่ญี่ปุ่น วางจำหน่ายคิทแคท เบค แอน เทสตี้ มินิ คิทแคท รสคัสตาร์ด พุดดิ้ง โดยจะต้องนำคิทแคทไปอบในเตาก่อนทาน ซึ่งน้ำตาลที่ผิวขนมเมื่อโดนความร้อนจะกลายเป็นคาราเมลนั่นเอง[32]

โดนคว่ำบาตร แก้

เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2010 กรีนพีซออกมาต่อต้านคิทแคทเนื่องจากมีการใช้น้ำมันปาล์มเป็นส่วนผสม ซึ่งองค์กรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอ้างว่า เป็นการทำลายป่าไม้ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกอุรังอุตังในอินโดนีเซีย[33] ทางกรีนพีซใช้วิธีปล่อยวิดีโอในยูทูปทำให้กลายเป็นกระแสไวรอล[34] เนสท์เล่จึงออกมาแถลงร่วมกับมูลนิธิเดอะ ฟอเรสท์ ทรัสต์ เรื่อง "นโยบายการรับผิดชอบต่อแหล่งวัตถุดิบ" และย้ำให้มันใจว่า สินค้าทุกชนิดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่าอย่างแน่นอน และจะมีเป้าหมายที่จะทำอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนภายในปี 2015.[35]

ส่วนผสม แก้

ส่วนผสมหลักของคิทแคทตามที่แจ้งไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ มีดังนี้ (เรียงตามน้ำหนัก) : ช็อคโกแลตนม (น้ำตาล, นม, เนยโกโก้ (ไขมันจากเมล็ดโกโก้), เนื้อโกโก้บด, ผงโปรตีน (เวย์ โปรตีน), แลคโตส, เลซิตินจากถั่วเหลือง , สารเพิ่มความข้นหนืด (โพลีกลีเซอรอล โพลีริซิโนลีเอท), แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ), แป้งข้าวสาลี, น้ำตาล, น้ำมันปาล์มแปรรูป, โกโก้, โซเดียม ไบคาร์บอเนต, เลซิตินจากถั่วเหลือง, ยีสต์, แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ

ยุโรป แก้

นมช็อคโกแลต (66%) (น้ำตาล, เนยโกโก้, เนื้อโกโก้บด, นมสดแบบผง, เนื้อโกโก้, แลคโตสและเวย์โปรตีน, ผงเวย์โปรตีน, สารอิมัลซิไฟเออร์ (เลซิตินจากทานตะวัน), ไขมันเนย, สารแต่งรสและกลิ่น), แป้งสาลี, น้ำตาล, ไขมันพืช, เนื้อโกโก้, ยีสต์, สารที่ทำให้ขึ้นฟู (โซเดียม ไบคาร์บอเนต), เกลือ, อิมัลซิไฟเออร์ (เลซิตินจากถั่วเหลือง), สารแต่งรสและกลิ่น

ในปี 2006 คิทแคทบาร์แบบเวเฟอร์สี่ชิ้นในยุโรปให้พลังงาน 233 แคลอรี่ (kcal) (975 kilojoules) ส่วนในปี 2009 คิทแคทบาร์แบบเวเฟอร์สองชิ้นให้พลังงาน 107 calories และในปี 2013 คิทแคทชิ้นใหญ่ (ชังกี้) ให้พลังงาน 247 แคลอรี่[36][37]

สหรัฐอเมริกา แก้

คิทแคทเวเฟอร์กรอบเคลือบช็อคโกแลค ของเฮอร์ชี่ [1 oz] น้ำตาล, แป้งสาลี, เนยโกโก้, นมไขมันต่ำ, ช็อคโกแลต, น้ำมันจากเนื้อในเมล็ดปาล์มบริสุทธิ์, แลคโตส (นม), ไขมันนม, รวมถึง เลซิตินจากถั่วเหลือง, พีจีพีอาร์ (อิมัลซิไฟเออร์), ยีสต์, สารแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์,เกลือ, และโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นจำนวน 2% หรือน้อยกว่า

แคนาดา แก้

นมช็อคโกแลต (น้ำตาล, นมผงแปรรูป, เนยโกโก้, ช็อคโกแลตฝาด (แบบไม่มีน้ำตาล), แลคโตส, เลซิตินจากถั่วเหลือง, โพลีกลีเซอรอล โพลีริคโนลีเอท, สารแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์), แป้งสาลี, น้ำตาล, น้ำมันปาล์มแปรรูป, ช็อคโกแลตฝาด (แบบไม่มีน้ำตาล) หรือผงโกโก้, โซเดียม ไบคาร์บอเนต, เลซิตินจากถั่วเหลือง, สารแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์ อาจมีการผสมเกลือและยีสต์ลงไปด้วย นอกจากนี้มีสินค้าคิทแคทครีมิเออร์ ช็อคโกแลตจำหน่ายด้วย

คิทแคทสูตรเข้มข้น แก้

ช็อคโกแลตดาร์ค (เข้มข้น) (น้ำตาล, ช็อคโกแลตฝาด (แบบไม่มีน้ำตาล), เนยโกโก้, นม, เลซิตินจากถั่วเหลือง, เกลือ, สารแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์), แป้งสาลี, น้ำตาล, น้ำมันปาล์มแปรรูป, ช็อคโกแลตฝาด (แบบไม่มีน้ำตาล) หรือผงโกโก้, โซเดียม ไบคาร์บอเนต, เลซิตินจากถั่วเหลือง, สารแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์ อาจมีการผสมเกลือและยีสต์ลงไปด้วย

