คองคอร์ด

เครื่องบินความเร็วเหนือเสียง

คองคอร์ด (อังกฤษ: Concorde) เป็นเครื่องบินขนส่งชนิดมีเค้าฮูกตัวอ้วน เป็นหนึ่งในสองแบบของเครื่องบินเร็วเหนือเสียงที่ใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร และนำมาให้บริการในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี เครื่องคองคอร์ดต้นแบบเครื่องแรกบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1969 ทดสอบและพัฒนาอีก 4 ปี โดยคองคอร์ดเครื่องแรกออกจากสายการผลิตและเริ่มบินทดสอบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 รวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนนำมาผลิตใช้เวลากว่า 13 ปีเต็มใช้เงินในการพัฒนากว่า 1,000 ล้านปอนด์ [4]

คองคอร์ด
คองคอร์ดของบริติชแอร์เวย์ใน ค.ศ. 1986
หน้าที่ อากาศยานความเร็วเหนือเสียง
ประเทศผู้ผลิต สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส
ผู้ผลิต
เที่ยวบินแรก 2 มีนาคม ค.ศ. 1969
เริ่มใช้ 21 มกราคม ค.ศ. 1976
ปลดระวาง 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003[1]
ผู้ใช้หลัก บริติชแอร์เวย์
แอร์ฟรานซ์
ดูผู้ให้บริการข้างล่าง
การผลิต 1965–1979
จำนวนที่ถูกผลิต 20 (รวมอากาศยานที่ไม่ได้ในเชิงพาณิชย์ 6 ลำ)[2][3]
2 มีนาคม ค.ศ. 1969

เครื่องบินคองคอร์ดมีความเร็วปกติ 2,158กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเพดานบินสูงสุด 60,000 ฟุต (18.288กิโลเมตร) มีปีกสามเหลี่ยม

การบินเชิงพาณิชย์ของคองคอร์ด ดำเนินการโดยบริติชแอร์เวย์ (British Airways) และแอร์ฟรานซ์ (Air France) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1976 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีเที่ยวบิน “เกษียณอายุ” เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เที่ยวบินลอนดอน-นิวยอร์ก และปารีส-นิวยอร์ก ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 3 ชม.

เครื่องบินคองคอร์ด มีข้อจำกัดในการออกแบบด้านพลศาสตร์ ซึ่งส่วนหัวของเครื่องบินจะต้องเชิดขึ้น ส่งผลให้ทัศนวิสัยของนักบินไม่ดี ผู้ออกแบบได้แก้ไขโดยเพิ่มกลไกปรับส่วนหัวของเครื่องบิน ให้กดลงมา เพื่อให้นักบินมองเห็นสนามบินขณะเครื่องบินขึ้น ลงจอด และขณะอยู่บนแทกซี่เวย์ ส่วนหัวของคองคอร์ดปรับทำมุมกดได้ 12.5°

เครื่องบินคองคอร์ด มีทั้งสิ้น 20 ลำ เป็นเครื่องที่ใช้ในการพัฒนา 6 ลำ ใช้งานเชิงพาณิชย์ 14 ลำ ตก 1 ลำ

การเกิดอุบัติเหตุ แก้

คองคอร์ดมีสถิติเกิดอุบัติเหตุตกเพียงครั้งเดียว คือ เที่ยวบิน 4590 ของแอร์ฟรานซ์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 หลังทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานใกล้กรุงปารีส มีผู้เสียชีวิต 113 คน

ผลการสอบสวนสรุปว่าสาเหตุการตก เนื่องจากมีชิ้นส่วนโลหะที่หลุดออกมาจากเครื่องบินดีซี-10 ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ ซึ่งบินขึ้นก่อนหน้านั้น 4 นาที กระแทกกับยางล้อด้านซ้ายของเครื่องเที่ยวบิน 4590 ขณะกำลังเร่งเครื่องเพื่อบินขึ้น ยางล้อเกิดระเบิดและมีชิ้นส่วนของยางกระเด็นไปกระแทกถังน้ำมัน และสายไฟ และเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น ในขณะนั้นเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินได้แจ้งนักบิน นักบินได้ตัดการทำงานของเครื่องยนต์ และพยายามยกเลิกการบินขึ้น แต่เครื่องบินเสียการทรงตัวและกระแทกพื้น เกิดการระเบิด ผู้โดยสาร 100 คน เจ้าหน้าที่บนเครื่อง 9 คน และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน 4 คน เสียชีวิต

