คาฮูท! (อังกฤษ: Kahoot!) เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านเกมแบบไม่มีค่าใช้จ่าย (ทดลองฟรี) โดยใช้เป็นเทคโนโลยีการศึกษา เปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ที่ประเทศนอร์เวย์[1] ขณะนี้มีจำนวนผู้เล่นกว่า 50 ล้านคน[2] ใน 180 ประเทศ ด้วยความที่ถูกออกแบบให้เข้าถึงได้ในห้องเรียน และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้แบบอื่น ๆ ทั่วโลก ทุกคนสามารถสร้างเกมทางการเรียนรู้ของคาฮูท! ได้เอง โดยปราศจากข้อจำกัดทางอายุหรือหัวข้อ คาฮูทสามารถเข้าถึงได้ผ่านอุปกรณ์หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือแบบพกพารวมไปถึงโทรศัพท์มือถือผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ทำให้ได้รับความสนใจในห้องเรียนที่มีนโยบาย "นำอุปกรณ์ของคุณมาเอง"

คาฮูท!
ภาษาที่ใช้ได้อังกฤษ
เจ้าของKahoot! Edu
ยูอาร์แอลhttps://getkahoot.com/ https://kahoot.it/#/
เชิงพาณิชย์ใช่
ลงทะเบียนไม่ต้องสำหรับผู้ทำข้อสอบ ต้องการเฉพาะผู้สร้างข้อ
ผู้ใช้ผู้ให้ความรู้มากกว่า 1.5 ล้านคน นักเรียนกว่า 49 ล้านคน[1]
เปิดตัวสิงหาคม 2013; 10 ปีที่แล้ว (2013-08)[1]

การใช้ แก้

คาฮูท! มักถูกใช้เพื่อเฝ้าดูพัฒนาการของเด็กแต่ละคนไปยังเป้าหมายของการเรียนรู้ ชี้ถึงข้อดีและข้อด้อย และระบุเรื่องที่นักเรียนอาจต้องการให้ติวเพิ่มแบบตัวต่อตัว รวมไปถึงการเสนอโอกาสทางการเรียนรู้อื่น ๆ หรือ ทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบางเรื่อง

ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์อาจรวมคาฮูทส์ไปในหลักสูตรเพื่อแนะนำหัวข้อใหม่ กระตุ้นการจดจำของข้อมูลใหม่ ทบทวนก่อนการสอบ ท้าทายห้องเรียนอื่น ๆ ทั่วโลก ตรวจสอบความคิดเห็น รวบรวมข้อมูลเชิงลึก และทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ

ผู้ใช้ คาฮูท! ส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนและครูในระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย โดยจำนวนผู้ใช้ในระดับมหาลัยกำลังมีจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทต่าง ๆ ยังใช้ คาฮูท! ในการอบรมในที่ทำงานอีกด้วย

วิธีการเล่น แก้

คาฮูท! ถูกออกแบบสำหรับการเรียนรู้ทางสังคม โดยผู้เรียนรวมตัวรอบหน้าจอเดียวกัน เช่น หน้าจอโทรทัศน์ กระดานอัจฉริยะ หรือ หน้าจอคอมพิวเตอร์

เมื่อเปิดคาฮูท จะพบกับเลข PIN ที่ระบบจะสุ่มขึ้นมา ผู้เล่นเข้าเว็บไซต์ kahoot.it ตามด้วยการใส่รหัส PIN และชื่อเล่น โดยการใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ จากนั้นจะถูกนำไปหน้าจอ เมื่อชื่อเล่นของผู้เล่นทุกคนปรากฏบนหน้าจอแล้ว หัวหน้า (ปกติจะเป็นครู) กดปุ่มเริ่มเพื่อเริ่มการสอบ

ในเกม คำถามและตัวเลือก (มากสุด 4 ตัวเลือก) จะปรากฏขึ้นบนหน้าจอหลัก แต่ละคำตอบจะมาพร้อมกับสีและรูปร่างที่ต่างกัน ผู้เรียนจะต้องเลือกหนึ่งในตัวเลือกที่ต้องการตอบ โดยเกมถูกออกแบบมาเพื่อที่ผู้เล่นจะต้องเงยหน้าจากจอของตนเอง เพื่อมองจอรวมเป็นระยะ[3] เป็นการเพิ่มปฏิกิริยาทางสังคมกับทั้งครูและเพื่อนร่วมชั้น

