คว่ำตายหงายเป็น

สปีชีส์ของพืช
คว่ำตายหงายเป็น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Saxifragales
วงศ์: Crassulaceae
สกุล: Kalanchoe
ส่วน: Bryophyllum
สปีชีส์: K.  pinnata
ชื่อทวินาม
Kalanchoe pinnata
(Lam.) Pers.
ชื่อพ้อง
  • Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken
  • Bryophyllum calycinum
  • Cotyledon pinnata Lem.

คว่ำตายหงายเป็น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Kalanchoe pinnata) เป็นพืชล้มลุก อวบน้ำ ใบเดี่ยว รูปไข่ โคนและปลายมน ขอบใบจักเป็นฟันตื้น ๆ เนื้อใบอวบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีแดงและเขียว ทรงกระบอก ห้อยคว่ำลง ปลายเป็น 4 แฉก ผลเป็นพวง เมล็ดขนาดเล็ก

ในทางสมุนไพร ใช้ใบเผาไฟเล็กน้อย หรือตำพอกแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝี ตาปลา ใบตำคั้นน้ำแก้บิด ขับปัสสาวะ โรคไขข้ออักเสบ[1] ใบมีรสเย็นเฝื่อน พอกฝีแก้ปวด น้ำคั้นจากใบผสมการบูร ทาถูนวดแก้เคล็ดขัดยอก[2]

จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความดัน เบาหวาน ซึมเศร้า ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร คลายกังวล ต้านการชัก ลดการบีบตัวที่ไวของกระเพาะอาหาร รวมถึงต้านมะเร็ง รวมถึงใช้ยังประโยชน์ในทางพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น เอาดอกไปไว้ในยุ้งข้าว บูชารถ ขึ้นบ้านใหม่ เอาใบใส่พานบายศรีสู่ขวัญบ่าวสาว ทำขวัญนาค และปลูกไว้เพื่อความเป็นมงคล

คว่ำตายหงายเป็น ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ต้นตายใบเป็น, ต้นตายปลายเป็น, กระลำเพาะ, นิรพัตร, เบญจฉัตร, กะเร, มะตบ, ล็อบแล็บ, ลุบลับ, ลุมลัง, ตาวาร (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้), ประฉู่ชิคะ (ภาษากะเหรี่ยง), ค้ำ (อำเภอนาแห้ว), ปู่ย่า (อำเภอภูหลวง), ประเตียลเพลิง, เพรอะแพระ, ยาเท้า, ส้มเช้า, หญ้าปล่องไฟ, หญ้าหวาน (ภาษาไทใหญ่) และผักเบี้ยใหญ่[3]

อ้างอิง แก้

  1. ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ. พืชสมุนไพรใช้เป็นยา. กทม. มปท. 2536
  2. สุนทร ปุณโณทก. ยากลางบ้าน. กทม. โรงพิมพ์สุวิทย์ ยี แอด. 2526
  3. หน้า 3, ต้นตาย ใบเป็น. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21421: วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Kalanchoe pinnata ที่วิกิสปีชีส์