ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย

ความตกลงอังกฤษ-รัสเซียใน ค.ศ. 1907[1] (อังกฤษ: Anglo-Russian Convention of 1907; รัสเซีย: Англо-Русская Конвенция 1907 г., อักษรโรมัน: Anglo-Russkaya Konventsiya 1907 g.) ลงนามเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1907 ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัสเซีย ได้ทำให้ความสัมพันธ์ที่กำลังเผชิญหน้ากันระหว่างอังกฤษกับรัสเซียลดลงโดยการกำหนดพรมแดนร่วมกันซึ่งระบุการควบคุมของทั้งสองในเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และทิเบต ข้อตกลงดังกล่าวเสมือนว่าได้ยุติการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจอันยาวนานซึ่งแผ่ขยายไปตลอดทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียกลางที่ยังด้อยพัฒนา แม้ว่าจักรวรรดิอังกฤษและจักรวรรดิรัสเซียจะเคยประสบกับความขัดแย้งขนาดใหญ่เมื่อหลายร้อยปีก่อน ในความขัดแย้งซึ่งเรียกว่า "เดอะเกรตเกม" ได้ซ้ำเติมสถานการณ์ในขอบเขตจนกระทั่งหนทางแก้ไขปัญหาเริ่มปรากฏในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลายคนเชื่อว่าการเจรจาดังกล่าวมีจุดประสงค์ในการสร้างพันธมิตรทางการเมืองด้วยความกลัวในแสงยานุภาพและอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของเยอรมนี ผลจากข้อตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ทำให้โอกาสในการปกครองของอิหร่านถูกทำลาย แนวคิดในการฟื้นฟูรัฐอิหร่านมิใช่สิ่งที่จักรวรรดิทั้งสองนี้สำนึกเลย; ทั้งสองได้รับเสถียรภาพและการควบคุมในเปอร์เซีย และวางแผนที่จะรักษาสภาวะเช่นนี้ต่อไป โดยรวมแล้ว อนุสัญญาดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงท่าทีซึ่งได้รับการคำนวณอย่างระมัดระวังของมหาอำนาจแต่ละฝ่ายในส่วนที่ตนเลือกในการตีราคาของพันธมิตรอันทรงพลังมากกว่าการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเหนือพื้นที่หลายส่วนของเอเชียกลาง

ความตกลงอังกฤษ-รัสเซียใน ค.ศ.1907
แผนที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แสดงบริเวณที่อังกฤษและรัสเซียแบ่งเขตปกครองหรือมีอิทธิพล
วันลงนาม31 สิงหาคม [ตามปฎิทินเก่า: 18 สิงหาคม] 1907
ที่ลงนามเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จักรวรรดิรัสเซีย
ผู้ลงนาม
การกำหนดพรมแดน: ดินแดนเปอร์เซีย (สีน้ำเงิน) อยู่ในการควบคุมของรัสเซีย; ดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ (สีชมพู) เป็นของอังกฤษ

