คคันทีป กางค์ (อักษรโรมัน: Gagandeep Kang, FRS เกิด 3 พฤศจิกายน 1962) เป็นนักอนูชีววิทยาและวิทยาไวรัสชาวอินเดีย มีผลงานพิเศษในสาขาโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร และนำการทำงานด้านโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ท้องร่วง ประจำมูลนิธิบิลแอนด์เมลินดา เกตส์ นับตั้งแต่ปี 2023[2]

คคันทีป กางค์

เกิด (1962-11-03) 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1962 (61 ปี)
สิมลา
สัญชาติอินเดีย
ศิษย์เก่าวิทยาลัยแพทยศาสตร์คริสเตียน เวลูรุ (MBBS, MD, PhD)
รางวัลรางวัลอิฟอซิส (2016)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาโรคติดเชื้อ
วัคซีนs
โรคติดเขื้อทางเดินอาหาร
น้ำ
สุขอนามัย[1]
สถาบันที่ทำงานวิทยาลัยแพทยศาสตร์คริสเตียน เวลูรุ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์เบย์เลอร์
สถาบันเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพเชิงปฏิบัติ
เว็บไซต์cmcwtrl.in

ก่อนหน้านี้ กางค์เคยเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ระบบทางเดินอาหาร วิทยาลัยแพทยศาสตร์คริสเตียนในนครเวลูรุ ประเทศอินเดีย[1] และระหว่างปี 2016 ถึง 2020 เป็นผู้อำนวยการใหญ่ของสถาบันเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การแพทย์เชิงปฏิบัติ ในนครฟารีดาบาด องค์การอิสระภายใต้รัฐบาลอินเดีย[3][4][5] ผลงานค้นคว้าของเธอมุ่งเน้นไปที่เรื่องการติดเชื้อไวรัสในเด็กและการทดลองวัคซีนโรตาไวรัส เธอได้รับรางวัลอินฟอซิสในสาขาวิทยาการชีวิตในปี 2016 จากบทบาทในการช่วยสร้างความเข้าใจและการค้นคว้าเกี่ยวกับโรตาไวรัสและโรคติดเชื้อ[3][6][7] และในปี 2019 เธอได้รับเลือกตั้งเป็นเฟลโลว์ของรอยัลโซไซตี ถือเป็นสตรีชาวอินเดียคนแรกที่ได้รับสิทธิ์นี้[8]

กางค์เป็นผู้ประพันธ์หนังสือ Till We Win: India's Fight Against The COVID-19 Pandemic (จนกว่าเราจะชนะ: การต่อสู้การระบาดของโควิด-19 ในอินเดีย) ร่วมกับจันทรกันต์ ลหาริยะ แพทย์และผู้ชำนาญการพิเศษด้านนโยบายสาธารณะและระบบสาธารณสุข กับ รันทีป คุเลริยะ ผู้อำนวยการสถาบัน AIIMS นิวเดลี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ดรรชนีผลงานตีพิมพ์โดย คคันทีป กางค์ บนกูเกิล สกอลาร์  
  2. E Kumar Sharma (15 November 2022), India’s ace virologist Dr Gagandeep Kang to join Gates foundation as director, global health The Financial Express.
  3. 3.0 3.1 "Infosys Prize - Laureates 2016 - Prof. Gagandeep Kang". Infosys-science-foundation.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-01-20.
  4. "Professor Gagandeep Kang : Hic Vac". www.hic-vac.org. สืบค้นเมื่อ 25 November 2020.
  5. Raghavan, Prabha (7 July 2020). "Gagandeep Kang, vaccine scientist, quits top research institute". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 November 2020.
  6. Barath, Harini (7 March 2017). "10 women, 10 questions: Gagandeep Kang". IndiaBioscience.org. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  7. "An E-mail Interview with Prof. Gagandeep Kang". Tropical Parasitology. 7 (2): 128–130. 1 July 2017. doi:10.4103/tp.TP_30_17 (inactive 31 January 2024). PMC 5652053. PMID 29114495. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of มกราคม 2024 (ลิงก์)
  8. "Gagandeep Kang becomes first Indian woman to be elected Royal Society Fellow". The Hindu (ภาษาIndian English). 2019-04-19. ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2019-10-02.