คำมูล คือ คำที่เกิดจากการประสมของโครงสร้างคำและมีความหมาย ผู้ฟังและผู้อ่านฟังแล้วมาอ่านแล้วเข้าใจว่าหมายถึงอะไร หรือสิ่งใด หรืออย่างไร คำนั้นจะเป็นคำไทย หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ แต่คำมูลแต่ละคำจะมีความหมาย คำมูลคำหนึ่งมักมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่มีอยู่บ้างที่คำคำเดียว รูปลักษณ์อย่างเดียวมีหลายความหมาย เช่น ติด มีความหมายว่า ข้องอยู่ ไปไม่ได้ ทำให้แน่น ฯลฯ หรือคำหลายคำมีรูปลักษณ์หลายอย่างแต่มีความหมายอย่างเดียว เช่น สตรี นารี กัญญา หมายถึง ผู้หญิง คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคำไทยดั้งเดิมหรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ และจะเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้

ประเภทของคำมูล แก้

คำมูลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. คำมูลพยางค์เดียว เช่น เพลง, ชาม, พ่อ, ยืน, หิว, ยิ้ม, สุข, ใน (คำไทยแท้) ฟรี, ไมล์, ธรรม (คำที่มาจากภาษาอื่น)
  2. คำมูลหลายพยางค์ เป็นคำหลายพยางค์ เมื่อแยกแต่ละพยางค์แล้ว อาจจะมีหรือไม่มีความหมายก็ได้ ว แต่ความหมายของแต่ละพยางค์จะไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคำมูลนั้นเลย เช่น กระดาษ ศิลปะ กำมะลอ หรือกล่าวได้ว่า คำมูล คือคำที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    1. ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ จิ้ง และ หรีด ต่างก็ไม่มีความหมาย
    2. ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา จะเห็นว่าพยางค์ ยา มีความหมายเพียงพยางค์เดียว
    3. ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่พยางค์ไม่ได้มีเค้าความหมายหรือเป็นที่มาของคำนั้น เช่น นารี จะเห็นว่าพยางค์ นา มีความหมายเกี่ยวกับที่นา ที่ชาวนาทำนากัน แต่สำหรับ รี ก็มีความหมายไปในทางที่มีรูปร่างไม่กลม ไม่ยาว เรียกว่า รูปวงรี แต่เมื่อรวม นา กับ รี เข้าด้วยกัน คือ นารี แล้วจะแปลว่า ผู้หญิง ซึ่งความหมายของ นารี ไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของพยางค์ นา และ รี เลย นอกจากนี้ คำมูลคำเดียวในภาษาไทยอาจมีความหมายได้หลายอย่าง เช่น นกเกาะอยู่บนกิ่งไม้ในเกาะแห่งหนึ่ง

คำที่สร้างจากคำมูล แก้

คำที่เกิดขึ้นโดยการสร้างคำจากคำมูล จะแบ่งตามรูปลักษณะได้ดังนี้

  1. คำประสม
  2. คำซ้อน
  3. คำซ้ำ
  4. คำสมาสสนธิ