เอเชีย แก้

เนสท์เล่มีฐานการผลิตอยู่หลายแห่งในจีน เพื่อกระจายสินค้าในจีนและส่งไปฮ่องกง ในช่วงปี 2008 ข่าวสารปนเปื้อนในนมที่จีน พบสารเมลามีนปนเปื้อนในผู้ผลิตนมบางราย ทำให้ฮ่องกงเปลี่ยนไปรับสินค้าที่ส่งออกจากอังกฤษแทน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Nestlé UK Website- History of Rowntree". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-18. สืบค้นเมื่อ 4 April 2007. 1988 - Nestlé SA buys Rowntree plc.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Happy 75th birthday Kit Kat] Nestlé". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-15. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
  3. "KitKat's 75th anniversary heralded". The Press. Christchurch, New Zealand: Fairfax Media. 12 October 2010. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  4. 4.0 4.1 4.2 "The History of Kit Kat". Nestlé. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-10. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  5. "Kit Kat Turns 75". Stevenage, England: Popsop. 11 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  6. "Kit Kat Celebrates Its 75th Anniversary". Net News Publisher. 12 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  7. "Nestlé quiet on Hershey sale". Confectionery News. William Reed Business Media. 5 August 2002. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  8. Sorkin, Andrew Ross (27 August 2002). "Possible buyers, seller far apart on Hershey sale / Price and politics are obstacles". San Francisco Chronicle. San Francisco: Hearst Communications. New York Times. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  9. "Nestlé's new UK wafer line to boost Kit Kat production". Nestlé. 20 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  10. "Fat profits: Choc tactics". BBC News. 24 March 2004. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  11. "Consumers 'snub unhealthy brands'". BBC News. London: British Broadcasting Corporation. 13 December 2003. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  12. Uhlig, Robert (19 February 2004). "Cheesecake Kit Kat? Give us a break". The Telegraph. London: Telegraph Group. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  13. "Lemon Yoghurt Boosts Kit Kat" (PDF) (Press release).[ลิงก์เสีย]
  14. "Limited Editions Are Latest Candy Craze". ABC News. 18 July 2005. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  15. Abelson, Jenn (2 May 2005). "Limited-edition candies sweeten the marketplace". The Boston Globe. Boston: The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.(ต้องรับบริการ)
  16. "Nestlé: Crisis follows crisis at Nestlé". BrandRepublic. London: Haymarket Media Group. 16 November 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-21. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  17. . London. Reuters. 20 September 2006 http://today.reuters.co.uk/news/articlebusiness.aspx?type=businessNews&storyID=2006-09-20T165459Z_01_ZAT005483_RTRUKOC_0_UK-FOOD-NESTLE1.xml. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)[ลิงก์เสีย]
  18. "Hersheys Product Locator". The Hershey Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-07-22.
  19. Suzy Bashford "BRAND HEALTH CHECK: Kit kat", Marketing, 14 June 2001
  20. "Kit Kat slogan dispute sent back to U.K. courts". International Herald Tribune. La Défense, France: The New York Times Company. 8 July 2005. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  21. Marinovich, Slaven (6 June 2005). "Kit Kat barred". Brand Channel. Interbrand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  22. "City stadium takes sponsor's name". BBC News. London: British Broadcasting Corporation. 18 October 2005. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  23. "Android KitKat".
  24. Kelion, Leo (3 September 2013). "Android KitKat unveiled in Google surprise move". BBC News Online. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 4 September 2013. 'This is not a money-changing-hands kind of deal,' John Lagerling, director of Android global partnerships, told the BBC.
  25. Wallop, Harry (7 December 2009). "Nestlé's Kit Kat goes Fairtrade". The Telegraph. London: Telegraph Group. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  26. Chambers, Andrew (12 December 2009). "Not so fair trade". The Guardian. London: Guardian News & Media. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  27. "Big Brother contest slammed again". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 11 October 2006.
  28. 28.0 28.1 Ivine, Dean (2 February 2013). "How did Kit Kat become king of candy in Japan?". cnn.com. Cable News Network. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  29. Chappell, Bill (10 May 2010). "Kit Kat Kaleidoscope: Far-Out Flavours From Japan". npr.com. Washington, D.C.: NPR. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  30. Ryall, Julian (2 February 2005). "Exam fever gives Japan a craving for Kit Kat". The Telegraph. London: Telegraph Group. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  31. "Ben Viveur: Tuck Off". Ben Viveur. 21 June 2014. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
  32. Lam, Charles. "Kit Kats You Can Bake Coming to.. Japan". ocweekly.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-15. สืบค้นเมื่อ 15 March 2014.
  33. Poynton, Scott (18 March 2011). "Dancing With Devils". The Huffington Post. New York: AOL. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  34. Armstrong, Paul (2 March 2013). "Greenpeace, Nestlé in battle over Kit Kat viral". cnn.com. Cable News Network. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  35. "Nestlé committed to traceable sustainable palm oil to ensure no-deforestation". Nestlé. 30 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  36. "KIT KAT Collection". Nestlé. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.[ลิงก์เสีย]
  37. "A low calorie treat from KitKat". Easier. 16 January 2008. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้