ขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์

ขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ (อังกฤษ: Freivalds' algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม (randomised algorithm) ที่รูซินส์ มาร์ตินส์ เฟรย์วัลส์ (Rusins Martins Freivalds) นักวิทยาศาสตร์ชาวลัตเวีย นำเสนอขึ้นสำหรับใช้ตรวจสอบความเท่ากันของผลคูณของเมทริกซ์กับเมทริกซ์ต้นแบบ[1]

แนวคิดเบื้องต้น แก้

ในบรรดาปัญหาทั้งหมดในเชิงคณิตศาสตร์ มีปัญหาจำนวนมากที่มีขั้นตอนที่สามารถตรวจคำตอบได้เร็วกว่าการหาคำตอบ เช่น ปัญหาเอ็นพี และมีปัญหาจำนวนมากมายที่ขั้นตอนวิธีแก้ปัญหาที่ใช้ขั้นตอนวิธีแบบสุ่มให้ประสิทธิภาพดีกว่าขั้นตอนวิธีที่ตรงไปตรงมา ขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ เป็นขั้นตอนวิธีหนึ่งที่ใช้ขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม เพื่อลดเวลาในการตรวจสอบคำตอบของการคูณเมทริกซ์ โดยให้เมทริกซ์ต้นฉบับ และผลคูณของเมทริกซ์ต้นฉบับเป็นข้อมูลนำเข้าของขั้นตอนวิธี ตัวขั้นตอนวิธีก็จะตรวจสอบความเท่ากันจากนั้นคืนค่าว่าเมทริกซ์ต้นฉบับ กับผลคูณของเมทริกซ์ต้นฉบับที่รับมาเป็นข้อมูลนำเข้ามีค่าเท่ากันหรือไม่ ทั้งนี้ขั้นตอนวิธีนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความน่าจะเป็น จึงทำให้มีความน่าจะเป็นที่ตัวขั้นตอนวิธีแบบสุ่มนี้จะตอบผิดไปจากความเป็นจริง เช่น ตอบว่า ใช่ ผลคูณของเมทริกซ์ต้นฉบับ เท่ากันกับเมทริกซ์ต้นฉบับที่ได้รับเป็นข้อมูลนำเข้า ทั้งที่จริงๆ แล้ว ผลคูณของเมทริกซ์ต้นฉบับอาจจะไม่เท่ากันกับข้อมูลนำเข้าก็ได้ ทำให้ขั้นตอนวิธีนี้ดูจะไร้ประโยชน์ เพราะดูไม่ต่างจากการเดาสุ่ม แต่ที่จริงแล้วขั้นตอนวิธีนี้สามารถลดความน่าจะเป็นในการตอบผิดได้โดยการทำซ้ำ ซึ่งจะทำให้ความน่าจะเป็นในการตอบผิดมีค่าน้อยกว่าการสุ่มมาก

ขั้นตอนวิธี แก้

ข้อมูลนำเข้า แก้

เมทริกซ์จตุรัส 3 เมทริกซ์ มีขนาด   ได้แก่  

ข้อมูลส่งออก แก้

ตอบ ใช่ ถ้า  

ตอบ ไม่ใช่ ถ้า  

วิธีการ แก้

  1. สุ่ม เวกเตอร์   ขนาด  .
  2. คำนวณ  .
  3. ตรวจสอบว่า  เป็นเวกเตอร์ศูนย์หรือไม่ คืนค่า ใช่ ถ้า  เป็นเวกเตอร์ศูนย์ คืนค่า ไม่ใช่ถ้า  ไม่ได้เป็นเวกเตอร์ศูนย์

ความซับซ้อนเชิงเวลา แก้

ทำงานใน O(n2) [2] ซึ่งเร็วกว่าการคูณเมทริกซ์แล้วเปรียบเทียบทีละตัว (ทำงานใน O(n3) ) รวมถึงเร็วกว่า ขั้นตอนวิธีของ Coppersmith-Winograd ซึ่งเป็นขั้นตอนวิธีในการหาผลคูณของเมทริกซ์ที่เร็วที่สุดในปัจจุบัน (ทำงานใน O(n2.376)) มาก

วิเคราะห์ความผิดพลาด แก้

ขั้นตอนวิธีนี้รับประกันว่า ถ้า   แล้วความน่าจะเป็นในการตอบผิดจะเป็น 0, ถ้า   แล้วความน่าจะเป็นในการตอบผิดมีค่าไม่เกิน  

  • พิจารณากรณีที่  
  สำหรับทุก   ที่เป็นไปได้ดังนั้นความน่าจะเป็นในการตอบผิดเป็น 0
  • พิจารณากรณีที่  
กำหนดให้   เนื่องจาก   แสดงว่าจะมีค่า i,j บางค่าที่  
 
 
โดย กฎของเบย์ (Bayes' theorem)
 
 
 
 
 
 
เพราะฉะนั้น  

หมายเหตุ แก้

แม้ว่าขั้นตอนวิธีนี้อาจมีความผิดพลาดสูงได้ถึง   แต่ในการใช้งานจริงสามารถลดความผิดพลาดได้ การทำงานขั้นตอนวิธีนี้ซ้ำหลาย ๆ ครั้งโดยใช้   ที่แตกต่างกัน จะช่วยลดความน่าจะเป็นในการตอบผิดลงไปได้

สมมุติว่าต้องการทำขั้นตอนวิธีนี้ซ้ำกัน   ครั้ง พบว่าความน่าจะเป็นในการตอบผิดมีค่า ≤   ซึ่งมีค่าลดลงเป็นฟังก์ชันเลขชี้กำลังเมื่อเทียบกับค่า  

เชิงอรรถ แก้

  1. "Professor Rusins Martins FREIVALDS's website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.
  2. Raghavan, Prabhakar (1997). "Randomized algorithms". ACM Computing Surveys (CSUR). 28. doi:10.1145/234313.234327. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.

อ้างอิง แก้

  • Freivalds, R. (1977), “Probabilistic Machines Can Use Less Running Time”, IFIP Congress 1977, pp. 839–842.
  • Freivalds, R. (1979), “Fast Probabilistic Algorithms”, MATHEMATICAL FOUNDATIONS OF COMPUTER SCIENCE 1979, pp. 59-63. [1][ลิงก์เสีย]