คอเรลดรอว์ (อังกฤษ: CorelDRAW) คือโปรแกรมประยุกต์ที่มีความสามารถในการสร้างและแก้ไขข้อมูลภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ ผลิตโดยบริษัทคอเรล (Corel) แคนาดา

CorelDRAW
นักพัฒนาCorel
วันที่เปิดตัว16 มกราคม 1989; 35 ปีก่อน (1989-01-16)
รุ่นเสถียร
CorelDRAW Graphic Suites 2019 / 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019-03-13); 1863 วันก่อน
ระบบปฏิบัติการMicrosoft Windows
ประเภทVector graphics editor
สัญญาอนุญาตProprietary
เว็บไซต์corel.com

CorelDRAW รุ่นล่าสุดคือรุ่น 2019 ทำงานบนระบบปฏิบัติการ PC Windows, Mac และเว็บ แถลงข่าววันที่ 13 มีนาคม 2562 เป็นโปรแกรมหนึ่งในโปรแกรมชุด CorelDRAW Graphics Suite 2019[1]

ในชุดโปรแกรม คอเรลดรอว์กราฟิกส์สวีท X8 ประกอบด้วย

  • CorelDRAW X8: แอ็พพลิเคชั่นสำหรับสร้างภาพอิลลัสเตรตแบบเวกเตอร์ และ จัดวางเลย์เอ๊าท์
  • Corel® PHOTO-PAINT® X8: แอ็พพลิเคชั่นในการตกแต่งแก้ไขรูปภาพระดับมือ
  • Corel Font Manager™: สำหรับจัดการฟอนท์
  • Corel® PowerTRACE® X8: เครื่องมือลอกลายเส้นจาก ภาพบิตแม็พไปเป็นเว็คเตอร์ (รวมอยู่ใน คอเรลดรอว์ X8)
  • Corel® CONNECT™ X8: สำหรับสืบค้น เนื้อหาดิจิตอลคอนเท้นท์ ที่อยู่ใน คอนเท้นท์เอ๊กเชนจ์ (Content Exchange) และภายในคอมพิวเตอร์ของเรา
  • Corel® Website Creator™: แอ็พพลิเคชั่นสำหรับ ออกแบบเว็บไซต์
  • Corel® CAPTURE™ X8: เครื่องมือจับภาพหน้าจอในคลิกเดียว
  • PhotoZoom Pro 4: ปลั๊กอินสำหรับ เอ๊กซ์พอร์ต (export) และขยายขนาดไฟล์รูปภาพดิจิตอลออกจาก คอเรลโฟโต้เพ้นท์


สำหรับ เวอร์ชันก่อนหน้า หรือ ชุดโปรแกรม คอเรลดรอว์กราฟิกส์สวีท X7 ประกอบด้วย:

  • CorelDRAW X7
  • Corel® PHOTO-PAINT™ X7
  • Corel® PowerTRACE™ X7
  • Corel® CONNECT™ X7
  • Corel® Website Creator™
  • Corel® CAPTURE™ X7
  • PhotoZoom Pro 3
  • ConceptShare™

โปรแกรมกราฟิกของบริษัทคอเรล เป็นคู่แข่งโดยตรงกับโปรแกรมของบริษัทอะโดบี (Adobe) เช่น โปรแกรม อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ , โฟโตชอป และ อะโดบี อินดีไซน์

