คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Faculty of Education
Burapha University
สถาปนา8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
ที่อยู่
สี███ สีฟ้า
เว็บไซต์edu.buu.ac.th

ประวัติ แก้

คณะศึกษาศาสตร์ เป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ ก่อตั้งมาพร้อมกับวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2498 เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงได้รับการเลื่อนวิทยะฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วย แต่วิทยาเขตบางแสน จนกระทั่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ได้รับการยกฐานเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา ในปี พ.ศ. 2533 เมื่อมหาวิทยาลัยบูรพามีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ คณะศึกษาศาสตร์จึงมีฐานะเป็นคณะวิชาที่เป็นรูปแบบ จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งในปัจจุบันคณะได้จัดการศึกษาในระดับปริญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

สีประจำคณะ แก้

"สีฟ้า ███

ต้นไม้ประจำคณะ แก้

"ต้นชงโค" ชงโค

ปรัชญาของคณะศึกษาศาสตร์ แก้

"สุโข ปญฺญา ปฏิลาโภ" ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข

ปณิธานของคณะศึกษาศาสตร์ แก้

"ความรู้ดี มีคุณธรรม นำสังคม"

อัตลักษณ์ แก้

"สื่อสารเป็นเลิศ ประเสริฐน้ำใจ วินัยชั้นครู ดูแลสุขภาพ"

ภาควิชา หน่วยจัดการศึกษา แก้

  • ภาควิชาการบริหารการศึกษา
  • ภาควิชาบัณฑิตศึกษานานาชาติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม
  • ภาควิชาการจัดการเรียนรู้
  • ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
  • ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์
  • สำนักงานการจัดการศึกษา

หน่วยงานภายใน แก้

  • โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ"

หลักสูตรการศึกษา แก้

ปัจจุบัน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตร ดังต่อไปนี้

  • ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ งานบริการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โทร. 038-102002
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) หลักสูตร 5 ปี

  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาเคมี
  • สาขาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาภาษาจีน
  • สาขาพลศึกษา
  • สาขาดนตรีศึกษา
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาศิลปะศึกษา
  • โครงการผลิตครูนานาชาติ (2ปริญญา) ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย University of Northern Corolado : UNC ประเทศสหรัฐอเมริกา มีจำนวน 5 สาขา

สาขาการสอนคณิตศาสตร์ สาขาการสอนฟิสิกส์ สาขาการสอนเคมี สาขาการสอนชีววิทยา

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) หลักสูตรต่อเนื่อง

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาโลก (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
  • สาขาวิชาวิจัย ประเมิน และสถิติการศึกษา
  • สาขาวิชาสมอง จิตใจและการเรียนรู้

หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)

  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

หลักสูตรปรัชญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
  • สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาสมอง จิตใจและการเรียนรู้
  • สาขาวิชาวิจัย ประเมิน และสถิติการศึกษา
  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาโลก (หลักสูตรนานาชาติ)

โครงการโทรทัศน์ครู แก้

โครงการโทรทัศน์ครู เป็นสื่อกลางที่นำหลักการสังเกตการจัดการเรียนการสอน การบริหาร การแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางการศึกษา มาใช้ด้วยการใช้คุณสมบัติของรายการโทรทัศน์ที่สามารถบันทึกภาพเหตุการณ์บางอย่างที่เฉพาะเจาะจง นำมาร้อยเรียงให้เกิดเป็นแนวคิดหรือย่นย่อให้เห็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีได้ในเวลาอันสั้นแต่ได้ใจความครบถ้วนเท่ากับการไปสังเกตดูด้วยตนเอง ด้วยความดีพิเศษของรายการโทรทัศน์ที่สามารถย่อเรื่องราวให้กระชับ ชัดเจนได้สาระครบถ้วน แต่ใช้เวลาสั้นเท่ากับที่บุคคลทั่วไปจะมีสมาธิเฝ้าชมรายการอยู่ได้ด้วยความตั้งใจประมาณ 15 นาที โครงการทีวีครู หรือรายการโทรทัศน์ครู เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่อยู่ในรูปของการบริการผ่านสื่อที่หลากหลาย ซึ่งรายการโทรทัศน์ได้รับการออกแบบมาเพื่อการสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน รวมไปถึงนิสิต นักศึกษาฝึกสอนของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศ กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนสถานศึกษาและเป็นผู้รับบริการการศึกษาด้วย

วัตถุประสงค์หลักของรายการโทรทัศน์ครู มุ่งที่จะสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อการพัฒนาครูไทย ด้วยการให้ครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา ได้เห็นตัวอย่างของการปฏิบัติการสอน การบริหาร การแก้ปัญหาอื่น ๆ ทางการศึกษาที่ดีและมีประสิทธิภาพ ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดแรงบันดาลใจ นำเอาแบบอย่างของการปฏิบัติทีดีนั้นไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน การบริหารและการแก้ปัญหาภายในโรงเรียนของตนเองลักษณะของการนำเสนอจะมุ่งนำเสนอเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียนที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดี การแก้ปัญหาพิเศษที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนตลอดรวมไปถึงการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องถึงวิถีชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษา

ทำไมรายการโทรทัศน์ครูจึงมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพฤติกรรมของครูได้ ทั้งนี้เกิดจากการผลิตรายการโทรทัศน์ครู จะใช้มาตรฐานการผลิตระดับที่มีคุณภาพสูง (Broadcast quality) โดยเฉพาะคุณภาพด้านเทคนิค นอกจากนั้นยังมีกระบวนการคัดกรองเนื้อหาสาระด้วยผู้มีประสบการณ์สูงทางการศึกษา มีการตรวจสอบ คัดกรองอย่างพิถีพิถันก่อนนำออกเผยแพร่ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รวม ๓ ปีงบประมาณระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ถึงปีงบประมาณ ๒๕๕๕ โดยมีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นผู้บริหารโครงการ โทรทัศน์ครู ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๒ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างให้ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหน่วยงานดำเนินงาน โครงการโทรทัศน์ครู อย่างเป็นทางการ โดยมี รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร เป็นหัวหน้าโครงการ

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่การเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา (มหาวิทยาลัยเอกเทศ) จนถึงปัจจุบันมีดังนี้

คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.บรรจง จันทรสา พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์ พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลอง ทับศรี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2548
4. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี แย้มกสิกร พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557
5. รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต สุรัตน์เรืองชัย พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • www.edu.buu.ac.th