เบื้องหลัง แก้

เดอะเกรตเกม แก้

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษมีอำนาจปกครองอินเดียอย่างมั่นคงและมองว่าอินเดียเป็นอาณานิคมที่สำคัญที่สุดของตน อย่างไรก็ตาม รัสเซียเองก็ได้แสดงแสงยานุภาพโดยการขยายตัวลงมาทางใต้และตะวันออกสู่เอเชียกลางและรุกคืบเข้าสู่อินเดีย "เดอะเกรตเกม" หมายความถึง การแข่งขันในการควบคุมดนแดนและการควบคุมทางการเมืองในเอเชียกลางระหว่างอังกฤษและรัสเซีย ดินแดนที่อยู่ระหว่างอินเดียและดินแดนส่วนที่รัสเซียปกครอง ได้แก่ เปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และทิเบต เป็นความปรารถนาของจักรวรรดิทั้งสองอย่างมาก อังกฤษเกรงว่า การเผชิญหน้ากับรัสเซียอาจทำให้ชาวอินเดียมีความหวังที่จะก่อการกบฏ อันเป็นความท้าทายต่อการปกครองอาณานิคมของอังกฤษ ในความสำคัญ คือ อังกฤษมีเป้าหมายที่จะกัน "อิทธิพลของรัสเซียจากชายแดนอินเดียของอังกฤษ" ในอีกทางหนึ่ง รัสเซียเองก็ต้องการดินแดนเพิ่มเติมทางพรมแดนตอนใต้ คือ อัฟกานิสถาน และกลัวการขยายดินแดนของอังกฤษมายังอาณานิคมของตน ยิ่งไปกว่านั้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เกิดประเด็นปัญหาใหม่ขึ้น และได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทางการอังกฤษ เมื่อ จอร์จ นาทาเนียล เคอร์ซัน กระตุ้นให้รักษาความมั่นคงของน้ำมันในตะวันออกกลางของอังกฤษ นี่เป็นเพียงบางส่วนของประเด็นเท่านั้น และทำให้อังกฤษวางตัวเป็นกลางทางการทูตต่อทุกท่าทีของรัสเซีย การใช้ยุทธวิธีที่คล้ายคลึงกับการรวมเศรษฐกิจของตนเข้ากับอิหร่าน อังกฤษได้รวบรวมทิเบตเข้าสู่การปกครองโดยการรุกรานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1903 จากนั้นได้ทำให้ทิเบตเป็นคู่ค้า ซึ่งได้ทำให้ทิเบตแบกภาระหนี้มหาศาลและได้ทำให้อังกฤษมีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้ว่าชาติมหาอำนาจทั้งสองต่างก็หลีกเลี่ยงสงครามอย่างเปิดเผย "เดอะเกรตเกม" ก็ได้สร้างความเสียหาทางการเมืองแก่อังกฤษและรัสเซียไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม จากความรุ่งเรืองของเยอรมนีในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้มหาอำนาจทั้งสองพบว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตนที่จะตกลงปรองดองและทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ความขัดแย้งอันตึงเครียดอย่างเช่น "เดอะเกรตเกม" ได้กีดขวางฝ่ายไตรภาคีในการเผชิญหน้ากับเยอรมนีและหลังได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ความรุ่งเรืองของเยอรมนี แก้

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1882 เยอรมนีลงนามเข้าเป็นไตรพันธมิตรกับอิตาลีและออสเตรีย-ฮังการี ทำให้เยอรมนีก้าวเข้าสู่เวทีโลกจากการพัฒนาอุตสาหกรรม สังคมและการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น เยอรมนีเพิ่มรายจ่ายทางทหารอย่างมากนับตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 จนกระทั่งการปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภายใต้จักรวรรดิ "ปรัสเซีย-เยอรมัน" ใหม่นี้ รัฐบาลเยอรมันได้ทำงานเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งของชาติและบรรลุจุดสูงสุดของอำนาจเยอรมัน ในขณะที่อังกฤษและรัสเซียกำลังเคลือบแคลงกับจุดประสงค์ในการแผ่อำนาจของเยอรมนี สมาชิกของไตรพันธมิตรทีละชาติเองก็ได้ถูกคุกคามจากยุทธวิธีนโยบายต่างประเทศเชิงรุกของอังกฤษและรัสเซีย และความมั่งคั่งจากอาณานิคมของตน ด้วยเหตุนี้ การขยายดินแดนและทหารของจึงเป็นกุญแจของเยอรมนีที่จะทำให้ตนเองมีบทบาทหลักในเวทีอำนาจระหว่างประเทศ ตะวันออกกลางของเยอรมนีตกอยู่ในสถานะเป็นรอง ซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่าสำหรับนโยบายหลักของเยอรมนีต่อยุโรปและอเมริกา ตลอดช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในขณะที่มีความสำคัญเป็นรอง แต่มันได้เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้จัดการความพยายามของตะวันออกกลางที่จะให้อำนาจตะวันตกต่อสู้กันเอง เบอร์ลินได้แทรกซึมจักรวรรดิออตโตมันอย่างสันติ และมีความปรารถนาอาณานิคมในภูมิภาคนี้น้อย

