คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด

คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด (อังกฤษ: Apple Inc. v. Samsung Electronics Co., Ltd.) เป็นคดีในศาลแรกในชุดที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างบริษัทแอปเปิล กับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด ว่าด้วยแบบผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ทั้งสองบริษัทเป็นผู้ผลิตสมาร์ตโฟนขายเกินครึ่งทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555[1] ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2554 แอปเปิลเริ่มฟ้องร้องซัมซุงในคดีการละเมิดสิทธิบัตร ขณะที่แอปเปิลกับโมโตโรล่าโมบิลิตีได้มีการฟ้องร้องมาแล้วก่อนหน้านี้[2] การฟ้องร้องสิทธิบัตรเทคโนโลยีในหลายชาติของแอปเปิลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ "สงครามสิทธิบัตรอุปกรณ์เคลื่อนที่" ซึ่งเป็นการฟ้องร้องอย่างกว้างขวางในการแข่งขันอย่างดุเดือดในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ผู้บริโภคของโลก[3]

คดีระหว่างบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัดกับบริษัทแอปเปิล
Samsung Electronics Co. v. Apple Inc.
ตราศาลสูงสุดสหรัฐ
สาระแห่งคดี
คำฟ้อง ขอให้วินิจฉัยว่า เมื่อสิทธิบัตรออกแบบใช้ได้เฉพาะกับองค์ประกอบหนึ่งของผลิตภัณฑ์ การยกกำไรของผู้ละเมิดสิทธิควรจำกัดอยู่เฉพาะกำไรซึ่งเกิดจากองค์ประกอบนั้นหรือไม่
คู่ความ
โจทก์ บริษัทแอปเปิล
จำเลย บริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด
ศาล
ศาล ศาลสูงสุดสหรัฐ
ตุลาการ ประธาน: John Roberts
ตุลาการสมทบ:
  • Anthony Kennedy
  • Clarence Thomas
  • Ruth Bader Ginsburg
  • Stephen Breyer
  • Samuel Alito
  • Sonia Sotomayor
  • Elena Kagan
วินิจฉัย
" "บทประดิษฐกรรม" ดังที่ใช้ในบทบัญญัติรัฐบัญญัติสิทธิบัตรครอบคลุมค่าเสียหายสำหรับการละเมิดสิทธิสิทธิบัตรออกแบบ ครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ขายแก่ผู้บริโภค และองค์ประกอบของผลิตถัณฑ์นั้น และองค์ประกอบของสมาร์ตโฟนที่ละเมิดสิทธิอาจเป็น "บทประดิษฐกรรม" ที่เกี่ยวข้อง แม้ผู้บริโภคไม่อาจซื้อองค์ประกอบเหล่านั้นแยกจากสมาร์ตโฟนได้ "
ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2559
กฎหมาย 35 U.S.C. § 289
เว็บไซต์
No. 15-777

จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 แอปเปิลและซัมซุงได้ฟ้องร้องกันแล้ว 19 คดีใน 9 ประเทศ เมื่อถึงเดือนตุลาคม ได้มีการฟ้องร้องเพิ่มในอีกประเทศหนึ่ง รวมเป็น 10 ประเทศ[4][5] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 ศาลสหรัฐสั่งให้ประธานบริหารของแอปเปิลและซัมซุงเจรจาระงับคดีเพื่อจำกัดหรือแก้ไขข้อพิพาทด้านสิทธิบัตร[6][7] จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทั้งสองบริษัทยังพัวพันอยู่ในกว่า 50 คดีทั่วโลก โดยทั้งสองมีการเรียกร้องค่าเสียหายหลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อกัน[8]

วันที่ 6 ธันวาคม 2559 ศาลสูงสุดสหรัฐวินิจฉัยด้วยมติ 8-0 ให้กลับคำวินิจฉัยจากการไต่สวนครั้งแรกซึ่งให้แอปเปิลได้เงินชดเชยเกือบ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งคดีคืนไปยังศาลอุทธรณ์กลางเพื่อให้นิยามมาตรฐานทางกฎหมายที่เหมาะสมของ "บทประดิษฐกรรม" เนื่องจากมิใช่ตัวสมาร์ตโฟน แต่เป็นเคสและจอภาพซึ่งสิทธิบัตรการออกแบบยังใช้ได้อยู่[9]

อ้างอิง แก้

  1. Chellel, Kit (July 9, 2012). "Samsung Wins U.K. Apple Ruling Over 'Not As Cool' Galaxy Tab". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ July 27, 2012.
  2. "Apple Inc. v. Samsung Electronics Co. Ltd. et al". United States District Court, Northern District of California. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ August 11, 2012.
  3. Barrett, Paul M. (March 29, 2012). "Apple's War on Android". Bloomberg Businessweek. Bloomberg. สืบค้นเมื่อ March 29, 2012.
  4. Albanesius, Chloe (September 14, 2011). 00.asp "Every Place Samsung and Apple Are Suing Each Other". PC Magazine. Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ August 11, 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. Pyett, Amy; Feast, Lincoln; Davies, Ed (October 27, 2011). "Australian court to fast-track Samsung appeal on tablet ban". Reuters. Sydney: Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ August 11, 2012.
  6. Parnell, Brid-Aine (April 18, 2012). "US judge orders Apple, Samsung CEOs to get a room". The Register. Situation Publishing. สืบค้นเมื่อ April 18, 2012.
  7. "Apple and Samsung chiefs to meet to sort patent dispute". BBC Online. BBC. April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ April 18, 2012.
  8. Mueller, Florian (July 24, 2012). "Apple seeks $2.5 billion in damages from Samsung, offers half a cent per standard-essential patent". FOSS Patents. สืบค้นเมื่อ July 28, 2012.
  9. Mann, Ronald. "Opinion analysis: Justices tread narrow path in rejecting $400 million award for Samsung's infringement of Apple's cellphone design patents". SCOTUS Blog. สืบค้นเมื่อ 14 December 2016.