ในประเทศไทย CorelDRAW เป็นที่นิยมตั้งแต่เวอร์ชัน 3 บนแพลตฟอร์ม ไมโครซอฟท์วินโดวส์ (PC Windows 3.1) ซึ่งเป็นช่วงที่เครื่องพีซี มีระบบปฏิบัติการแบบกราฟิก และใช้เมาส์ (ระบบวินโดวส์) เป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้ทั้งตามบ้าน และสถานที่ทำงาน เพราะเครื่องพีซีประกอบเองจากห้างพันธุ์ทิพย์ ผู้ซื้อสามารถเลือกชิ้นส่วนตามงบประมาณที่ต้องการได้ แถมความเร็วยังเหนือกว่าเครื่องแมคอินทอช อีกทั้งกฎหมายลิขสิทธิ์ยังไม่เข้มข้น ผู้ที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี มักจะได้รับซอฟต์แวร์คอเรล แถมมากับเครื่องเสมอ เพื่อใช้ทำงานด้านกราฟิกและตกแต่งภาพ ในขณะที่ ระบบปฏิบัติการแมคอินทอชใช้โปรแกรมจำพวก อัลดัสเพจเมคเกอร์ อัลดัสฟรีแฮนด์ และอิลลัสเตรเตอร์ และโฟโต้ช้อป หลายซอฟต์แวร์ร่วมกันเพื่อทำงานกราฟิกสักชิ้น และยังไม่ได้เข้ามาทำตลาดบนแพลตฟอร์มวินโดวส์ แต่ คอเรลดรอว์ และ คอเรลโฟโต้เพ้นท์ มีฟีเจอร์ที่หลากหลายกว่า และมีหลายฟีเจอร์เหนือกว่า เช่นการหมุนวัตถุได้ทีละองศา (ของคู่แข่งหมุนได้ทีละ 90 องศา) การลอกลายเส้นโลโก้ การปรับโหนด การทำเงาใต้ภาพ การเบล็นด์กราฟิกรวมกัน (morphing) การทำแอนิเมชันง่ายๆ การเพิ่มมิติ ความหนา-หมุน-และแสงเงา ให้กับกราฟิกสองมิติจนคล้ายเป็นวัตถุสามมิติ การอิมพอร์ต-เอ๊กซ์พอร์ตไฟล์ต่างชนิดเพื่อใช้ข้ามระบบ การแยกสี ฯลฯ รองรับการใช้เมาส์คลิกขวา เพื่อสั่งงานโปรแกรมได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และคอเรลดรอว์ตัวเดียวสามารถทำงานจัดหน้า และออกแบบกราฟิก ตกแต่งภาพง่าย ๆ ได้ในโปรแกรมเดียว ไม่ต้องเปิด-ปิด ใช้หลายโปรแกรม อีกทั้งซอฟต์แวร์แพ็คเกจคอเรลดรอว์ บนวินโดวส์ ราคาถูกกว่า คู่แข่งบนแมคอินทอช และให้ของแถม สต็อคภาพถ่าย ภาพเวกเตอร์ ฟอนท์ ฯลฯ มากมายหลายสิบแผ่น โดยไม่ต้องซื้อเพิ่ม

และตัวแปรที่สำคัญคือ การเอ้าทพุทงาน โดยร้านแยกสี ยิงฟิล์ม โรงพิมพ์ ต่างก็มี มินิคอมพิวเตอร์ และเวิร์กสเตชันแบบ พีซี วินโดวส์ เพราะราคาประหยัดกว่า ทำให้ผู้ใช้งานคอเรล สามารถส่งงานที่ทำจากคอเรลไปพิมพ์ได้ผลงานสำเร็จทั้งหมด โดยไม่ต้องใช้เครื่องแมคอินทอชแต่อย่างใด

นักเรียน นิสิตนักศึกษา และผู้ใช้งานตามออฟฟิส และตามบ้านทั่วไป จึงคุ้นเคยกับการทำงานกราฟิกด้วยโปรแกรมคอเรลดรอว์มากขึ้น ตามความนิยมของเครื่องพีซีที่ขายได้ จึงเกิดกลุ่มผู้ใช้งานคอเรลมากขึ้นเรื่อย ๆ

