คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยการปรับปรุงหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรวม วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม และ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ เข้าเป็น คณะสิ่งแวดล้อม[2]

คณะสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Environment,
Kasetsart University
สถาปนา23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 - วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม
11 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (11 ปี) - คณะสิ่งแวดล้อม
คณบดีผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ
ที่อยู่
วิทยาเขตบางเขน
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
วิทยาเขตกำแพงแสน
1 หมู่ 6 ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
เพลงมาร์ชคณะสิ่งแวดล้อม
สี███ สีเขียวอมทอง [1]
มาสคอต
ลูกโลกรวมกับใบไม้
เว็บไซต์envi.ku.ac.th

ประวัติ แก้

สมัยวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม แก้

เมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการจัดทำหลักสูตรในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ภายใต้การดูแลของภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย ต่อมา ได้มีการประชุมเพื่อจัดทำหลักสูตรทางด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น หลังจากนั้น จึงมีการเสนอหลักสูตรต่อบัณฑิตวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเริ่มรับนิสิตปริญญาโทรุ่นแรก ในปี พ.ศ. 2520

ปี พ.ศ. 2542 ได้มีการเสนอ "โครงการจัดตั้งคณะสิ่งแวดล้อม" ขึ้น และได้เปลี่ยนเป็น "วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม" โดยได้รับการอนุมัติจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยกำหนดให้วันที่ 23 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันสถาปนาวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม"

สมัยภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม แก้

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พุทธศักราช 2538 หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้มีการจัดตั้ง “ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม” ขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พุทธศักราช 2539 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2539 และเริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในปีเดียวกัน [3]

ประวัติคณะสิ่งแวดล้อม แก้

วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ปรับปรุงหน่วยงานโดยโอนทรัพย์สินบุคลากรและนิสิตจากวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม กับภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ไปสังกัดคณะสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นมาใหม่ โดยวิทยาลัยสิ่งแวดล้อมได้จัดตั้งเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดตั้งเป็นภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นชื่อตามหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาในขณะนั้น

ปี พ.ศ. 2563 คณะสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาและวิจัยของคณะสิ่งแวดล้อมสู่วิทยาเขตกำแพงแสน ในหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จำนวน 80 คน/รุ่น และปี พ.ศ. 2565 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 80 คน/รุ่น [4]

หน่วยงาน แก้

ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 1 สำนักงาน 2 ภาควิชา 2 ศูนย์ และ 4 โครงการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หลักสูตร แก้

หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอน แก้

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)[5]

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนในอนาคต แก้

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและระบบสารสนเทศสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชา Natural Resource Management and Environmental Information Systems (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา (ไทย)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)

  • สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา (ไทย)
  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและระบบสารสนเทศสิ่งแวดล้อม (ไทย)

ทำเนียบคณบดี แก้

คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีคณบดีมาแล้ว 1 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้[6]

ทำเนียบคณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

อันดับและมาตรฐาน แก้

ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา QS world university ranking by subject [7] คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกในกลุ่ม Natural Sciences สาขา Environmental Sciences ติดต่อกันหลายปี รายละเอียดดังนี้

QS World University Rankings by Subject
กลุ่ม Natural Sciences
QS Environmental Sciences 301-350 (2022)
301-350 (2021)
251-300 (2020)
251-300 (2019)
201-250 (2018)
201-250 (2017)
251-300 (2016)

ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2022 แก้

กลุ่ม Natural Sciences

อันดับที่ 301-350 ของโลก

- สาขา Environmental Sciences[8]

ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2021 แก้

กลุ่ม Natural Sciences

อันดับที่ 301-350 ของโลก

- สาขา Environmental Sciences[9]

ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2020 แก้

กลุ่ม Natural Sciences

อันดับที่ 251-300 ของโลก

- สาขา Environmental Sciences[10]

ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2019 แก้

กลุ่ม Natural Sciences

อันดับที่ 251-300 ของโลก

- สาขา Environmental Sciences[11]

ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2018 แก้

กลุ่ม Natural Sciences

อันดับที่ 201-250 ของโลก

- สาขา Environmental Sciences[12]

ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2017 แก้

กลุ่ม Natural Sciences

อันดับที่ 201-250 ของโลก

- สาขา Environmental Sciences[13]

ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2016 แก้

กลุ่ม Natural Sciences

อันดับที่ 251-300 ของโลก

- สาขา Environmental Sciences[14]

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แก้

เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการศึกษาวิจัยสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องจากพระราชดำริ โดยมอบหมายโครงการสหวิทยาการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็น วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ บ้านพะเนิน หมู่ 1 ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76100 ต่อมา วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม ได้ถูกยุบรวมกับ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ เป็น คณะสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบหลักของโครงการนี้จึงไปอยู่กับ คณะสิ่งแวดล้อม

บุคคลสำคัญ แก้

คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบุคลากรและนิสิตเก่าที่สร้างคุณประโยชน์แก่วงการสิ่งแวดล้อม อาทิ

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
  2. การประชุมคณบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์...ครั้งที่ 11/2555 วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 http://www.gad.ku.ac.th/PDF/Summarize_Dean/2555/11-55.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/09/50year2.pdf. หนังสือ "5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" : พ.ศ. 2539 - จัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มก.
  4. https://envi.ku.ac.th/about-us/faculty-of-nvironmental/faculty-history/ ประวัติคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565
  5. หลักสูตรปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อม สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 https://envi.ku.ac.th/programs/bachelor/
  6. คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณบดี เก็บถาวร 2019-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-06-10
  7. https://www.topuniversities.com/. "QS World University Rankings by Subject"
  8. "QS World University Rankings by Subject 2022 - Environmental Sciences - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022.
  9. "QS World University Rankings by Subject 2021 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  10. "QS World University Rankings by Subject 2020 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
  11. "QS World University Rankings by Subject 2019 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
  12. "QS World University Rankings by Subject 2018 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
  13. "QS World University Rankings by Subject 2017 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
  14. "QS World University Rankings by Subject 2016 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
  15. http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p189.html/ เก็บถาวร 2019-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลบูรพาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “ศาสตรจารย์ ดร. เกษม จันทร์แก้ว”
  16. http://www.bedo.or.th/bedo/content.php?id=92/[ลิงก์เสีย]. คณะกรรมการ - สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
  17. ไฟล์:///C:/Users/USER/Downloads/Fulltext%2310_214296.pdf. ภาคผนวก ก ประวัติผู้ควบคุมการผลิตและผู้ประกาศข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ไทย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้