คราบหินปูน (อังกฤษ: calculus หรือ tartar) เป็นคราบที่ปรากฏบนฟัน ก่อตัวขึ้นจากน้ำลายและเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามตัวฟันรวมถึงแร่ธาตุอื่น โดยเมื่อคราบจุลินทรีย์(ซึ่งจะเปลี่ยนน้ำตาลจากอาหารให้กลายเป็นกรด และสารพิษ) เกาะเป็นเวลานาน จะเปลี่ยนกลายมาเป็นคราบหินปูน และทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียได้ง่าย และก่อให้เกิดปัญหากับสุขภาพเหงือกและทำให้สุขภาพฟันอ่อนแอลง

คราบหินปูน

คราบหินปูนเมื่อก่อตัวขึ้นในช่องปากแล้ว ไม่สามารถที่จะนำออกได้เองนอกจากจะให้หมอฟันขูดออกให้เท่านั้น คราบหินปูนเป็นตัวที่ก่อให้เกิดสุขภาพเหงือกอ่อนแอ เลือดออกเวลาแปรงฟัน และอาจนำไปสู่โรคเหงือกอักเสบได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเป็นโพรงใต้เหงือกเป็นที่สะสมของจุลินทรีย์

ในปัจจุบันจึงมักเรียกว่าหินน้ำลาย บนหินน้ำลายนี้จะถูกปกคลุมด้วยคราบจุลินทรีย์อีกชั้นหนึ่ง ทำให้เกิดการสะสมของหินน้ำลายได้ บางครั้งเราจะพบบางคนมีหินน้ำลายอยู่มากจนปิดตัวฟันทั้งหมด เราสามารถพบหินน้ำลายมากบริเวณด้านหลังของฟันหน้าล่าง และบริเวณที่ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง หินน้ำลายนี้มีโทษต่อฟันของเรา เพราะเป็นสาเหตุทำให้กระดูกเบ้าฟันมีการละลายตัว เหงือกบวมเป็นหนอง ฟันโยกครอน และหลวม บางครั้งอาจหลุดออกจากกระดูกเบ้าฟันในที่สุด ซึ่งเป็นอาการของโรคปริทันตอักเสบ

การป้องกันคราบหินปูนหรือหินน้ำลายที่ดีที่สุด คื่อการแปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งและใช้ไหมขัดฟันภายหลังการแปรงฟัน และพบหมอฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อขุดหินน้ำลาย หรือหินปูนออก

แหล่งข้อมูลอื่น แก้