คตินิยมสิทธิสตรี

คตินิยมสิทธิสตรี หรือ สตรีนิยม หรือ เฟมินิสม์ (อังกฤษ: feminism) เป็นกลุ่มขบวนการและอุดมการณ์ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อนิยาม จัดตั้งและปกป้องสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมแก่สตรี[1][2] ซึ่งรวมถึงการแสวงจัดตั้งโอกาสที่เท่าเทียมแก่สตรีในการศึกษาและการจ้างงานด้วย ทั้งนี้ ระวังสับสนกับลัทธินิยมผู้หญิงหรือวูแมนนิสม์ (Womanism) ซึ่งเป็นแนวคิดคนละอย่างกัน

โลโก้นิยมสิทธิสตรี

ชาร์ล ฟูรีเย นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า "เฟมินิสม์" ในปี 1837[3] คำว่า "เฟมินิสม์" และ "เฟมินิสต์" ปรากฏครั้งแรกในฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ในปี 1872[4] บริเตนใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1890 และสหรัฐอเมริกาในปี 1910[5][6], และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดระบุว่า ปี 1894 เป็นปีที่ปรากฏคำว่า "เฟมินิสต์" ครั้งแรก และปี 1895 ปรากฏคำว่า "เฟมินิสม์" ครั้งแรก[7] ปัจจุบัน พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด นิยามเฟมินิสต์ว่าเป็น "ผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของสตรี"[8]

ทฤษฎีคตินิยมสิทธิสตรี ซึ่งกำเนิดขึ้นจากขบวนการคตินิยมสิทธิสตรีเหล่านี้ มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจความไม่เสมอภาคทางเพศสภาพโดยการสังเกตบทบาททางสังคมและประสบการณ์ชีวิตของสตรี มีการพัฒนาทฤษฎีในหลายสาขาวิชาเพื่อตอบสนองต่อประเด็นอย่างการประกอบสร้างเพศและเพศภาวะ[9][10] คตินิยมสิทธิสตรีในอดีตบางรูปแบบถูกวิจารณ์ว่า คำนึงถึงแต่มุมมองของสตรีผิวขาว ชนชั้นกลางและมีการศึกษาเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่คตินิยมสิทธิสตรีรูปแบบเจาะจงเชื้อชาติหรือหลายวัฒนธรรม[11]

การรณรงค์สิทธิสตรีของนักเคลื่อนไหวคตินิยมสิทธิสตรี เช่น ในกฎหมายสัญญา กรรมสิทธิ์และการออกเสียงเลือกตั้ง ขณะที่สนับสนุนความชอบธรรมในร่างกาย การตัดสินใจเรื่องส่วนบุคคลและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์แก่สตรี การรณรงค์คตินิยมสิทธิสตรีได้เปลี่ยนแปลงสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก โดยการบรรลุสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิง ความเป็นกลางของเพศสภาพในภาษาอังกฤษ การจ่ายค่าจ้างเท่าเทียมแก่สตรี สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของสตรี รวมถึงการเข้าถึงการคุมกำเนิดและการทำแท้ง และสิทธิในการทำสัญญาและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์[12][13] นักคตินิยมสิทธิสตรีทำงานเพื่อปกป้องสตรีและเด็กหญิงจากความรุนแรงในครอบครัว การล่วงละเมิดทางเพศและการทำร้ายทางเพศ[14][15][16] พวกเขายังสนับสนุนสิทธิในที่ทำงาน รวมถึงการลาคลอด และต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ[12][13][17] แต่เพราะคตินิยมสิทธิสตรีแสวงความเท่าเทียมทางเพศ จึงมีนักคตินิยมสิทธิสตรีบางคนแย้งว่า การปลดปล่อยบุรุษก็เป็นส่วนที่จำเป็นของคตินิยมสิทธิสตรีเช่นกัน และว่าบุรุษเองก็ถูกทำร้ายจากลัทธิกีดกันทางเพศและบทบาทประจำเพศเช่นกัน[18]

ทฤษฎี แก้

ทฤษฎีสตรีนิยมเป็นส่วนขยายของคตินิยมสิทธิสตรีในด้านทฤษฎีหรือปรัชญา ครอบคลุมการทำงานในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งมานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ การศึกษาของสตรีการวิจารณ์วรรณกรรม[19][20]ประวัติศาสตร์ศิลปะ[21] จิตวิเคราะห์[22] และปรัชญา[23][24] ทฤษฎีสตรีนิยมมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคทางเพศและมุ่งเน้นไปที่การเมือง ความสัมพันธ์ อำนาจ และเรื่องทางเพศ ในขณะที่การให้คำวิจารณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมและการเมืองเหล่านี้ ทฤษฎีสตรีนิยมส่วนใหญ่ยังเน้นการส่งเสริมสิทธิและความสนใจของสตรี หัวข้อการอภิปรายหลัก ได้แก่ การเลือกปฏิบัติ สามัญทัศน์ การทำให้เป็นวัตถุโดยเฉพาะทางเพศ (objectification) การกดขี่ และการปกครองแบบผู้ชายเป็นใหญ่[25][26] 