ผู้เรียนจะได้รับคะแนนเมื่อตอบคำถามถูก (สูงสุด 1000 แต้ม โดยให้ตามเวลาที่ใช้ก่อนจะตอบ) หลังจบแต่ละคำถาม ผู้เรียนจะเห็นคะแนนของตนเอง รวมไปถึงลำดับของตนเองเมื่อเทียบกับคนอื่นในห้องเรียนบนหน้าจอของตนเอง รายชื่อผู้เรียนที่มีคะแนนมากที่สุด 5 อันดับแรกจะถูกแสดงบนหน้าจอหลักเพื่อกระตุ้นการแข่งขันระหว่างผู้เล่น

อุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้ แก้

ด้วยความที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความนิยมของการ "นำอุปกรณ์ของคุณมาเอง" คาฮูท! ตั้งเป้าในให้ใช้ได้กับเว็บเบราว์เซอร์หลายแบบ และอุปกรณ์พกพาผ่านทางเว็บอินเตอร์เฟส รวมไปถึงแอนดรอยด์ 4.0 และเวอร์ชันใหม่กว่า รวมไปถึงเว็บเบราว์เซอร์รูปแบบใหม่ทุกแบบ นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันในทั้ง iOS และแอนดรอยด์อีกด้วย[4]

การเรียนการสอน แก้

การเรียนการสอนโดยใช้ คาฮูท! มีฐานอยู่บนการสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ที่เชื่อถือได้ เพื่อส่งเสริมการส่งผ่านจาก "ผู้สอนสู่ผู้เรียนรู้"[5]

ในสภาพแวดล้อมห้องเรียน การส่งผ่านจาก "ผู้สอนสู่ผู้เรียนรู้" ปกติแล้วมีวิธีดังนี้:

  • ครูแนะนำหัวข้อโดยใช้คาฮูทซึ้งถูกออกแบบมาเพื่อเริ่มการโต้แย่ง การคิดวิเคราห์ และการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (active learning) ครูสามารถใช้รูปภาพและวิดีโอคู่กับคาฮูทขณะสอน
  • หลังหัวหน้าหรือครูได้แนะนำหัวข้อแล้ว พวกเขาจะเล่นคาฮูทที่ถูกออกแบบเพื่อเพิ่มการเข้าใจของนักเรียนในหัวข้อนั้น ๆ
  • ครูนำนักเรียนในกิจกรรมอื่น ๆ บทสนทนา และข้อสอบที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมความรู้ของนักเรียน บางทีอาจใช้ข้อสอบชุดเดิมหลายรอบเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการทำซ้ำ
  • ครูบอกให้นักเรียนสร้างข้อสอบเกี่ยวกับหัวข้อเดียวกันหรือที่คล้ายกัน
  • นักเรียนวิจัย เพิ่มพูนความรู้และเก็บเกี่ยวหรือสร้างข้อมูลที่คล้ายกัน จากนั้นสร้างข้อสอบโดยใช้ข้อมูลเหล่านั้น
  • จากนั้น นักเรียน หรือ กลุ่มนักเรียน จึงผลัดกันรับตำแหน่งหัวหน้าเพื่อให้ข้อสอบแก่ผู้ร่วมชั้น
  • ครูสามารถจัดการกับความเข้าใจของนักเรียนและวิธีการ ตามคุณภาพของข้อมูล โครงสร้างของคาฮูท และวิธีที่พวกเขาอธิบายคำตอบให้เพื่อนร่วมชั้น

รางวัล แก้

  • Nordic Startup Awards 2015, Startup of the Year[6]
  • Nordic Startup Awards 2015, Founder of the Year (Johan Brand)[7]
  • EdTech Europe’s EdTech 20, Most Innovative EdTech Company[8]
  • Digital Service That Is Changing The World[9]
  • 100 most influential leaders in EdTech (Johan Brand)[10]
  • LAUNCHedu awards finalist, Higher Education category[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Kahoot! is searching for talent to impact education globally". Kahoot! Blog. Kahoot AS. 16 June 2014. สืบค้นเมื่อ 2 March 2015.
  2. "Kahoot! is gamifying the classroom (Wired UK)". สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  3. "Kahoot!". Kahoot!. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  4. "Kahoot! - Android Apps on Google Play". Google Play. Google Inc. 9 June 2014. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  5. "Kahoot is a Fun Free Game-Based Classroom Response System — Emerging Education Technologies". www.emergingedtech.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  6. "The Norwegian Winners of the Nordic Startup Awards 2015". Nordic Startup Bits. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  7. Europe, EdTech. "DigiSchool, Kahoot! and RefME Announced as Winners of 2015 EdTech 20". www.prnewswire.com. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  8. "Hederspris til Kahoot". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  9. "Hederspris til Kahoot". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  10. "Edtech and Elearning: Top 100 Influencers and Brands". สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  11. "Kahoot! - LAUNCHedu finalists at SXSWedu". blog.getkahoot.com. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้