คธูลู (Cthulhu) , คธุลฮู, คุลลูหรือธูลู (ชื่อจริงของคธูลูนั้นเป็นภาษาที่มนุษย์ไม่สามารถออกเสียงได้ถูกต้อง[2]) เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า เกรทโอลด์วัน ในงานประพันธ์ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ คธูลูปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น "เสียงเรียกของคธูลู" (The Call of Cthulhu) ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2471 และมีบทบาทเล็กๆในงานเขียนเรื่องอื่นๆของเลิฟคราฟท์ ออกัสต์ เดอเลธใช้ศัพท์คำว่า ตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) เพื่อจำแนกงานเขียนของเลิฟคราฟท์และตัวเขาเองที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน ซึ่งในเวลาต่อมาได้รวมถึงงานประพันธ์ของคนอื่นๆซึ่งใช้ตัวละครและเนื้อหาแบบเดียวกันทั้งหมด (เรียกได้อีกอย่างว่าเรื่องสยองขวัญแนวเลิฟคราฟท์ (Lovecraftian horror) ชื่อของคธูลูมักใช้เปรียบเทียบในความหมายของสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว

คธูลู
ตัวละครใน ตำนานคธูลู
ภาพคธูลูโดยศิลปินในปีค.ศ.2006
ปรากฏครั้งแรก"เสียงเรียกของคธูลู" (1928)
สร้างโดยเอช. พี. เลิฟคราฟท์
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์เกรทโอลด์วัน
ตำแหน่งHigh Priest of the Great Old Ones
The Great Dreamer
The Sleeper of R'lyeh
ครอบครัวอซาธอท (พ่อของทวด)

Cthaeghya (ครึ่ง-พี่/น้องสาว)
Nctosa and Nctolhu (ลูกสาวฝาแฝด)
ยอก โซธอท (ปู่)
ชุบ นิกกูรัธ (ย่า)

นุก (พ่อ)[1]

ในงานประพันธ์ของเลิฟคราฟท์ แก้

ใน The Call of Cthulhu ลักษณะของคธูลูนั้นได้รับการบรรยายอย่างละเอียดจากรูปปั้นของคธูลู ซึ่งระบุว่ามีรูปร่างคล้ายกับมนุษย์ แต่ส่วนหัวคล้ายกับปลาหมึกที่มีหนวดระยางอยู่เป็นจำนวนมาก ร่างกายมีเกล็ด ขาหน้าเป็นกงเล็บแหลมคมและมีปีกคู่หนึ่งอยู่ด้านหลัง[3][4] และเมื่อคธูลูปรากฏตัวนั้น บทบรรยายระบุว่ามีขนาดใหญ่โตราวกับเป็นภูเขาเคลื่อนที่ ในเรื่องยังกล่าวว่ามีลัทธิบูชาคธูลูแพร่กระจายอยู่ทั่วโลกโดยมีศูนย์กลางอยู่ในแถบอาหรับและแพร่กระจายไปถึงกรีนแลนด์ รัฐลุยเซียนาและนิวซีแลนด์[5] โดยผู้นำลัทธิซึ่งเชื่อว่าเป็นอมตะนั้นอยู่ในหุบเขาในประเทศจีน ซึ่งสาวกของลัทธิคธูลูกล่าวว่าคธูลูนั้นเป็นหัวหน้านักบวชของเกรทโอลด์วันซึ่งมายังโลกตั้งแต่ก่อนจะมีมนุษย์[6] คธูลูได้ใช้พลังจิตติดต่อกับมนุษย์ผ่านความฝันตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เมื่อนครรุลูเยห์ (R'lyeh) จมลงไปในมหาสมุทรแปซิฟิกนั้น น้ำในมหาสมุรได้กลายเป็นกำแพงธรรมชาติปิดกั้นพลังจิตของคธูลูไว้[7] ซึ่งสาวกของคธูลูได้รอเวลาที่ดวงดาวบนท้องฟ้าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อทำพิธีเรียกรุลูเยห์ขึ้นจากมหาสมุทรและปลดปล่อยคธูลูจากสภาพกึ่งตายอีกครั้ง เมื่อคธูลูคืนชีพอย่างสมบูรณ์ก็จะใช้พลังจิตทำให้มนุษย์ในโลกบ้าคลั่งฆ่าฟันกันเองและสูญเสียจิตสำนึกในการแยกแยะดีชั่วไปสิ้น[8] ซึ่งเอกสารในเรื่องสั้น The Call of Cthulhu ระบุว่าคธูลูถูกชาวประมงปลุกขึ้นมาโดยบังเอิญ แต่กุสตาฟ โยฮันเซนใช้เรือยอชพุ่งชนหัวของคธูลูที่ไล่ตามไปในทะเลจนเป็นแผลฉกรรณ์ แม้ว่าแผลนั้นจะสมานคืนสภาพเดิมอย่างรวดเร็ว แต่ก็ทำให้คธูลูหยุดชะงักและจมลงไปในมหาสมุทรพร้อมนครรุลูเยห์อีกครั้ง[9]