อ้างอิง แก้

  1. "Feminism – Definition and More from the Free Merriam-Webster Dictionary". merriam-webster.com. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
  2. "Definition of feminism noun from Cambridge Dictionary Online: Free English Dictionary and Thesaurus". dictionary.cambridge.org. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
  3. Goldstein 1982, p.92.Goldstein, L (1982). "Early Feminist Themes in French Utopian Socialism: The St.-Simonians and Fourier", Journal of the History of Ideas, vol.43, No. 1.
  4. Dutch feminist pioneer Mina Kruseman in a letter to Alexandre Dumas – in: Maria Grever, Strijd tegen de stilte. Johanna Naber (1859-1941) en de vrouwenstem in geschiedenis (Hilversum 1994) ISBN 065503951, page 31
  5. Offen, Karen. "Les origines des mots 'feminisme' et 'feministe'". Revue d'histoire moderne et contemporaine. July–September 1987 34: 492-496
  6. Cott, Nancy F. The Grounding of Modern Feminism. New Haven: Yale University Press, 1987 at 13-5.
  7. Oxford English Dictionary (2nd ed.). Clarendon Press. 1989.
  8. Oxford English Dictionary (online ed.). Oxford University Press. June 2012. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help) (Definition is of noun.)
  9. Chodorow, Nancy (1989). Feminism and Psychoanalytic Theory. New Haven, Conn.: Yale University Press. ISBN 978-0-300-05116-2.
  10. Gilligan, Carol (1977). "'In a Different Voice: Women's Conceptions of Self and Morality'". Harvard Educational Review. 47 (4): 481–517. สืบค้นเมื่อ 8 June 2008.
  11. Weedon Chris (2002). "Key Issues in Postcolonial Feminism: A Western Perspective". Gender Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-01-27.
  12. 12.0 12.1 Butler, Judith (March 1992). "Feminism in Any Other Name". Differences. 6 (2–3): 30.
  13. 13.0 13.1 Messer-Davidow, Ellen (2002). Disciplining Feminism: From Social Activism to Academic Discourse. Durham, N.C.: Duke University Press. ISBN 0-8223-2843-7.
  14. Echols, Alice (1989). Daring to Be Bad: Radical Feminism in America, 1967–1975. Minneapolis: University of Minnesota Press. p. 416. ISBN 0-8166-1787-2.
  15. Cornell, Drucilla (1998). At the Heart of Freedom: Feminism, Sex, and Equality. Princeton, N.J.: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-02896-5.
  16. Campaign: Stop Violence against Women เก็บถาวร 2014-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  17. Price, Janet (1999). Feminist Theory and the Body: A Reader. New York: Routledge. p. 487. ISBN 0-415-92566-5. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  18. bell hooks (2000), Feminism is for Everybody: Passionate Politics. Cited in Austin, Hannah (2004) "Separatism: Are We Limiting Ourselves?", EM 4:2
  19. Zajko, Vanda; Leonard, Miriam (2006). Laughing with Medusa: classical myth and feminist thought. Oxford: Oxford University Press. p. 445. ISBN 0-19-927438-X.
  20. Howe, Mica; Aguiar, Sarah Appleton (2001). He said, she says: an RSVP to the male text. Madison, NJ: Fairleigh Dickinson University Press. p. 292. ISBN 0-8386-3915-1.
  21. Pollock, Griselda (2007). Encounters in the Virtual Feminist Museum: Time, Space and the Archive. Routledge. pp. 1–262.
  22. Ettinger, Bracha; Judith Butler; Brian Massumi; Griselda Pollock (2006). The matrixial borderspace. Minneapolis: University of Minnesota Press. p. 245. ISBN 0-8166-3587-0.
  23. Brabeck, M. and Brown, L. (With Christian, L., Espin, O., Hare-Mustin, R., Kaplan, A., Kaschak, E., Miller, D., Phillips, E., Ferns, T., and Van Ormer, A.). (1997). Feminist theory and psychological practice. In J. Worell and N. Johnson (Eds.) Shaping the future of feminist psychology: Education, research, and practice (pp.15–35). Washington, D.C.: American Psychological Association.
  24. Florence, Penny; Foster, Nicola (2001). Differential aesthetics: art practices, philosophy and feminist understandings. Aldershot, Hants, England: Ashgate. p. 360. ISBN 0-7546-1493-X.
  25. Chodorow, Nancy (1989). Feminism and Psychoanalytic Theory. New Haven, Conn.: Yale University Press. ISBN 978-0-300-05116-2.
  26. Gilligan, Carol (1977). "In a Different Voice: Women's Conceptions of Self and of Morality". Harvard Educational Review. 47 (4): 481–517. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-09. สืบค้นเมื่อ 8 June 2008.