ความนิยมของซอฟต์แวร์กราฟิกฝั่งแมคอินทอช เริ่มมากขึ้น เมื่อมีการพอร์ทมาทำงานบน วินโดวส์ และออกเวอร์ชันใหม่พร้อม ๆ กับเวอร์ชันบนแมคอินทอช, คอเรลดรอว์ก็ไปบุกตลาดจำหน่ายเวอร์ชันสำหรับแมคอินทอช เช่นกัน ต่อมา บริษัทอะโดบี กว้านซื้อ ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกแทบทุกตัว แล้วยุบรวม ออกมาเหลือเพียง อิลลัสเตรเตอร์ โฟโต้ช้อป และ อินดีไซน์ โดยจัดวางเมนู ทูลบาร์ ให้เหมือน ๆ กันทุกโปรแกรม ทำให้ผู้ใช้งานสะดวกคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ และความเร็ว แทบไม่ต่างกันมาก จึงทำให้ซอฟต์แวร์คู่แข่งจากอะโดบีแย่งส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น

คอเรลดรอว์ เวอร์ชัน 3 บนพีซีวินโดวส์ (ปี 1992) มาเหนือกว่าคู่แข่ง ในแบบ รวมชุดหลายโปรแกรม (กราฟิกส์สวีท) คือมีหลายโปรแกรมให้มาในแพ็คเกจ เช่น

  • คอเรลดรอว์ สำหรับทำงานกราฟิกส์เวกเตอร์ ลายเส้น โลโก้ คู่แข่งกับ อัลดัสฟรีแฮนด์, อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์
  • คอเรลโฟโต้เพ้นท์ สำหรับงานตกแต่งรีทัชรูปภาพ คู่แข่งกับ อะโดบี โฟโตชอป
  • คอเรลแคปเจอร์ สำหรับจับภาพหน้าจอ
  • คอเรลเทรซ สำหรับลอกลายเส้น จากภาพบิตแม็พ

ในแพ็คเกจยังให้ สต็อคภาพถ่ายคุณภาพสูง สิบกว่าแผ่น, ทรูไทป์ฟอนท์มาตรฐานอีกหลายร้อยฟอนท์แบบครบทั้งแฟมมิลี่, ลวดลายกราฟิกส์เวกเตอร์สำเร็จรูปอีกมหาศาล อาทิ สัตว์ พืช ผัก ต้นไม้ ดอกไม้, ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ใบหน้าบุคคลสำคัญแห่งยุค, เท็มพลตการจัดเอกสาร ฯลฯ เรียกได้ว่าครบเครื่อง โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อหาเพิ่มจากผู้ผลิตภายนอกแต่อย่างใด เหนือกว่าบริษัทคู่แข่งอื่น ๆ ทั้งหมด

คอเรลดรอว์ มักจะออกเวอร์ชันปรับเปลี่ยนหน้าตา เพิ่มสิ่งใหม่ ประมาณปีละครั้ง พร้อมฟีเจอร์แปลกใหม่ที่มักจะล้ำนำหน้าคู่แข่ง บางเวอร์ชันก็เป็นที่นิยม บางเวอร์ชันก็มีปัญหาเยอะ ถัดจากเวอร์ชัน 10 (ค.ศ. 2000) ก็ออกใหม่โดยเว้นระยะประมาณ สองปี (เวอร์ชัน 11 ออกปี คศ. 2002) ฟีเจอร์ที่เพิ่มมาใหม่ก็ไม่มากนัก ช่วงระยะเวลาการเรียนรู้เพิ่มเติมแต่ละเวอร์ชันใช้เวลาไม่มากนัก

การทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพของ CorelDRAW นั้น ส่วนใหญ่จะทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพแบบเวกเตอร์ ที่จัดเก็บข้อมูลรูปภาพในแบบ 2 มิติ (2D) มากกว่า 3 มิติ (3D) (ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีคำสั่งสำหรับการทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพ 3 มิติบ้างแล้วก็ตาม) โดยไฟล์ที่ CorelDRAW จัดเก็บในรูปแบบเฉพาะของตัวโปรแกรมเอง จะใช้นามสกุลของไฟล์ว่า CDR, ซึ่งไฟล์ CDR นี้ จะสามารถจัดเก็บคุณลักษณะพิเศษของไฟล์ที่เป็นของ CorelDRAW ได้ครบถ้วน

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้