ปัญหาในอิหร่าน แก้

ในปี ค.ศ. 1905 กิจกรรมการปฏิวัติได้แพร่ขยายตัวอิหร่าน โดยมีการบีบบังคับให้ชาห์ยอมรับรัฐธรรมนูญ อนุญาตให้จัดตั้งมาจิลิ (สมัชชญารัฐสภา) และจัดการเลือกตั้ง หัวใจของการปฏิวัติมีเป้าหมายตลอดกาล ซึ่งได้สร้างความแตกร้าวในหมู่นักบวชในข้อได้เปรียบของราชาธิปไตย ทั้งอังกฤษและรัสเซียต่างก็ไม่รับรองการจัดการทางการเมืองเสรีอันไม่มีเสถียรภาพนี้ ทั้งสองต่างการ "หุ่นเชิด" ที่มีเสถียรภาพ อย่างเช่นรัฐบาลที่ได้รับความยินยอมจากต่างชาติและทำงานได้ดีกับเป้าหมายในการขยายอำนาจของพวกเขา เพื่อที่จะทำให้สถานการณ์ในอิหร่านสะดวกขึ้น รัสเซียและอังกฤษได้พูดคุยกันที่จะแบ่งแยกอิหร่านออกเป็นสามส่วน ข้อตกลงที่พวกเขาต้องการนั้นจะแบ่งอิหร่านออกเป็นทางเหนือ รวมไปถึงเอสฟาฮาน ให้แก่รัสเซีย; ทางตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เคอร์มาน ซิสถาน และบาลูชิสถาน ให้แก่อังกฤษ ส่วนดินแดนที่เหลือให้ปักเขตให้เป็น "เขตเป็นกลาง" ของทั้งสอง การแบ่งอิหร่านครั้งนี้ได้ทำให้การควบคุมผลประโยชน์ทางดินแดนและทางเศรษฐกิจในอิหร่านของทั้งสองมั่นคงยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการเข้าแทรกแซงระบบการเมืองอิหร่าน จากอิทธิพลจากต่างชาติ การปฏิวัติถูกบีบจากนักเคลื่อนไหวยุโรปและฝ่ายนิยมราชาธิปไตย

อนุสัญญา แก้

อนุสัญญาอังกฤษ-รัสเซียได้กำหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้:

  1. เปอร์เซียจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน: ส่วนของรัสเซียทางตอนเหนือ ส่วนของอังฤษทางตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนที่เหลือให้เป็นเขตกันชนที่เป็นกลาง
  2. อังกฤษจะต้องไม่แสวงหาดินแดนเพิ่มเติม
  3. รัสเซียจะต้องทำตามแนวปฏิบัติข้อ 2. ในทางกลับกัน
  4. อัฟกานิสถานเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษและให้รัสเซียยุติการสื่อสารใด ๆ กับเจ้าครองนคร

อ้างอิง แก้

หนังสืออ่านเพิ่มเติม แก้

  • "The Recent Anglo-Russian Convention" The American Journal of International Law (1907) pp 979–984 online
  • Abrahamiam, Ervand, A History of Modern Iran (Cambridge University Press, 2008)
  • Adelson, Roger, London and the Invention of the Middle East: Money, Power, and War, 1902–1922 (St. Edmundsbury Press, 1995)
  • Churchill, Platt Rogers. The Anglo-Russian Convention of 1907 (1939).
  • Habberton, William. Anglo-Russian Relations Concerning Afghanistan, 1837–1907 (U. of Illinois, 1937).
  • Klein, Ira (1971), "The Anglo-Russian Convention and the Problem of Central Asia, 1907–1914", Journal of British Studies, 11 (1): 126–147, doi:10.1086/385621, JSTOR 175041
  • Langer, William L. (1929). "Russia, the Straits Question, and the European Powers, 1904–8". The English Historical Review. 44 (173): 59–85. doi:10.1093/ehr/XLIV.CLXXIII.59. JSTOR 552495.
  • Mahajan, Sneh. British foreign policy 1874–1914: The role of India (Routledge, 2003).แม่แบบ:ISBN?
  • Palmer, A. W. "The Anglo-Russian Entente" History Today (Nov 1957) 7#11 pp 748–754.
  • Sicker, Martin. The Bear and the Lion: Soviet Imperialism and Iran (Praeger Publishers, 1988).
  • Siegel, Jennifer, Endgame: Britain, Russia and the Final Struggle for Central Asia (New York: I.B. Tauris, 2002)
  • Soroka, Marina. Britain, Russia and the Road to the First World War: The Fateful Embassy of Count Aleksandr Benckendorff (1903–16) (Routledge, 2016).
  • Tomaszewski, Fiona K. A Great Russia: Russia and the Triple Entente (Greenwood Publishing Group, 2002)
  • Williams, Beryl J. "The Strategic Background to the Anglo-Russian Entente of August 1907." Historical Journal 9#3 (1966): 360–73. online.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้