ขุนส่า (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550)[1] มีชื่อจริงว่า จาง ซีฟู (จีน: 张奇夫; พินอิน: Zhāng Qífú จาง ฉีฝู) และมีชื่อไทยว่า จันทร์ จางตระกูล [2] เป็นอดีตผู้นำกองทัพเมิงไตซึ่งต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้แก่ชนกลุ่มน้อยชาวไทใหญ่ในพม่า และเป็นผู้ผลิตและค้าเฮโรอีนและฝิ่นรายใหญ่ของโลก โดยมีที่มั่นอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ มีอิทธิพลอยู่ในเขตรัฐชานและว้า

ขุนส่า
ขุนส่าที่ศูนย์บัญชาการในป่าที่พม่า ค.ศ. 1988
ชื่อพื้นเมือง
พม่า: ခွန်ဆာ
จีน: จาง ฉีฝู (張奇夫)
ชื่อเกิดSai Sa
ชื่ออื่นไทย: จันทร์ จางตระกูล; Tun Sa; U Htet Aung
เกิด17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934
Loi Maw, Mongyai, พม่าของอังกฤษ
เสียชีวิต26 ตุลาคม ค.ศ. 2007
ย่างกุ้ง ประเทศพม่า
สุสาน
สุสาน Yayway ย่างกุ้ง
รับใช้กองทัพเมิงไต
กองทัพปฏิวัติสหรัฐฉาน
ประจำการค.ศ. 1985 (1985)ค.ศ. 1996 (1996)
ชั้นยศผู้บัญชาการทหาร
การยุทธ์สงครามฝิ่น ค.ศ. 1967, ความขัดแย้งภายในพม่า
งานอื่นขุนศึกฉาน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม張奇夫
อักษรจีนตัวย่อ张奇夫

ขุนส่ามีบิดาเป็นชาวจีน และมีมารดาเป็นชาวไทใหญ่ ชื่อนางแสงคำ[3] ขุนส่าเคยตั้งกองกำลังใหญ่อยู่ที่บ้านหินแตก ในเขตตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 มีการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งโรงพยาบาล วัด โรงเรียน และใช้ที่นี้เป็นฐานการผลิตเฮโรอีน จากฝิ่นที่ลักลอบนำเข้ามาจากรัฐชานและรัฐโยนก ส่งขายไปทั่วโลก

ในปี พ.ศ. 2512 ทางการพม่าจับตัวขุนส่าไปจำคุกด้วยข้อหาค้ายาเสพติด และได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2516 เพื่อแลกกับชีวิตของแพทย์ชาวโซเวียต 2 คน ที่กองกำลังของขุนส่าจับไปเป็นตัวประกัน ที่บ้านหินแตก จากเหตุการณ์ครั้งนั้น รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายผลักดันกองกำลังขุนส่าออกนอกประเทศ ตำรวจตระเวนชายแดนของไทยได้เข้ากวาดล้างบ้านหินแตกเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2525 [4]

กองกำลังขุนส่าย้ายไปตั้งอยู่ฝั่งพม่า ที่บ้านหัวเมือง ตรงข้ามกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพรวมชาน (Shan United Army) และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสภาปฏิวัติไท (Tai Revolutionary Council) เมื่อ พ.ศ. 2528

ในปี พ.ศ. 2532 ทางการสหรัฐตั้งค่าหัวขุนส่าเป็นเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำตัวขุนส่าไปดำเนินคดี หลังจากศาลสหรัฐสั่งฟ้องในข้อหาลักลอบนำเฮโรอีนจำนวน 1,000 ตัน เข้าประเทศ

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 ขุนส่าตกลงสวามิภักดิ์และส่งมอบอาวุธของกองทัพเมิงไตแก่ทางการพม่า เพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ถูกส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่สหรัฐ ขุนส่าถูกทหารพม่าควบคุมตัวให้อยู่ภายในบ้านพักในย่างกุ้ง ต่อมาได้ล้มป่วยด้วยโรคอัมพฤกษ์ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน[2] จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อคืนวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 อายุ 73 ปี

อ้างอิง แก้

  1. Former Notorious Druglord Khun Sa Dies เก็บถาวร 2007-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Associated Press
  2. 2.0 2.1 "ปิดตำนานขุนส่า ราชายาเสพติดโลก คนใกล้ชิดงงสาเหตุการตาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-09. สืบค้นเมื่อ 2007-10-30.
  3. บุญยงค์ เศเทศ. อรุณรุ่งฟ้าฉาน เล่าตำนานคนไท. กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์, พ.ศ. 2548. 272 หน้า. หน้า หน้าที่ 127. ISBN 974-93146-5-4
  4. ตามรอยขุนส่าราชายาเสพติดกับยุทธการบ้านหินแตก จาก คมชัดลึก

แหล่งข้อมูลอื่น แก้