ความเครียด (ชีววิทยา)

ความเครียด ในความหมายทางจิตวิทยาและชีววิทยา เป็นคำยืมจากวิชาฟิสิกส์และวิศวกรรม ใช้ในบริบททางชีววิทยาครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1930 ซึ่งในทศวรรษหลังได้กลายมาเป็นคำใช้ทั่วไปในการสนทนา ความเครียดหมายความถึงผลสืบเนื่องจากการที่สิ่งมีชีวิต (ทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น) ไม่สามารถตอบสนองอย่างพอเหมาะกับความต้องการทางจิต อารมณ์หรือกายได้อย่างพอเหมาะ ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือสมมติขึ้น[1]

สัญญาณของความเครียดอาจเกี่ยวเนื่องกับการรู้ทางอารมณ์ ทางกาย หรือทางพฤติกรรม สัญญาณอื่นมีตั้งแต่การตัดสินใจที่เลว ทัศนคติแง่ลบทั่วไป การวิตกกังวลเกินไป อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย ภาวะกายใจไม่สงบ การไม่สามารถพักผ่อนได้ ความรู้สึกโดดเดี่ยว การปลีกตัวหรือภาวะซึมเศร้า การปวดและความเจ็บปวด ท้องร่วงหรือท้องผูก อาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ เจ็บที่หน้าอก หัวใจเต้นเร็ว กินมากเกินหรือไม่พอ นอนมากเกินหรือไม่พอ การหลีกหนีสังคม การผลัดวันประกันพรุ่งหรือปฏิเสธความรับผิดชอบ การเพิ่มปริมาณบริโภคแอลกอฮอล์ นิโคตินหรือยาเสพติด และพฤติกรรมทางประสาท อย่างการกัดเล็บและการเจ็บที่คอ

อ้างอิง แก้

  1. The Stress of Life, Hans Selye, New York: McGraw-Hill, 1956.