ในงานประพันธ์อื่นๆของเอช พี เลิฟคราฟท์ เรื่องสั้น The Whisperer in Darkness ระบุว่าคธูลูเป็นหนึ่งในเทพที่สิ่งมีชีวิตจากต่าวดาวซึ่งเรียกว่า มิ โก (Mi-Go) บูชา และในเรื่องสั้น The Shadow Over Innsmouth อมนุษย์ที่เรียกว่า ดีพวัน (Deep One) ก็บูชาคธูลูเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีเหล่า คธูลิ (Cthulhi) หรือ ทายาทดาราของคธูลู (Star-spawn of Cthulhu) ซึ่งมีลักษณะเหมือนคธูลูแต่ตัวเล็กกว่ามาก คธูลิได้ติดตามคธูลูมายังโลกและเป็นผู้สร้างนครรุลูเยห์ คธูลิส่วนใหญ่จมอยู่ในรุลูเยห์พร้อมกับคธูลูแต่ก็มีบางตนที่หลบซ่อนตัวอยู่ในโลกภายนอก ในนิยายเรื่อง At the Mountains of Madness ระบุถึงสงครามระหว่างคธูลิและสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวซึ่งเรียกว่าเอลเดอร์ธิงที่อาศัยอยู่บนโลกเป็นกลุ่มแรก

ในจดหมายโต้ตอบระหว่างเลิฟคราฟท์กับเจมส์ เอฟ มอร์ตัน ได้ระบุว่าคธูลูเป็นลูกของนุก ซึ่งเป็นทายาทของเอาเตอร์ก็อด ชุบ นิกกูรัธ (Shub-Niggurath)และ ยอก โซธอท (Yog-Sothoth)

ในงานประพันธ์ของออกัสต์ เดอเลธ แก้

ออกัสต์ เดอเลธซึ่งได้เขียนงานประพันธ์ในกลุ่มตำนานคธูลูตั้งแต่ก่อนหน้าที่เลิฟคราฟท์จะเสียชีวิต ระบุว่าคธูลูเป็นหนึ่งในสิ่งชั่วร้ายที่ต่อสู้กับเทพโบราณของโลก ( Elder God - เอลเดอร์ก็อด ) [10] และยังเป็นศัตรูกับฮัสเทอร์ (Hastur) ซึ่งเป็นพี่น้องของคธูลูเอง[11] ในเรื่องสั้นชุด The Trail of Cthulhu ตอน "The Black Island" นั้น เดอเลธได้ระบุว่าส่วนหัวของคธูลูจะเปลี่ยนรูปทรงไปเรื่อยๆและมีตาเดียวกับหนวดระยางขนาดต่างๆกันจำนวนมาก[12] อย่างไรก็ตาม แนวคิดของเดอเลธซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่วร้ายนั้นไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบงานประพันธ์ของเลิฟคราฟท์[13]

ในสื่ออื่นๆ แก้

  • ภาพยนตร์เรื่องคธูลูCthulhu the Movie เก็บถาวร 2007-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กำกับโดยแดเนียล กิลดาร์ค เปิดตัวในงานเทศกาลหนังนานาชาติที่ซีแอตเทิล วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550
  • ในงานประพันธ์ชุดตำนานโซธิคของลิน คาเตอร์ คธูลูได้ให้กำเนิดทายาทสามตนกับอิด ยาห์ คือ กาทาโนธอ (Ghatanothoa) ยิทธอกธา (Ythogtha) และโซธ โอมมอก (Zoth-Ommog)
  • ในงานประพันธ์ของไบรอัน ลัมลีย์ คธูลูมีพี่น้องฝ่ายดีคือคธานิดซึ่งมีลักษณะเหมือนคธูลูแต่มีตาเป็นสีทองและอาศัยอยู่ในถ้ำผลึกของโลกต่างมิติอีไลเซียกับเหล่าเอลเดอร์ก็อด คธานิดปรากฏตัวครั้งแรกในนิยายเรื่อง The Transition of Titus Crow ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2518 ในเรื่องนี้ยังได้กล่าวถึงคธิลลา (Cthylla) ซึ่งเป็นทายาทตนที่สี่ของคธูลูและอิด ยาห์
  • สตีเฟน คิงได้เขียนถึงคธูลูในเรื่องสั้น Crouch End ซึ่งอยู่ใน New Tales of the Cthulhu Mythos (ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2523)

อ้างอิง แก้

  1. Lovecraft, H. P. (1967). Selected Letters of H. P. Lovecraft IV (1932–1934). Sauk City, Wisconsin: Arkham House. Letter 617. ISBN 0-87054-035-1.
  2. Cthul-Who?: How Do You Pronounce 'Cthulhu'?", Crypt of Cthulhu #9
  3. H. P. Lovecraft, "The Call of Cthulhu", The Dunwich Horror and Others, p. 127.
  4. Lovecraft, "The Call of Cthulhu", p. 134.
  5. Lovecraft, "The Call of Cthulhu", pp. 133-141, 146.
  6. Lovecraft, "The Call of Cthulhu", p. 139.
  7. Lovecraft, "The Call of Cthulhu", pp. 140-141
  8. Lovecraft, "The Call of Cthulhu", p. 141.
  9. Lovecraft, "The Call of Cthulhu", p. 154.
  10. August Derleth, "The Return of Hastur", The Hastur Cycle, Robert M. Price, ed., p. 256.
  11. August Derleth, "The Return of Hastur", The Hastur Cycle, Robert M. Price, ed., p. 256.
  12. August Derleth, "The Black Island", The Cthulhu Cycle, Robert M. Price, ed., p. 83
  13. Bloch, Robert, "Heritage of Horror", The Best of H. P. Lovecraft: Bloodcurdling Tales of Horror and the Macabre

แหล่งข้อมูลอื่น แก้