ความยุติธรรม เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความถูกต้องตามศีลธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม ความสมเหตุสมผล กฎหมาย กฎหมายธรรมชาติ ศาสนา ความเที่ยงธรรม (equity) และความเป็นธรรม (fairness) ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้และสิทธิโดยกำเนิดของมนุษยชาติและพลเมืองทั้งหลาย กับสิทธิของปวงชนและเอกชนที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมายซึ่งว่าด้วยสิทธิพลเมืองของพวกเขาเหล่านั้น โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ เหล่ากำเนิด สีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา ความพิการ อายุ ความยากดีมีจน และลักษณะประการอื่น ทั้งยังถือด้วยว่า รวมถึงความยุติธรรมทางสังคม[2][3][4][5][6][7][8]

เทพียุติธรรม (Lady Justice) เป็นเครื่องแทนความยุติธรรม ทรงไว้ซึ่งสัญลักษณ์สามประการ คือ พระขรรค์ หมายถึง อำนาจบังคับบัญชาของศาล ดุลพ่าห์ หมายถึง การชั่งหนักเบาซึ่งข้อหาที่รับมาอยู่ในมือ และผ้าผูกตา หมายถึง ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง[1]

อ้างอิง แก้

  1. Luban, Law's Blindfold, 23
  2. http://www.ohchr.org/Documents/Publications/training9chapter13en.pdf
  3. Konow, James. 2003. "Which Is the Fairest One of All? A Positive Analysis of Justice Theories." Journal of Economic Literature 41, no. 4: page 1188
  4. http://www.thefreedictionary.com/justice
  5. http://www.merriam-webster.com/dictionary/justice
  6. http://ec.europa.eu/justice/discrimination/index_en.htm
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ 2014-01-18.
  8. http://equalbeforethelaw.org/