ข้อต่อ

ข้อหรือข้อต่อคือบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกันทำให้ทำงานร่วมกันเป็

ข้อ หรือ ข้อต่อ (อังกฤษ: Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว

ข้อต่อจัดจำแนกตามโครงสร้าง แก้

 
ภาพวาดแสดงหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นตัวอย่างของข้อต่อ(ชนิด)กระดูกอ่อน
 
โครงสร้างพื้นฐานของข้อต่อแบบซินโนเวียล

เราสามารถแบ่งชนิดของข้อต่อในร่างกายได้ตามลักษณะการติดต่อกันของกระดูกแต่ละชิ้น โดยแบ่งได้เป็นสามแบบ คือ ข้อต่อ(ชนิด)เส้นใย (fibrous joints) ข้อต่อ(ชนิด)กระดูกอ่อน (cartilaginous joints) และข้อต่อ(ชนิด)มีไขข้อหรือข้อต่อ(ชนิด)ซินโนเวียล (synovial joints)

ข้อต่อชนิดเส้นใย (Fibrous joints) แก้

ในข้อต่อลักษณะนี้ กระดูกจะเชื่อมติดกันโดยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนาแน่น (dense connective tissue) ซึ่งทำให้ข้อต่อชนิดนี้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวได้น้อยมาก ข้อต่อในลักษณะนี้ยังแบ่งได้เป็นสามแบบ คือ

ข้อต่อชนิดกระดูกอ่อน (Cartilaginous joint) แก้

ข้อต่อในแบบนี้จะมีการเชื่อมติดกันโดยมีกระดูกอ่อนคั่นอยู่ตรงกลาง เนื่องจากกระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น จึงทำให้ข้อต่อในลักษณะนี้มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่าข้อต่อแบบเส้นใย แต่น้อยกว่าข้อต่อแบบซินโนเวียล ข้อต่อแบบกระดูกอ่อนสามารถจำแนกออกได้เป็นสองแบบ ตามลักษณะของกระดูกอ่อน คือ

ข้อต่อ(ชนิด)มีไขข้อ หรือข้อต่อ(ชนิด)ซินโนเวียล (Synovial joint) แก้

ข้อต่อ(ชนิด)ซินโนเวียลจะไม่ได้มีการเชื่อมติดต่อกันของกระดูกโดยตรง แต่จะมีโครงสร้างที่เรียกว่า ปลอกหุ้มข้อต่อ (articular capsule) เป็นตัวกลาง และภายในแคปซูลข้อต่อนี้จะเป็นโพรงข้อต่อ (articular space) ซึ่งจะมีของเหลวคือ น้ำไขข้อ (synovial fluid) ที่สร้างจากเนื้อเยื่อโดยรอบปลอกหุ้มข้อต่อ ช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ข้อต่อ(ชนิด)ซินโนเวียลนี้จึงเป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก และพบได้ในเกือบทุกข้อต่อของทั้งรยางค์บนและรยางค์ล่าง

ข้อต่อจัดจำแนกตามคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว แก้

 
ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ 1. แบบเบ้า 2. แบบวงรี 3. แบบอานม้า 4. แบบบานพับ 5. แบบเดือย
 
ภาพวาดแสดงข้อต่อสะโพก ซึ่งเป็นข้อต่อแบบเบ้าที่ชัดเจน

ข้อต่อยังสามารถจำแนกได้ตามลักษณะและระดับของในการเคลื่อนไหว ซึ่งโดยทั่วไปก็จะสอดคล้องกับลักษณะทางโครงสร้างของข้อต่อนั้นๆ โดยสามารถจำแนกได้เป็นสามแบบ คือข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (Synarthrosis) ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้น้อย (Amphiarthrosis) และข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก (Diarthrosis)

ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือข้อต่อติดแน่น (Synarthrosis) และข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้น้อย หรือข้อต่อกึ่งติดแน่น (Amphiarthrosis) แก้

ข้อต่อในทั้งสองแบบนี้มักมีการเชื่อมต่อกันโดยตรง หรือมีกระดูกอ่อนเป็นตัวเชื่อม จึงทำให้การเคลื่อนไหวจำกัดอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ข้อต่อในลักษณะนี้จะมีความเสถียรสูง โดยส่วนใหญ่ข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวที่จำกัดนี้จะเป็นข้อต่อ(ชนิด)เส้นใย หรือเป็นข้อต่อ(ชนิด)กระดูกอ่อน

ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก หรือข้อต่ออิสระ (Diarthrosis) แก้

ข้อต่อในลักษณะนี้มักจะเป็นข้อต่อแบบซินโนเวียล และมีการเคลื่อนไหวได้ทั้งในสองมิติและสามมิติ ข้อต่อในกลุ่มนี้ยังสามารถแบ่งออกได้ตามรูปร่างลักษณะของข้อต่อเป็น 6 แบบ ได้แก่

  • Marieb, E.N. (ลุงยังไม่ออกนะจะ). Human Anatomy & Physiology, 4th ed. Menlo Park, ลล: Benjamin/Cummings Science Publishing.
  • Netter, Frank H. (1987) , Musculoskeletal system: anatomy, physiology, and metabolic disorders, Summit, New Jersey: Ciba-Geigy Corporation.
  • Tortora, G. J. (1989) , Principles of Human Anatomy, 5th ed. New York: Harper & Row, Publishers.

นัยสำคัญทางคลินิก แก้

ความเสียหายต่อกระดูกอ่อนข้อ (กระดูกอ่อนข้อ) หรือกระดูกและกล้ามเนื้อที่ทำให้ข้อต่อคงที่ อาจทำให้เกิดข้อเคลื่อนและข้อเข่าเสื่อมได้[1][2] ข้อเคลื่อนเกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อต่อหรือบุคคลที่ล้มลงบนข้อใดข้อหนึ่งโดยเฉพาะ[3] แรงที่รุนแรงและกะทันหันที่กระทำต่อข้อต่ออันเป็นผลมาจากการกระแทกหรือการล้มอาจทำให้กระดูกในข้อต่อหลุดออกหรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติได้[4][5] เมื่อมีการเคลื่อนตัวแต่ละครั้ง เอ็นที่ยึดกระดูกไว้ ในตำแหน่งที่ถูกต้องอาจเสียหายหรืออ่อนแรงได้ทำให้ข้อต่อหลุดได้ง่ายขึ้นในอนาคต[6] การว่ายน้ำเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการออกกำลังกายข้อต่อโดยสร้างความเสียหายให้น้อยที่สุด[7]

โรคข้อเรียกว่าโรคข้ออักเสบ และเมื่อเกี่ยวข้องกับการอักเสบของข้อต่อตั้งแต่หนึ่งข้อขึ้นไป โรคนี้เรียกว่าโรคข้ออักเสบ โรคข้อต่อส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบ แต่ความเสียหายต่อข้อต่อเนื่องจากการบาดเจ็บทางร่างกายภายนอกมักไม่เรียกว่าโรคข้ออักเสบ

โรคข้ออักเสบเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี โรคข้ออักเสบมีหลายประเภท แต่ละรูปแบบมีสาเหตุที่แตกต่างกัน รูปแบบของโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ โรคข้อเข่าเสื่อม (หรือที่เรียกว่าโรคข้อเสื่อม) เกิดขึ้นหลังการบาดเจ็บที่ข้อ หลังการติดเชื้อที่ข้อ หรือเพียงเป็นผลมาจากอายุที่มากขึ้นและการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนข้อ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงว่ากายวิภาคที่ผิดปกติอาจส่งผลต่อการพัฒนาของโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะเริ่มแรก โรคข้ออักเสบรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเองที่ร่างกายโจมตีตัวเอง โรคข้ออักเสบติดเชื้อเกิดจากการติดเชื้อที่ข้อต่อ

อ้างอิง แก้

  1. "The Pathophysiology of Osteoarthritis". www.verywellhealth.com. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.
  2. "Injuries of Bones and Joints". icloudhospital.com. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.
  3. "Dislocation". patient.info. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.
  4. "U.S. National Library of Medicine – Dislocation". medlineplus.gov. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.
  5. "Most Common Injuries In Grappling Arts And Contact Sports". whatistruth.life. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.
  6. "Causes Of Joint dislocation And Prevention". aderonkebamidele.com. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.
  7. "Anatomy & Physiology: The Unity of Form and Function". books.google.com. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.