ข้าวหลาม เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร

ข้าวหลาม

เดิมทีจะใช้กระบอกไม้ไผ่ในการหุงข้าวด้วย ข้าวที่ได้จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก เชื่อมกันด้วยเยื่อไผ่ทำให้เป็นรูปทรงสวยงาม แต่ในปัจจุบันนี้ นิยมนำมารับประทานเป็นขนมหวาน โดยมีส่วนผสมคือ ข้าวเหนียว กะทิ และบางตำราจะมีการใส่ถั่วดำด้วย[1]

ในบันทึกฉบับหนึ่งจากปี ค.ศ. 1876 ระบุว่าข้าวเหนียวจะนำไปห่อในใบตาลแล้วนำไปปิ้ง เตรียมในวิธีคล้ายคลึงกับข้าวหลาม[2]

อ้างอิง แก้

  1. "ข้าวหลาม". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2017-01-18.
  2. The Foreign Missionary (ภาษาอังกฤษ). Mission House. 1876.

ดูเพิ่ม แก้

  • เลอมัง อาหารคล้ายข้าวหลามที่พบได้ในอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์