มีการระงับการบินของคองคอร์ดทุกเที่ยวบินเพื่อสอบสวนหาสาเหตุและแก้ไข คองคอร์ดเที่ยวบินแรกหลังอุบัติเหตุ ทำการบินทดสอบเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 และทำการบินพร้อมผู้โดยสารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 วันเดียวกับการเกิดวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

ความตกต่ำของอุตสาหกรรมการบินหลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้แอร์ฟรานซ์และบริติชแอร์เวย์ ตัดสินใจประกาศยกเลิกการใช้งานเครื่องบินคองคอร์ดทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนสูง

อากาศยานที่จัดแสดง แก้

 
คองคอร์ดที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑืแอร์บัส ตูลูซ ประเทศฝรั่งเศส

จากอากาศยานที่สร้างขึ้น 20 ลำ[2] มี 18 ลำที่ยังคงในสภาพที่ดี

รายชื่ออากาศยานที่เปิดให้สาธารณชน:
รหัสขึ้นทะเบียน เจ้าของ ที่ตั้ง
G-AXDN บริติชแอร์เวย์ เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
G-BBDG บริติชแอร์เวย์ เซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ
G-BOAA บริติชแอร์เวย์ นอร์ธเบริก ประเทศสกอตแลนด์
G-BOAB บริติชแอร์เวย์ ฮีทโธรว์ ประเทศอังกฤษ
G-BOAC บริติชแอร์เวย์ แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ
G-BOAD บริติชแอร์เวย์ นิวยอร์ก สหรัฐ
G-BOAE บริติชแอร์เวย์ ชาร์น็อกส์ ประเทศบาร์เบโดส
G-BOAF บริติชแอร์เวย์ ฟิลตัน ประเทศอังกฤษ
G-BOAG บริติชแอร์เวย์ ซีแอตเทิล สหรัฐ
G-BSST บริติชแอร์คราฟท์คอปอเรชัน โยวิลตัน ประเทศอังกฤษ
F-BTSD แอร์ฟรานซ์ เลอ บูร์เกต์ ประเทศฝรั่งเศส
F-BVFA แอร์ฟรานซ์ ดัลเลส, รัฐเวอร์จิเนีย, สหรัฐ
F-BVFB แอร์ฟรานซ์ Sinsheim ประเทศเยอรมนี
F-BVFC แอร์ฟรานซ์ บลาญัก ประเทศฝรั่งเศส
F-BVFF แอร์ฟรานซ์ รัวซี-อ็อง-ฟรองซ์ ประเทศฝรั่งเศส
F-WTSA แอร์ฟรานซ์ Athis-Mons ประเทศฝรั่งเศส
F-WTSB แอร์ฟรานซ์ บลาญัก ประเทศฝรั่งเศส

รายละเอียด แก้

 
ภาพวาดโครงร่างคองคอร์ด

ข้อมูลจาก The Wall Street Journal,[5] The Concorde Story,[6] The International Directory of Civil Aircraft,[7] Aérospatiale/BAC Concorde 1969 onwards (ทุกโมเดล)[8]

ลักษณะทั่วไป

  • ลูกเรือ: 3 (นักบิน 2 คนกับวิศวกรการบิน 1 คน)
  • ความจุ: 92–120 คน
    (128 ในรูปแบบหนาแน่นมาก)[N 1]
  • ความยาว: 202 ft 4 in (61.66 m)
  • ระยะระหว่างปลายปีกสองข้าง: 84 ft 0 in (25.6 m)
  • ความสูง: 40 ft 0 in (12.2 m)
  • พื้นที่ปีก: 3,856.2 sq ft (358.25 m2)
  • น้ำหนักเปล่า: 173,504 lb (78,700 kg)
  • น้ำหนักรวม: 245,000 lb (111,130 kg)
  • น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด: 408,010 lb (185,070 kg)
  • Fuel capacity: 210,940 ปอนด์ (95,680 กิโลกรัม)
  • ความยาวลำตัวข้างใน: 129 ฟุต 0 นิ้ว (39.32 เมตร)
  • ความกว้างของลำตัว: ข้างนอกสูงสุด 9 ฟุต 5 นิ้ว (2.87 เมตร), ข้างในสูงสุด 8 ฟุต 7 นิ้ว (2.62 เมตร)
  • ความสูงของลำตัว: ข้างนอกสูงสุด 10 ฟุต 10 นิ้ว (3.30 เมตร), ข้างในสูงสุด 6 ฟุต 5 นิ้ว (1.96 เมตร)
  • รับน้ำหนักสูงสุด: 412,000 ปอนด์ (187,000 กิโลกรัม)
  • Powerplant: 4 × Rolls-Royce/Snecma Olympus 593 Mk 610 เทอร์โบเจ็ทกับอุปกรณ์อุ่นอากาศ, 31,000 lbf (140 kN) thrust each dry, 38,050 lbf (169.3 kN) with afterburner

สมรรถนะ

  • ความเร็วสูงสุด: 1,354 mph (2,179 km/h, 1,177 kn)
  • ความเร็วสูงสุด: Mach 2.04 (จำกัดอุณหภูมิ)
  • ความเร็วที่เครื่องบินบินได้: 1,341 mph (2,158 km/h, 1,165 kn)
  • พิสัย: 4,488.0 mi (7,222.8 km, 3,900.0 nmi)
  • ความสูงที่เครื่องบินบินได้: 60,000 ft (18,300 m)
  • Rate of climb: 3,300–4,900 ft/min (17–25 m/s) ที่ระดับน้ำทะเล[9][10]
  • Lift-to-drag: ความเร็วต่ำ– 3.94; ประชิด– 4.35; 250 kn, 10,000 ฟุต– 9.27; มัค 0.94– 11.47, มัค 2.04– 7.14
  • Fuel consumption: 47 lb/mi (13.2 kg/km)
  • Thrust/weight: 0.373
  • อุณหภูมิปลายจมูกสูงสุด: 127 องศาเซลเซียส (260 องศาฟาเรนไฮต์; 400 เคลวิน)
  • ความต้องการรันเวย์ (ความจุสูงสุด): 3,600 เมตร (11,800 ฟุต)[11]

หมายเหตุ แก้

  1. เดิมที่คองคอร์ดทั้งของบริติชแอร์เวย์และแอร์ฟรานซ์มี 100 ที่นั่ง หลังพิจารณาน้ำหนักของ CY2000–2001 ทำให้ทางแอร์ฟรานซ์ถอดที่นั่ง 8 ที่

อ้างอิง แก้

  1. Lawless, Jill (26 October 2003). "Final Concorde flight lands at Heathrow". The Washington Post. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2008. สืบค้นเมื่อ 26 August 2017.
  2. 2.0 2.1 Towey 2007, p. 359.
  3. "Ageing luxury jet". BBC News. 25 July 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2009. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ คองคอร์ด
  5. Michaels, Danial (2 October 2003). "Final Boarding Call: As Concorde Departs, so do 3-Man Crews: In New Cockpits, Engineers are seen as Extra Baggage". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2017. สืบค้นเมื่อ 3 August 2017.
  6. Kelly 2005, p. 52.
  7. Frawley 2003, p. 14.
  8. Leney, David; Macdonald, David (July 2020). Aérospatiale/BAC Concorde 1969 onwards (ทุกโมเดล). Sparkford, Somerset: Haynes Publishing. ISBN 978-1-84425-818-5.
  9. "Aviation Week & Space Technology" (PDF). 17 March 1969: 284. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2016. สืบค้นเมื่อ 27 January 2019. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. "Concorde Airframe". Heritage Concorde (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 27 January 2019.
  11. "Extremely Comprehensive Concorde Relaunch Kit from Air France". Travel News Asia. 17 October 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2014. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.

บรรณานุกรม แก้

  • Frawley, Gerald (2003). The International Directory of Civil Aircraft, 2003/2004. Aerospace Publications. ISBN 978-1-875671-58-8.
  • Kelly, Neil (2005). The Concorde Story: 34 Years of Supersonic Air Travel. Surrey, UK: Merchant Book Company Ltd. ISBN 978-1-904779-05-6.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้